ANA Antinuclear Antibody

ANA

Qx Dx :

ANA + ไม่ได้แปลว่าเป็น SLE แค่ว่ามีภูมิที่ผิดปกติเท่านั้น ต้องดูอาการและผลLabอื่นตาม Criteria

ANA + titer ต่ำ เช่น 1:80 ไม่ค่อยสำคัญ และ อาจหมายถึงผลลบในบางสถาบัน

ANA + titer ยิ่งสูง ยิ่งสนับสนุน ผลบวกจริง

ANA นอกจากดู titer ต้องดู pattern ด้วย

ANA มีความไวสูง แต่ไม่เฉพาะเจาะจงกับ SLE

Antinuclear antibody คือ กลุ่มแอนติบอดี ต่อ องค์ประกอบต่างๆภายในนิวเคลียสของเซลล์เนื้อเยื่อตัวเอง

เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันของร่างกาย antibody ทำลาย nucleus ตัวเองหรือไม่

โรคที่สามารถตรวจพบได้มากและบ่อย ได้แก่

Systemic lupus erythematosus (SLE) รองลงไปคือ Collagen diseases เช่น Scleroderma Sjogren syndrome Rheumatoid arthritis(RA) และ Dermatomyositis

ภาวะอื่นที่พบได้ปริมาณน้อย เช่น

Infectious mononucleosis Chronic hepatitis หรือ คนปรกติที่มีอายุมากๆ(50 ปีขึ้นไป) และในกลุ่มสตรี ยิ่งมีโอกาสตรวจพบได้ง่าย

การตรวจ

วิธี indirect immunofluorescence (IIF) หรือ Fluorescence antinuclear antibody (FANA) test

เป็นการทดสอบที่มีความไว (sensitivity) สูงถึงประมาณร้อยละ 96

วิธีการตรวจ

โดยการหยด serum ของผู้ป่วยบนเซลล์ของตับหนู แล้วใช้ antihuman IgG ซึ่งฉาบสารเรืองแสงส่องกล้องจุลทรรศน์เรืองแสงจะพบความผิดปกติได้ ถ้าการตรวจให้ผลบวกแสดงว่าเป็น SLE

ANA เป็นหนึ่งใน criteria เท่านั้น

ถ้าตรวจพบมีโอกาสเป็น SLE สูง แต่หากพบอาจไม่ใช่ SLE ได้

การแปลผลดู 2 อย่าง

1.Titer : ดูว่า positive หรือไม่ และ มากแค่ไหน

ยิ่งค่าที่รายงานสูงมากเท่าไร ผลที่ได้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นผลบวกจริงมากขึ้นเท่านั้น

มีผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE ประมาณ 95% ที่มีผลตรวจ ANA เป็นบวก

คือมีความไวสูง จึงไว้คัดกรอง SLE ได้ดี

2.Pattern : ดูรูปแบบ การเรืองแสง

ผลตรวจ ANA ด้วยวิธี IFA ที่เป็นบวกจะรวมถึงลักษณะของรูปแบบการเรืองแสงที่พบด้วย

ซึ่งรูปแบบที่ต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับโรคแพ้ภูมิตัวเองต่างชนิด

หมายถึง แต่ละแบบจะมีความจำเพาะในแต่ละโรค

เพิ่มเติม

Titer : ANA เองมีความจำเพาะต่อโรค SLE ค่อนข้างต่ำ แต่ความไวสูงมาก

1.ความจำเพาะค่อนข้างต่ำ

-ความจำเพาะต่ำหมายถึง ถ้า ANA ให้ผลบวก อาจจะเป็น SLE ก็ได้ หรือเป็นโรคอื่นก็ได้

หรือเป็นจากภาวะอื่น เช่น จากยาก็ได้

สรุป พบแล้วจะเป็นหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นผลมักจะเป็นบวก

-ในคนปกติเองก็อาจมี ANA +ve ได้

เช่น ในผู้หญิงที่อายุไม่มากที่แข็งแรงดีไม่ได้ป่วยอะไร ANA +ve ได้ถึง 10-20%

โดยเฉพาะระดับ titer ที่ต่ำๆตั้งแต่ 1:80 ลงไป ไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไหร่ อาจหมายถึงผลลบก็ได้

หากไม่มีก็อาการก็ไม่วินิจฉัย

ส่วนใหญ่ใน SLE ANA มักจะสูงตั้งแต่ 1:120 ขึ้นไป อาจสูงได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการด้วย

