Mycobacteria abscessus

Mycobacterium abscessus

คือ เชื้อ mycobacterium ในกลุ่มโตเร็ว (rapid growing nontuberculous mycobacterium) เชื้อกลุ่มโตเร็วนี้มักเป็นสาเหตุของ subcutaneous abscess หรือ cellulitis หลังจากมี trauma ที่ผิวหนังในผู้ที่เป็น immunocomprpmised host

ควรสงสัย เมื่อเป็นฝีหรือแผลเรื้อรัง หรือโรคปอดอักเสบเรื้อรัง

Nontuberculosis mycobacterium (NTM)

NTM มี 4 กลุ่ม ตาม Runyon classification 1959โดย Ernest Runyon

1. Photochromogens มี pigment ในที่สว่าง

2. Scotochromogens มี pigment ในมืด

3. Non-chromogens ไม่มี pigment ทั้งมืดและสว่าง

4. Rapid growth mycobacterium โตเร็ว

Mycobacterium abscessusเป็นเชื้อ gm positive rod ย้อมติดสี acid fast stain(AFB)

การเพาะเชื้อ ขึ้นใน Löwenstein-Jensen media เห็นเป็นเรียบๆหรือขรุขระ สีเทาหรือขาวและไม่เป็น photochromogenic

ประวัติ

M.abscessusพบครั้งแรกจาก gluteal abscess ในผู้ป่วย 62 ปีที่ได้รับบาดเจ็บที่เข่าตั้งแต่เป็นเด็กๆ แต่มีการกระจายตัวของเชื้อในอีก 48 ปีถัดมา

แหล่งที่พบ ในน้ำ ดิน ฝุ่น ในสัตว์ เชื้อจะทนต่อคลอรีนในน้ำประปา ดั้งนั้นจึงพบได้ในน้ำที่ปะปาชุมชนหรือน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วก็สามารถพบเชื้อได้ อีกทั้งยังสามารถขึ้นได้ในน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น glutaraldehyde เป็นต้น

นอกจากนี้การติดเชื้อแบบ outbreak ยังติดต่อได้ในสถานพยาบาลเช่น จากยาชาที่ใช้แบบหลายครั้ง เป็นต้น

ระยะฟักตัว 1 เดือน-เป็นปี

พยาธิวิทยา

1.ทำให้เกิดโรค ปอดเรื้อรัง อาการคล้ายกับโรควัณโรคปอด

2.แผลติดเชื้อหลังการบาดเจ็บ(แผลทิ่มตำ หรือเข็มที่ปนเปื้อนเชื้อ)

3.ติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆในร่างกาย เช่น ข้อเทียม ลิ้นหัวใจเทียม เส้นเลือดเทียม สายท่อล้างไต การทำเต้านมเทียม ท่อระบายน้ำดี เป็นต้น หลังการผ่าตัดหรือหัตถการต่างๆ หรือติดเชื้อผิวหนังในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบ่กพร่อง

4.ส่วนการติดเชื้อแบบแพร่กระจายพบน้อยมากมักจะเป็นในกลุ่มภูมิคุ้มกันบ่กพร่อง

และมีรายงานข่าวการติดเชื้อแพร่กระจายเชื้อเนื่องจากการให้ NK cells หรือการถ่ายเลือดต้านมะเร็ง

5.ยังสามารถทำให้เกิด หูชั้นกลางอักเสบได้

การวินิจฉัย

การติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นแบบเรื้อรัง อาจพบ cellulitis ที่ไม่ยอมหาย หรือแผลที่ไม่หายและค่อยๆเป็นมากขึ้นช้าๆ บริเวณที่เป็นมักจะพบเป็น hyperpigmention ที่ผิวหนังอาจเกิดตุ่มนูนบวม มี sinus มีหนองอักเสบได้ หนองอาจไหลออกมาแล้วค่อยๆดีขึ้นและเป็นซ้ำได้

การติดเชื้อในปอด มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ และค่อยๆเหนื่อยเพิ่มขึ้น อาจมีไข้กลางคืน น้ำหนักลด หรือมีการกระจายของเชื้อได้

การติดเชื้อหลังจากการผ่าตัดหรือทำหัตถการต่างๆ ทั้งรักษาและการเสริมความงาม ทำให้เกิดหนองไหลเรื้อรัง ติดเชื้อ อักเสบ ข้อเทียมใช้งานไม่ได้

สรุป คือ หากเป็นแผล หนอง ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังหรือวัณโรคดื้อยา หรือ มีการอักเสบหลังการผ่าตัดหัตถการเรื้อรัง ควรต้องนึกถึงและส่งตรวจหาเขื้อกลุ่มนี้ด้วย

การส่งตรวจ

ส่ง AFB, ส่งเพาะเชื้ออาจพบในระยะเวลา 5-8 วันได้

การใช้ยารักษา

เชื้อจะดื้อต่อยาที่รักษาวัณโรค

การใช้ยายังไม่มี regimens ที่แน่นอน แต่ก็มีการศึกษากันอยู่หลายแบบ

ยาที่ใช้ได้ดีคือ clarithromycin, amikacin ส่วน imipenam, cefoxitin จะเป็น variably susceptible

การใช้ยาตัวเดียวแนะนำเฉพาะ ติดเชื้อผิวหนังเฉพาะที่และไม่ดื้อยา เช่นให้ clarithromycin

การรักษาติดเชื้อที่ปอด ต้องให้ยาร่วมกัน

การกิน clarithromycin ตัวเดียวจะทำให้ดื้อยาได้ ควรใช้ยาฉีดร่วมด้วย

Amikacin + cefixitine 4 สัปดาห์ ตามด้วย clarithromycin, ciprofloxacin, doxycycline 24 เดือน

การศึกษาอื่นๆ

Macrolide+amikacin หรือ macrolide+amikacin และ cefoxitin หรือ imipenam ได้ผล 80% ใน 150 วัน

Amikacin iv+ clarithromycin 8 เดือน และให้ cefoxitine ใน 3 สัปดาห์แรก

Sensitivity ของhttp://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21075707

40ตัวอย่างพบ sensitivity ต่อ

amikacin (95.0%), cefoxitin (32.5%), ciprofloxacin (10.0%), clarithromycin (92.5%),

doxycycline (7.5%), imipenem (12.5%), moxifloxacin (22.5%), sulfamethoxazole (7.5%) และ

tigecycline (100%).

Ref.

http://en.wikipedia.org/wiki/Rapid_growing_mycobacterium#Nonchromogenic

http://www.manager.co.th/china/viewnews.aspx?NewsID=9550000125039&TabID=2&

http://emedicine.medscape.com/article/222790-overview#showall

http://www.durham.ca/health.asp?nr=/departments/health/facts_about/mycobacteriumAbscessusProf.htm&setFooter=/includes/health/healthFooter.inc

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21075707