Brain Stem 

Brain Stem : ก้านสมอง ลำต้นของสมอง
ประกอบด้วย
Midbrain  หน้าที่ : ควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตา กลอกตาไปมา คุมการเปิดปิดรูม่านตา
Pons หน้าที่ : ควบคุมการเคี้ยว หลั่งน้ำลาย เคลือนไหวใบหน้า การหายใจ
Medulla หน้าที่ : ควบคุมการเต้นหัวใจ การหายใจ ความดันโลหิต กลืน จาม สะอีก อาเจียน
Reticular activating system หน้าที่ : ควบคุมการนอนหลับ ความรู้สึกตื่นตัว ความมีสติสัมปชัญญะ (RASมีลักษณะเซลล์ประสาทและเส้นใยเชื่อมโยง ระหว่าง Medullar oblongata กับ Thalamus)


เชื่อมระหว่าง สมอง กับ ไขสันหลัง
องค์ประกอบ
1 Midbrain (Mesencephalon)
หน้าที่ : ควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตา กลอกตาไปมา คุมการเปิดปิดรูม่านตา


ด้านบน เชื่อมกับ Diencepahlon : thalamus and hypothalamus
ด้านล่าง เชื่อมกับ Pons
องค์ประกอบ ประกอบด้วย
#เทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina))
ตุ่มนูน 4 ก้อนด้านหลัง  : 2ตุ่มบน superior and 2 ตุ่มล่าง inferior colliculus
โครงสร้างนี้ช่วยในการไขว้ทแยงของเส้นใยประสาทตา
-ซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสเกี่ยวข้องกับการกลอกตาไปหาวัตถุ
-อินฟีเรียร์ คอลลิคูลัสทำหน้าที่ในการเชื่อมการมองเห็นกับสัญญาณเสียง
กล่าวคือช่วยในการมองตามเสียงที่ได้ยิน
-บริเวณนี้มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 ชื่อว่าเส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) ออกจากพื้นผิวด้านหลังของสมองส่วนกลาง ใต้อินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส
#เทกเมนตัม (tegmentum)
#เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia)
#ซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) หรือ ฐานซีรีบรัม
มีลักษณะเป็นคู่อยู่ที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง
ทำหน้าที่เป็นเส้นทางผ่านของลำเส้นใยประสาทคอร์ติโคสไปนัล (corticospinal tract) ซึ่งมาจากอินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) ไปยังไขสันหลังเพื่อสั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ตรงกลางของซีรีบรัล พีดังเคิล มี ซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra; แปลว่า "เนื้อสีดำ") ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนนี้เป็นเพียงส่วนเดียวของสมองที่มีเม็ดสีเมลานิน

ระหว่างฐานซีรีบรัมทั้งสองมีแอ่งเรียกว่า อินเตอร์พีดังคิวลาร์ ฟอซซา (interpeduncular fossa)
เป็นแอ่งที่เต็มไปด้วยน้ำหล่อสมองไขสันหลัง บริเวณนี้มีเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (oculomotor nerve) ออกมาจากระหว่างฐานซีรีบรัม เส้นประสาทนี้ทำหน้าที่หดรูม่านตาและกลอกตา นอกจากนี้บริเวณนี้จะเห็นเส้นประสาททรอเคลียร์วิ่งโอบรอบด้านนอกของซีรีบรัล พีดังเคิล

#นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย
สมองส่วนกลาง คือ ส่วนที่มีความซับซ้อนมาก เส้นทางเดินของระบบประสาทที่ประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์ประสาทที่ต่างขนิดกัน และโครงสร้างอื่นๆของสมอง
โดยจะประสานการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่การได้ยิน และการเคลื่อนไหวที่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยซับสะแตนเทีย ไนกร้า (substantia nigra) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีเซลล์ประสาทที่มีโดปามีน (dopamine) จำนวนมาก และ เป็นส่วนหนึ่งของเบซอล แกนเกลี่ยน (basal ganglion) ถ้าสมองส่วนนี้มีปัญหาก็จะเกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson) ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวและการประสานการเคลื่อนไหวได้

