Zika fever

Zika virus infection : Zika fever, Zika virus

Qx Dx: ไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ +เดินทางมาจากละตินอเมริกา ให้สงสัยไว้ก่อน

(*ปัจจุบันพบติดต่อได้เองในไทยแล้ว)

Qx: ไม่อันตราย ปัญหาหลัก คือหญิงตั้งครรภ์พบลูกสมองเล็ก

พาหะ คือ ยุงลาย เหมือนไข้เลือดออก

การวินิจฉัย

1. มีอาการดังกล่าว + การเดินทาง

2.ผลตรวจ DHF, chigungunya โดย PCR และ หัดกับหัดเยอรมัน โดย ELISA IgM ให้ผลลบ 

ก็ส่งตรวจหาซิกาเพิ่มเติม

ชื่อไทย โรคไข้ซิกา

เชื้อ Zika Virus-ZIKV เป็น RNA virus สายเดี่ยว ในตระกูล flavivirus

คล้ายกับ Dengue virus, Westnile virus และ JE encephalitis

พาหะ 

ยุงลายบ้าน เหมือนไข้เลือดออก Aedes aegypti

และยุงลายสวน Aedes albopictus

การค้นพบ 

ครั้งแรก พ.ศ.2490 จากน้ำเหลืองลิง rhesus ที่ใช้ศึกษาไข้เหลืองในป่าชื่อZika ยูกันดา

แยกเชื้อจากคนครั้งแรก พ.ศ. 2511 ประเทศไนจีเรีย

ในไทยเชื้อนี้พบน้อย เนื่องจากมีเชื้อ dengue เป็นเจ้าถิ่นอยู่

ตามทบ.ที่ว่า ยุง 1ตัวจะมี 1 เชื้อไวรัส

การติดต่อ

ยุงลายที่มีเชื้อกัด 

การถ่ายเลือด 

แม่สู่ลูก-มารดาผ่านสายรกสู่ทารกในครรภ์ ผ่านทางน้ำนมได้ด้วย

การติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ุ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่า ไวรัสซิกาชอบเด็กในครรภ์มากเป็นพิเศษ เมื่อเข้าสู่ร่างกายผู้หญิงตั้งครรภ์แล้วจะใช้รกหรือสมองเด็กเป็นบ้านเพื่อปล่อยไวรัสต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำให้เด็กตาย ซึ่งเป็นความฉลาดของไวรัส 

การระบาด                    

ภูมิภาคที่พบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และหมู่เกาะในแฟซิฟิก

พ.ศ. 2494 ถึง 2536 มีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศกลุ่มแอฟริกา ได้แก่ ยูกันดา, แทนซาเนีย, อียิปต์, อัฟริกากลาง, สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบอง

ในส่วนของเอเชีย มีรายงานพบในประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย 

ล่าสุดในปีพ.ศ.2550(ค.ศ.2007) ได้รายงานการ ระบาดของไข้ซิกา ในหมู่เกาะแยป Yab island, Micronesia

2553 พบมีรายงาน ที่กัมพูชา

2556 พบมีรายงาน ที่อินโดนีเซีย

2556-2557 พบระบาดที่ French Polynesia แสดงว่าเชื้อนี้ระบาดกว้างขวางในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิคตะวันตก

ซึ่งมียุง Aedes อาศัยอยู่

2558 ระบาดหนักในลาตินอเมริกา ทะเลคาริบเบียน จนบราซิลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน มีเด็กทารกติดเชื้อจากมารดา  เกือบ 4000 ราย

2559 ไทยเริ่มตรวจเชื้อได้เอง ก่อนนี้ส่งตัวอย่างไปที่ต่างประเทศ

18/1/2559 CDC ประกาศ สหรัฐเตือน "ไข้ซิกา" ระบาดในลาตินอเมริกา-แคริบเบียน

เตือนภัยทุกฝ่ายให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศและดินแดนในแถบทะเลแคริบเบียน และ อเมริกาใต้ 14 แห่ง ได้แก่

 บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา  กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส

 มาร์ตีนิก  เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินัม เวเนซุเอลา และเปอร์โตริโก  

โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และสตรีที่มีแผนตั้งครรภ์

20/1/2559 ไต้หวัน ตรวจพบเชื้อใน ชายไทย 24 ปี เดินทางจากภาคเหนือในไทย

30/1/2559 โคลัมเบียประกาศพบสตรีตั้งครรภ์ 2000 รายติดเชื้อ ประชาชน 150,000 ราย

ต่อจากบราซิลที่มีผู้ติดเชื้อแล้ว 1.5 ล้านคน

1/2/2559 WHO ประกาศให้ไวรัสซิกา เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ทำให้ทารกในบราซิล เกือบ 4000คน มีความพิการแต่กำเนิด พบมากกว่าปกติถึง 30 เท่าตัว

