Huntington disease

Huntington’s disease

Quick dx: chorea, cognitive dysfunction, ประวัติครอบครัว และปัญหาด้านพฤติกรรม

HD เป็นโรค hereditary chorea ที่พบบ่อยที่สุด ในสมัยก่อนเรียกโรคนี้ว่า Huntington chorea เนื่องจาก มีอาการ chorea เป็นอาการนำ แต่ภายหลังมีการศึกษาชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและมีอาการร่วมหลายอย่างจึงเรียกชื่อว่า Huntington's disease

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของยีน

เป็นผลจาก CAG trinucleotide repeat ที่มีมากกว่าปกติ ซึ่งอยู่บนยีน Huntington บนโครโมโซม 4p16.3 ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบประสาท โดยปกติแล้วจำนวน CAG repeats ไม่มากกว่า 35 หากอยู่ที่ 36-39 จะทำให้เกิดโรคในบางราย และหากมากกว่า 40 แล้วส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการ HD ในช่วงชีวิต มีลักษณะการถ่ายทอดที่สำคัญของยีนนี้เรียกว่า anticipation คือ หากลูกของผู้ป่วยได้รับการถ่ายทอดยีนนี้จะมีโอกาสที่เริ่มมีอาการในอายุที่น้อยกว่าพ่อแม่ และมักมีจำนวน trinucleotide repeats มากกว่ารุ่นก่อนๆ

ลักษณะทางพยาธิวิทยา

จากการ autopsy พบ มี atrophy ของสมองหลายๆส่วน โดยเฉพาะที่ caudate nucleus และ putamen จะเป็นมากกว่าตำแหน่งอื่นๆ โดยเฉพาะเซลล์ในส่วนของ medium spiny neuron นอกจากนี้่เซลล์สมองในส่วนอื่นจะพบ inclusions อยู่ภายใน เกิดจากการจับตัวที่ผิดปกติของโปรตีน Huntington และ Ubiquitin

ลักษณะทางคลินิก

โรคนี้มี ลักษณะสำคัญ คือ Triad สามกลุ่ม ดังนี้

1. การเคลื่อนไหวผิดปกติ : chorea พบ 90%, akathisia, motor impersistance เป็นต้น

2. ความเสื่อมของ cognitive เป็นปัญหาที่พบได้ในผู้ป่วยเกือบทุกรายแต่มักให้ความสนใจน้อยกว่่า ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว โดยเกิดจากความผิดปกติที่ frontal lobe ทำให้มีปัญหา executive function และ การตอบสนองที่ช้า

3. ความผิดปกติของพฤติกรรม และจิดใจ:

อาการเริ่มต้นอาจเริ่มด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนใน 3 อย่างข้างต้น และมักเกิดในช่วงอายุ 35- 40 ปี

การเคลื่อนไหวผิดปกติ

Akathisia มักเป็นอาการเริ่มต้น โดยเริ่มจากอาการยุกยิกที่ปลายนิ้วมือ โดยผู้ใกล้ชิดมักสังเกตุว่าผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ไม่สุก(Akathisia)

Chorea มักเป็นตามมาภายหลังจากมีอาการ akathisia ระยะหนึ่ง โดยจะค่อยๆมากขึ้นมายังแขน ขา และใบหน้า

motor impersistance คิอ อาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถคุมการเคลื่อนไหวได้อยู่คงที่ได้เป็นระยะเวลานานๆ เป็นลักษณะอาการที่สำคัญของโรคนี้ เชื่อว่า เกิดจาก disinhibition จากสมองในส่วน frontal lobe

การเคลื่อนไหวของตาผิดปกติ ในเรื่องของ slow saccades และ increased latency respond เป็นสิ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ง่าย

อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวผิดปกติอย่างอื่น เช่น การทรงตัว, parkinsonism, tremor, dystonia และ dysarthia เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค

การวินิจฉัยโรค HD ต้องอาศัยประวัติทางพันธุกรรม ร่วมกับความผิดปกติของ cognitive และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เนื่องจากอาการ chorea พบได้ในโรคทางระบบประสาทหลายๆโรค

นอกจากนี้การตรวจทางพันธุกรรม โดยดูจำนวน CAG repeats จะช่วยยืนยันให้ชัดขึ้น และสามารถตรวจได้ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น ญาติใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกันได้

ส่วนการตรวจ CT หรือ MRI จำเป็นเฉพาะรายที่มีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น พฤติกรรมเปลื่ยนแปลวรวดเร็วทันที่ทันได มีประวัติอุบัติเหตุมาก่อน

การรักษา

มักเป็นการรักษาตามอาการทั้ง 3 กลุ่ม

การใช้ยารักษาอาการ chorea

รักษาเมื่อมีอาการมากและมีปัญหาต่อกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน การเคลื่อนไหว เป็นต้น

โดยให้ยา atypical neuroloptics เช่น olanzapine หรือ risperidone สามารถช่วยลดอาการ chorea ได้

การที่นิยมใช้ atypical neuroloptics มากกว่า typical neuroloptics เนื่องจากผลข้างเคียงเรื่อง extrapyramidal symptoms น้อยกว่า

กายภาพบำบัด

การฝึกพูด การฝึกกลืน ลดอาการสำลัก การฝึกเดิน การทรงตัว ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน

Ref:

http://www.chula-parkinsons.org/chorea.html

http://www.athasit.com/book/download/88