มีการศึกษาว่าในคนปกติ

-1 ใน 3 คนมีค่า ANA 1:40 ได้

-1 ใน 20 คน มี ANA 1:160 ได้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antinuclear antibody(ANA)

ผู้เข้ารับการตรวจบางคนสามารถมีผลตรวจ ANA ที่เป็นบวก และ

อาจมากถึง 10-37% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เพราะ ANA จะเพิ่มขึ้นตามอายุ

**กลุ่มคนเหล่านี้อาจมีผลบวกลวงโดยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง**

2.ความไวสูงหมายถึง

ถ้าผป.เป็น SLE จริง การตรวจ ANA จะ +ve 95-99%

ถ้าตรวจแล้ว ANA ให้ผล -ve โอกาสเป็น SLE จะน้อย หรือไม่น่าจะเป็น SLE

( SLE ที่ ANA-ve มักพบในรายที่ anti-Ro +ve )

แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดตรวจก็ตาม

ยิ่งค่าที่รายงานสูงมากเท่าไร ผลที่ได้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นผลบวกจริงมากขึ้นเท่านั้น

มีผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE ประมาณ 95% ที่มีผลตรวจ ANA เป็นบวก

เช่นเดียวกับ

ผู้ป่วยโรค Sjögren syndrome ที่มีภาวะนี้ประมาณ 80% มีผลตรวจ ANA เป็นบวกเช่นกัน

Pattern : รูปแบบติดสีเรืองแสง ที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้

**Homogenous (diffuse) Pattern**

-เรืองแสงเป็นเนื้อเดียวกันทั้ง nucleus

-เนื่องจาก Ab ต่อ Chromatin, Histone protein, Deoxyribonucleo Protein,

-พบใน

สัมพันธ์กับโรค SLE โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม

และโรคลูปัสที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดยยา

** Peripheral pattern**

-เรืองแสงที่ขอบ nucleus

-เนื่องจาก Ab ต่อ สายDNAคู่ จำเพาะใน SLE

แม้ว่า titer น้อย แต่พบลักษณะนี้ก็บ่งชี้ได้

-พบได้ในโรค : SLE

**Speckled pattern**

-เรืองแสงเป็นปื้นเป็นจุด ขนาดเท่าหรือต่างกัน กระจายตัวทั่ว nucleus คล้ายตกกระ

-เนื่องจาก Ab ต่อ ส่วนประกอบภายในนิวเคลียสที่ไม่ใช่ DNA เช่น SmAg, ribonucleoprotein(RNP)

-พบใน

สัมพันธ์กับโรค SLE , RA, Sjögren syndrome ,ภาวะ Scleroderma โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม

Coarse-Fine-Discrete speckled แต่ละแบบก็จำเพาะลงไปอีด

**Nucleolar pattern**

-เรืองแสงเป็นจุดหรือหย่อม มีขอบเขตชัดเจน 2-3 หย่อม

-เนื่องจาก เป็นตามจำนวน nucleolus ที่มีใน nucleus เป็นผลจากส่วน Nuclolar RNA

-พบใน โรค Raunaud's phenomenon

สัมพันธ์กับภาวะ Scleroderma และโรคกล้ามเนื้ออักเสบ

**Centromere pattern**

-เรืองแสงเป็นจุดกระจายทั่ว nucleus

-เนื่องจาก Ab ต่อ cnetromere ของ chromosome ในนิวเคลียส

-พบในโรค Systemic sclerosis และ CREST syndrome

กรณีที่ตรวจในระบบ Immunology จะมีความจำเพาะมากกว่า

ส่วนตัวที่จำเพาะกับ SLE มากกว่าที่ควรรู้ก็คือ

1 Anti-dsDNA ( double strand )

ตัวนี้จำเพาะกับ SLE มากกว่า

และสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะอาการทางไตด้วย

แต่ความไวตำ่กว่า ANA

คือให้ผลบวกแค่ 70% ในคนที่เป็น SLE

2 Anti-Sm ( Smith )

เป็น antibody ต่อ nuclear ribonucleoprotein

มีความจำเพาะต่อ SLE

แต่ไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคเหมือน Anti-ds DNA

ความไวก็ตำ่

ให้ผลบวกแค่ 20-30% ของผป. SLE

ref.

https://amspro.kku.ac.th/dl.php?dir=pdf/139&file=06_intro.pdf

https://amspro.kku.ac.th/dl.php?dir=pdf/293&file=12.pdf

https://pantip.com/topic/34826319

http://sujinsalintip.blogspot.com/p/american-college-of-rheumatology-4-11.html