Larva migrans

Larva migrans

คือ การเคลื่อนตัวของพยาธิไปตามที่ต่างๆในร่างกาย

เกิดจาก

1.Acidental host การที่คนไม่ใช้ host หลัก ตัวอ่อนไชเข้าไม่เจริญเติบโตเมื่อเข้าสู่ร่างกายคน จึงกระดืบๆ เพ่นพล่านไปทั่ว

2.Definite host เกิดจากวงจรชีวิตของพยาธิที่ต้องไชผ่าน ผิวหนังแล้วผ่านเข้าไปในที่เหมาะสม

สามารถ แบ่งได้หลายแบบ

1.Cutaneous larva migrans(CLM) หรือ Creeping eruption

เชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิปากขอของสุนัขและแมว บ่อยสุดคือ Ancylostoma braziliense

ส่วนน้อยจากพยาธิเส้นด้ายของสัตว์แพะ แกะ วัว ม้า

แหล่งเชื้อ ตัวอ่อนอยู่ใน ดิน ทราย ชื้นที่ปนอุจจาระหมาแมว

การติดต่อ เข้าทางผิวหนัง เด็กเล่นทรายดิน เดินเท้าเปล่า นอนอาบแดด เป็นต้น

อาการ เห็นเป็นเส้น แดง บวมคดเคี้ยวไปมาที่ผิวหนัง ที่เห็นเป็นเส้นชัดเนื่องจากเชื้อไชตื้นในชั้นผิวหนัง ระหว่าง stratum corneum และ stratum germinativum

การเคลื่อนตัว เชื้อจะเคลื่อนตัวช้า 2-3 มิลลิเมตรต่อวัน บริเวณที่เป็นไม่กว้างมาก ยกเว้นเข้ามาหลายตัว

ระยะเวลา อาการจะหายมักไม่เกิน 3 เดือน ตัวอ่อนจะตายหรือถูกทำลายโดยภูมิต้านทานของ host

ยา Albendazole (400mg)1 tab oral od * 3 วัน อัตราการหาย 46-100%

หรือ 400-800mg 3-5 วัน

2.Visceral larva migrans

เชื้อ ตัวอ่อนพยาธิตัวกลมในสำไส้สุนัข(Toxocara canis) แมว(Toxocara catis)

แหล่งเชื้อ ดินทราย ไข่ปนออกมาจากอุจจาระลูกสุนัขที่มีตัวอ่อนในลำไส้

การติดต่อ มักเป็นเด็ก เก็บดินทรายเข้าปากกิน หรือเล่นกับลูกสุนัขแมว

อาการ ไข้ ไอ หืด น้ำหนักลด ซีด ตับม้ามโต Eoสูง

ยา albendazole

3.Gnathostomiasis พยาธิตัวจิ๊ด

เชื้อ ตัวอ่อนพยาธิตัวกลมของสุนัข เสือ หรือแมว สกุล Gnathostoma ที่พบบ่อยสุดคือ Gnathostoma spinigerum

แหล่งเชื้อ กินสัตว์ดิบๆสุกๆ ปลา ปลาไหล กบ งู

อาการ เกิด cutaneous larva migrans แบบบวมแดง อักเสบ เคลื่อนที่ไปมาได้ แต่จะไม่เป็นแบบเส้นคดเคี้ยว

ยาAlbendazole 400 mg OD * 21 วัน ทำให้พยาธิออกมากจากผู้ป่วยได้

4.พยาธิปากขอในคน

เชื้อตัวอ่อนAncylostoma duodenaleและ Necator americanus

ตัวอ่อน ไชเข้าผิวหนัง ทำให้เกิด ground itch บริเวณที่ไช มีรอยแดง มีอาการคัน เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ไปปอดทะลุถุงลม ไปหลอดลม กลืนลงมาที่ลำไส้เล็กเป็นตัวเต็มวัย ออกไข่

ทำให้เกิด woffler’s syndromeเนื่องจากผ่านปอด หากมีจำนวนมาก จะทำให้เกิดอาการไอ ปอดอักเสบร่วมกับพบ eosinophillia

5.พยาธิ Strongyloides stercolaris

ตัวอ่อนไชเข้าผิวหนังเร็วมาก 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง อาการจึงเกิดเร็วหายไปเร็ว

อาการผิวหนัง เกิด linear urticarial rash อาจมีจุดเลือดออกไต้ผิวหนังตำแหน่งที่ตัวอ่อนไชเข้าไป

เรียกอาการนี้ว่าเป็น Larvacurrensแทน CLM เนื่องจากตัวอ่อนไชผ่านผิวหนังอย่างรวดเร็ว

Ref.

http://cai.md.chula.ac.th/chulapatho/chulapatho/lecturenote/infection/parasite/strongylioidosis.html

http://pirun.ku.ac.th/~fsciwcc/para6.pdf