ในประเทศไทย

-2506 มีรายงานว่า ตรวจพบ antibodyต่อไวรัสซิกา ในผู้ที่อาศัยในประเทศไทยที่กทม.เมื่อปี พ.ศ.2506 (ค.ศ.1963)

-2556 ผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดา ซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา 21 มกราคม-2 กุมภาพันธ์2556 และมีอาการภายหลังจากเดินทางกลับถึงประเทศแคนาดาเป็นเวลา 4 วัน โดยเริ่มป่วย วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 มีอาการไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวด ข้อ ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus)

-หลังปี 2555 ในไทย พบเฉลี่ย ปีละ 5 ราย

-2560 จากสำนักระบาด ครึ่งปีแรก พบ 81 ราย

-2560 4 ก.ค. นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าพิจิตร แจ้งการระบาด

ที่ต.บึงนาราง อ.บึงนาราง จ.พิจิตร

ตั้งแต่วันที่ 1-5 พบติดเชื้อแล้ว 11 ราย อาจติดเชื้อ 11 ราย ผู้สัมผัส 33 ราย ตั้งครรภ์ 9 ราย

กำลังเผ้าระวัง

และยังพบร่วมทั้งหมด 4 จัวหวัด จ.พิจิตร จ.ชัยภูมิ จ.อุบลราชธานี จ.หนองคาย

อาการ

ระยะฟักตัว 4-7 วัน สั้นสุด 3 วัน ยาวสุด 12 วัน

อาการย่อ ไข้ ผื่นขึ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ 

อาการ ไข้ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา,วิงเวียน ,

เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง 

อาจจะมีอาการปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง

อาการจะไม่รุนแรงหายได้เอง 2-7 วัน

อาการที่พบ ไข้ ผื่น ปวดข้อ ตาแดง 

macular or papular rash 90% Fever 65%

arthritis or arthralgia 65%

nonpurulent conjunctivitis55%

myalgia 48% headache 45%

retro-orbital pain 39%

edema 19%

vomitting 10%

อาการไม่รุนแรง เทียบได้กับ หัดเยอรมัน ไม่-รุนแรง แต่ทำให้ทารกพิการ

หากอาการรุนแรง จะส่งผลต่อการทำงานของสมองได้

การติดเชื้อในครรภ์ ทำให้ทารกศีรษะเล็ก เสียชีวิตได้

ส่งผลให้พัฒนาการช้า ตัวเตี้ย ใบหน้าผิดรูป ปัญญาอ่อน อาการชัก

หากมีผื่นขึ้นในหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ จากเลือดและปัสสาวะ

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก CDC

*ผู้ชายติดเชื้อสำคัญมาก จะพบเชื้ออยู่ในอสุจิติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ และอยู่นานกว่ากระแสโลหิต

แต่ไม่รู้ว่าเชื้อจะหมดนานแค่ไหน เพราะไม่มีวิธีตรวจแบบง่ายๆที่รับรองว่าเชื้อจะหมดไปแล้ว

*เชื้อในกระแสเลือดจะพบเพียง 5-7 วัน ไม่เกิน 10 วัน 

*หญิงที่เคยติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันเป็นระยะเวลานาน ไม่ต้องกังวลหากจะตั้งครรภ์ในอนาคต

และอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน ในระยะที่ยังไม่มีวัคซีนใช้

*หญิงที่เคยติดเชื้อแล้ว ไม่ต้องกังวลหากจะตั้งครรภ์ในอนาคต

และไม่พบหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต

ref:http://www.cdc.gov/zika/prevention/index.html

การตรวจหาเชื้อ มี 2 วิธี

1.การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธี PCR  เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังจากที่เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ซึ่งไม่ควรเกิน ๙ วันหลังมีอาการ

2. IgM ต่อไวรัสซิกา ด้วยวิธี ELISA

เก็บตัวอย่าง ๒ ครั้ง

ครั้งแรกในวันที่เริ่มมีอาการ

ครั้งที่สองห่างจากตัวอย่างแรก 2-3 สัปดาห์

ส่งตรวจที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ฝ่ายอาโบไวรัส

3.อื่นๆ เพาะเชื้อไวรัสจาก nasapharyngeal swab และจากปัสสาวะพบได้นาน

การรักษา : รักษาตามอาการ

วัคซีน : ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ref.

http://www.thaiviro.org/association/attachments/article/190/Zika%20Virus_Prof%20Prasert%20Thongcharoen_27Jan2016.pdf