Ebola

Ebola hemorrhagic disease

"ผมไม่กล้วเชื้อไวรัสอีโบล่าแม้แต่น้อย ผมไม่เคยกังวลว่ามันอาจคร่าชีวิตผมในสักวันหนึ่ง

ตราบไดที่ผมสามารถใช้วิชาชีพแพทย์ที่ผมมีติดตัวในการช่วยชีวิตผู้อื่น"

ส่วนหนึ่งจากคำให้สัมภาษณ์เดือนมิถุนายน 2557

ของ นายแพทย์ชีคห์ อูมาร์ ข่าน

ขณะนี้ 24 กรกฎาคม 2557 นายแพทย์ท่านนี้ได้รับเชื้ออีโบล่าอาการอยู่ในภาวะโคม่า

และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

มีพยาบาลอย่างน้อย 3 รายที่ทำงานกับนายแพทย์ท่านนี้ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้ออีโบล่า

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000083642

Ebola virus disease หรือ Ebola hemorrhagic fever

คือ โรคไข้เลือดออกจากเชื้ออีโบล่า หรือไข้ตกเลือด

โดยผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีผื่นและ มีเลือดออกในอวัยวะภายใน ช็อคเสียชีวิต

ความสำคัญ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ มีอัตราตายสูง 30-80%

ระบาดในแอฟริกา ส่วนในไทยยังไม่มีรายงาน

แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวเดินทางโดยเครื่องบินและอาจติดต่อข้ามประเทศได้

และการติดต่อก็สามารถผ่านทางเลือด และสารคัดหลั่งต่างๆได้

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ Ebola virus เป็น RNA virus ใน family Faloviridae (filo แปลว่า ยาวๆเหมือนเส้นด้าย) จีนัสFilovirus ซึ่งมี Marburgvirus รวมอยู่ด้วย ในจีนัสเดียวกัน ทำให้เกิดอาการไข้เลือดออกคล้ายกัน โดยโรคมาร์บูร์กเคยพบระบาดในเยอรมันนี,ยูโกสลาเวีย,ยูกันด้า,ซิมบับเว,เคนยา

ภาพ : Ebola virus

ต่างกับ Dengue hemorrhagic fever ที่เกิดจากเชื้อ Dengue fever virus เป็น RNA virus แต่อยู่ใน familyFlaviviridae genus Flavivius ซึ่งเชื้อในจีนัสนี้มีหลายตัวเช่น West Nile virus, yellow virus, Japanese encephalitis virus, tick-borne encephalitis virus เป็นต้น ซึ่งจะติดต่อผ่านทางยุง หรือ พวกหมัดเห็บไร จึงเรียกเป็น arbovirus แต่ Ebola ไม่ใช่

ภาพ: Dengue virus

ระบาดวิทยา

ยังไม่มีรายงานในไทย

พ.ศ.2519(1976) ระบาดในซูดานและซาอีร์(ปัจจุบันคือคองโก)

ประเทศที่มีการระบาด คองโก กาบอง ยูกานด้า แอฟริกาใต้ ไอวอรี่โค้ส ที่ระบาดบ่อยสุดคือ คองโก

ต้องดูในแต่ละปีด้วยจะมีระบาดในประเทศต่างๆในกลุ่มดังกล่าว เช่น

2001-2003 คองโก 2004 ซูดาน 2005 คองโก

2007 คองโก เสียชีวิต 187 ราย

2012 ยูกันดา เสียชีวิต 17 ราย

2014 ระบาดในกินี ระบาดติดเชื้อมากกว่าร้อยราย เสียชีวิตถึง 90% และระบาดไปประเทศไกล้เคียงทั้งมาลี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน

20/7/2014 ระบาดในแอฟริกาตะวันตก-กินี,เซียราลีโอน และไลบีเรีย

การระบาดครั้งนี้มีผู้ติดเชื้อ 1093 ราย เสียชีวิตแล้ว 670 ราย

29/7/2014 นายแพทย์เคนท์ แบรนท์ลีชาวอเมริกัน ติดเชื้อจากการรักษาผู้ป่วยอีโบล่าในไลบีเรีย

ก่อนนี้นพ.ซามูเอล บริสเบน ชาวไลบีเรียเสียชีวิตจากการติดเชื้อ

นพ.ซีค อูมาร์ คาห์น ติดเชื้ออีโบล่าจากการดูแลรักษาผู้ป่วยเช่นกัน

20/8/2014 ไลบีเรียประกาศเคอร์ฟิว ที่เขตเวสต์พอยต์ กรุงมอนโรเวีย

22/8/2014 แพทย์ชาวอเมริกัน 2 ราย ระหว่างติดจากไปช่วยรักษาผู้ป่วยในไลบีเรีย

รอดจากการติดเชื้อหลังถูกส่งกลับมารักษาที่ประเทศสหรัฐ โดยได้เซรุ่มทดลอง Zmapp

25/8/2014 เจ้าหน้าที่ WHO ติดเชื้อเป็นรายแรกหลังเป็นพยาบาลอาสาสมัครช่วยดูแลผู้ป่วย

