HepatitisA

โรคตับอักเสบจาก ไวรัสตับอักเสบเอ

ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบแบบฉับพลันเท่านั้น ไม่มีเรื้อรัง ไม่มีพาหะเรื้อรัง

ทำให้เกิดตับอักเสบแบบฉับพลัน หายได้เอง

การเกิดตับวายรุนแรงพบได้น้อย หากเกิดมักเป็นกับผู้ที่มีโรคตับมาก่อน โดยเฉพาะ chronic viral HCV

Hepatitis A virus

เป็น RNA virus ในตระกูล Picornaviridae, จีนัส Hepatovirus ทนน้ำ ทนร้อน ทนแล้ง ทนเย็น ในน้ำในดิน

ตายที่ 100oC 5 นาที หรือ แสงUV

เป็นเชื้อตับอักเสบ ที่ติดต่อทางกิน Fecal-oral route (A,E) (ทางเลือด B, C, D, G)

ผู้ต้องสงสัย

ไข้ ตัวเหลือง ปวดจุกท้องด้านบนขวา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ตับโตกดเจ็บ ไม่เคยเป็นมาก่อน

มีพาหะ?

การระบาด

พบได้ทั่วโลก 1.4 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันลดลงเนื่องจากการฉีดวัคซีนป้องกันในกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยง ที่เป็นตับอักเสบซีเรื้อรัง โรคตับเรื้อรังหรือดื่มสุรา ในแหล่งระบาด หรือ เดินทางเข้าแหล่งระบาด

คนทำงานร้านอาหาร สถานพยาบาล ร.ร.อนุบาล

การติดต่อ

จากคนสู่คน เชื้อออกมาทางอุจจาระ เข้าทางปาก ติดต่อง่าย

-จากการปนเปื้อนในน้ำ เชื้ออยู่ในน้ำได้นาน 6 เดือน ในผักสด สัตว์น้ำมีเปลือกหอย ปู กุ้ง ไม่สุก เป็นต้น

-อาหารผ่านการสัมผัสจากผู้เตรียมอาหาร ที่เป็นพาหะ

ระยะฟักตัว

2-4-6 สัปดาห์ เฉลี่ย 30 วัน

ระยะแพร่เชื้อ

10 วันก่อนมีอาการ – 1สัปดาห์หลังมีอาการ

ระยะติดต่อสูงสุด ในช่วงครึ่งหลังของระยะฟักตัว ถึง 2-3 วันหลังมีอาการตัวตาเหลือง

ระยะไม่ติดต่อ ในผู้ใหญ่หลังมีอาการตาตัวเหลืองไปแล้ว 1 สัปดาห์

*ผู้ป่วยเด็กช่วงที่ตัวเหลืองยังได้ตลอด และ อาจแพร่เชื้อได้นานถึง 6 เดือน

พยาธิวิทยา -กลไกการเกิดโรค

เชื้อเพิ่มจำนวนในเซลล์ตับ แต่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย

เซลล์ตับถูกทำลายโดยภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น โดย HLA-restricted, HAV-specific CD8+ Tlymphocyte, natural killer cells อาการผู้ป่วยขึ้นกับ การทำลายเซลล์โดยภูมิต้านทานของร่างกาย

อาการและอาการแสดง

การติดเชื้อมักเกิดตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่ค่อยมีอาการ

เด็กโต พบอาการได้บ่อยกว่าเด็กเล็ก

ผู้ใหญ่ 90% มักพบอาการ

อาการมีหลายความรุนแรง อาการน้อยคล้ายไข้หวัด ผื่นแดง ผื่นลมพิษ จุดเลือดออก ท้องเสีย จนถึงรุนแรงมากเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน

อาการทั่วไป

อาการนำ มัก<1 wk : ไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย(viral infection ทั่วไป) คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร(อาการGI) ปวดท้องขวาบน(เป็นที่ตับ) อาการนำอื่นๆ มีอาการคล้ายไข้หวัด ผื่นแดง ผื่นลมพิษ จุดเลือดออก ท้องเสีย

อาการเหลือง : ตัวตาเหลือง ตับโต เหลืองมักหายใน 4 สัปดาห์ แต่หาก กินเหล้าออกกำลังหนัก อาจเหลืองซ้ำได้ถึง 6 เดือน

อาการอื่น : ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ผื่น ปวดข้อ พบน้อย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

LFT : ALT,AST สูงเป็น 1,000(ALT(SGPT)สูงกว่าAST(SGOT)) มักสูงสุดตอนเริ่มเหลือง และลดลงเร็ว

Total bilirubin มัก>10mg/dl, direct bilirubin สูง, ALP สูง

การวินิจฉัย

มี 2 ข้อ

1.มีอาการตับอักเสบหรืออาการป่วยดังกล่าว

2.ตรวจพบ Anti-HAV IgM positive (by Elisa)

การแปลผล

Anti-HAV IgM positive แต่ไม่มีอาการ : ผลบวกปลอม หรือ เคยติดเชื้อมาก่อนอาจมีหรือไม่มีอาการ

Anti-HAV IgM positive : พบตั้งแต่เริ่มมีอาการ ถึง 3-6 เดือน หลังการติดเชื้อ

Anti-HAV Igฌ positive : พบช่วง convalescent phase จนตลอดชีวิต

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ fecal HAV, ALT, anti HAV IgM, IgG กับ อาการ

อุจจาระ ดู HAV-RNA ดูในกรณีที่มีการระบาด ตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่ไม่เฉพาะ

การหา HAV-RNAที่ปนเปื้อนตามแหล่งน้ำ หรือน้ำดื่มใช้วิธี RT-PCR

การรักษา

ตามอาการ –ดื่มน้ำให้พอ ไม่กินยาหรือสารที่มีผลเสียต่อตับ ไม่ดื่มเหล้าเบียร์ งดกิจกรรมที่ออกแรงมากๆนานๆ

การพยากรณ์โรค

ตามปกติ ผลเลือดจะปกติในเวลา 3 เดือน ร่างกายจะปกติทุกอย่างประมาณ 6 เดือน

อัตราเสียชีวิต พบบ่อยในผู้สูงอายุ และ ผู้ที่มีตับอักเสบ C เรื้อรัง

อัตราตายในเด็กเล็ก 0.1% , 15-39ปี 0.4%, >40ปี 1.1%

Fluminant HAV พบ 0.5%

Cholestativ viral hepatitis พบ 5% เหลืองนาน อุจจาระซีด คันมาก

การป้องกัน

1.กินร้อนช้อนกลาง

2.ฉีดวัคซีน เชื้อตาย 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน ฉีดอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป หรือ กลุ่มเสี่ยงโรคตับเรื้อรัง

ฉีดแล้วมีภูมิ 20 ปี เป็นแล้วมีภูมิตลอดชีวิต

ตรวจภูมิ HAV IgG ก่อนฉีดหากมีก็ไม่ต้องฉีด

3.immunoglobulin 0.02 mg/kg ในผู้สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยตับเอ ฉีดใน 2 สัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อ

Ref.

http://www.adamslove.org/d.php?id=162

http://www.boe.moph.go.th/fact/HepatitisA.htm