27/8/2014 ไนจีเรียประกาศสั่งปิดโรงเรียนทุกแห่ง ในจีเรียพบผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย

30/8/2014 เซเนกัล เป็นประเทศทีี่ 5 ในแอฟริกาที่พบผู้ติดเชื้ออีโบลาเป็นรายแรก

8/9/2014 มีแพทย์ของ WHO รายที่ 2 ที่ติดเชื้ออีโบลา

9/9/2014 วิกฤตหนักวันเดียวยอดผู้เสียชีวิต 200 ราย ยอดสะสม 2,296 ราย จากผู้ติดเชิ้อทั้งหมด 4,239 ราย

เซียร์ราลีโอนประกาศปิดประเทศ 4 วัน

ไลบีเรีย พบว่า ร้อยละ 60 ของผู้ติดเชื้อหรือเสียชีวิต เกิดขึ้นแค่ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

กินิและเซียร์ราลีโอน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 39% และ 29% ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าจัดการได้ดีกว่า

พบว่าเจ้าหน้าที่การแพทย์ติดเชื้อ 152 คน เสียชีวิต 79 คน

ไนจีเรียพบ 21 คน

เซแนกัล พบผู้ติดเชื้อใหม่ 2 คน

ระยะฟักตัว 2-21 วัน

ดังนั้นผู้ติดเชื้ออาจบินข้ามประเทศแพร่ระบาดในประเทศอื่นได้

แหล่งโรคหรือพาหะนำโรค

ไม่ทราบเลย แต่เคยมีการแยกเชื้อที่มีลักษณะคล้ายกันได้จากลิง

การแพร่เชื้อ

สัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง อวัยวะ น้ำอสุจิผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส

สำคัญคือ การแพร่เชื้อในโรงพยาบาลพบได้บ่อย และผู้ที่จัดการศพในขั้นตอนต่างๆ จากเข็มฉีดยาที่ใช้ร่วมกัน

อาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะมาก เจ็บคอตาพร่ามัว อาเจียน ท้องเดิน ต่อมามีผื่นแบบ maculopapular rash

และมีเลือดออกในอวัยวะภายในทั้งตับไตกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ช็อคเสียชีวิตได้ ใช้เวลา 4-10 วัน

อัตราตาย 30-80% ในผู้ป่วยที่มีอาการชัดเจนพบอัตราตาย 50-90%

การวินิจฉัย

1.RT-PCR จากตัวอย่างโดยตรง จากชิ้นเนื้ออวัยวะต่างๆ หรือส่องตรวจโดยตรงจาก กล้องจุลทรรณศ์อิเล็กตรอน

2.แยกเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเลือดในระยะไข้ ไม่เกิน 8 วัน หลังจากนี้จะแยกไม่ได้

3.Ab IgM,IgG โดย ELISA,RF

*การตรวจสอบเชื้อนี้ถือเป็น กลุ่มอันตรายทางชีวภาพสูงสุด*

การป้องกัน

1.ผู้ป่วยและผู้ต้องสงสัย ต้องมีการกักกันโรคอย่างเข้มงวด แยกของทุกอย่าง

2.ผู้สัมผัสโรค วัดไข้วันละ 2 ครั้ง หากมีไข้ให้รับไว้ในโรงพยาบาลแยกห้องทันที เฝ้าระวังเป็นเวลา 3 สัปดาห์นับจากวันสัมผัส

3.ผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้องสำรวจตัวเองเรื่องไข้ รีบพบแพทย์หากมีไข้ และแจ้งแพทย์ถึงการเดินทาง

4.สถานพยาบาลที่รับชาวต่างประเทศ ในรายที่มีไข้ควรสอบถามเรื่องการเดินทางจากแหล่งระบาด

การรักษา ยังไม่มีวิธีทางรักษาแบบจำเพาะ และไม่มีวัคซีนป้องกัน

ref.

http://www.thailabonline.com/sec8ebola.htm

http://www.boe.moph.go.th/fact/Ebola.htm

http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=9718

http://en.wikipedia.org/wiki/Ebola

http://en.wikipedia.org/wiki/Dengue_fever

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000037946

http://visualscience.ru/en/projects/ebola/poster/ poster Ebola virus