หน้าที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของม่านตา ลูกตา

2 Pons
มาจากภาษาละติน แปลว่า สะพาน
ตั้งชื่อโดยนักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี กอสตันโซ วาโรลิโอ (Costanzo Varolio)
ส่วนเนื้อขาวของพอนส์ประกอบด้วยลำเส้นใยประสาทที่นำสัญญาณ
- จากซีรีบรัมลงมายังซีรีเบลลัมและเมดัลลา และ
- มีลำเส้นใยประสาทรับสัญญาณความรู้สึกส่งขึ้นไปยังทาลามัส
นิวเคลียส และ ศูยน์การทำงาน
- ภายในพอนส์มีนิวเคลียสทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณจากสมองส่วนหน้าลงมายังซีรีเบลลัม
- มีนิวเคลียสที่ทำหน้าที่หลักในการนอนหลับ การหายใจ การกลืน การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การได้ยิน การรักษาสมดุล การรับรส การกลอกตา การแสดงสีหน้า การรับความรู้สึกบริเวณใบหน้า และท่าทาง
- มีศูนย์ควบคุมการหายใจ (pneumotaxic center) ซึ่งเป็นนิวเคลียสในพอนส์ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนจังหวะจากหายใจเข้าเป็นหายใจออก
- ยังมีศูนย์ที่ทำให้ร่างกายหยุดเคลื่อนไหวในขณะนอนหลับ และ มีบทบาทในการฝัน
- จะเป็นต้นกำเนิดของเส้นประสาทสมอง 4 คู่ จากทั้งหมด 12 คู่
ทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การสร้างน้ำตา การเคี้ยว กระพริบตา การปรับ focus ของตา การทรงตัว การได้ยิน และการแสดงออกทางใบหน้า เนื่องจากเชื่อมต่อระหว่างสมองส่วนกลาง(mid brain) กับ เมดูลลา (Medulla)

3 Medular / Medullar oblongata
อยู่ที่ส่วนล่างสุดของก้านสมอง เป็นส่วนที่สมองที่ไปติดต่อกับไขสันหลัง
เมดูลลา(medulla) เป็นส่วนที่สำคัญต่อการมีชีวิต
เนื่องจากควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ระบบไหวเวียนโลหิต และระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ และควบคุมปฏิกิริยาที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ(reflex) ได้แก่ การจาม ไอ อาเจียน และการกลืน
หน้าที่
-การควบคุมการหายใจ (control of ventilation) อาศัยกระแสประสาทที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมีคือ carotid body ซึ่งอยู่ที่หลอดเลือดแดงที่คอ และ aortic body
ซึ่งอยู่ที่ส่วนโค้งเอออร์ตาเหนือหัวใจ กลุ่มตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor) เหล่านี้เป็นตัวควบคุมการหายใจ คือพวกมันจะตรวจจับความเป็นกรดในเลือด
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเลือดเป็นกรดเกิน เมดัลลาจะได้รับข้อมูลจากตัวรับสารเคมีแล้วส่งกระแสประสาทไปยังเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คือ intercostal muscle ที่ซี่โครงและ phrenical muscle ที่กะบังลมเพื่อเพิ่มอัตราการหดเกร็ง เพิ่มการหายใจ และเพิ่มการเติมออกซิเจนใส่ในเลือด กลุ่มเซลล์ประสาทในเมดัลลาคือ ventral respiratory group และ dorsal respiratory group มีบทบาทในการควบคุมเช่นนี้ กลุ่มอินเตอร์นิวรอน pre-Bötzinger complex ในเมดัลลาก็มีบทบาทในการหายใจด้วยเหมือนกัน

-ศูนย์หัวใจร่วมหลอดเลือด เป็นส่วนของระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก

-ศูนย์ปรับขนาดหลอดเลือด - มีตัวรับรับรู้ความดันในหลอดเลือด (baroreceptor) ซึ่งส่งข้อมูลไปยังเมดัลลาส่วน solitary nucleus เพื่อให้ปรับความดันได้

-ศูนย์รีเฟล็กซ์สำหรับการอาเจียน การไอ การจาม และการกลืน รีเฟล็กซ์เหล่านี้รวมทั้งรีเฟล็กซ์ขย้อน (pharyngeal reflex[G]), รีเฟล็กซ์การกลืน (swallowing reflex[H]) หรือ palatal reflex และรีเฟล็กซ์ขากรรไกร (masseter reflex[I]) จึงสามารถเรียกรีเฟล็กซ์เหล่านี้แต่ละอย่างว่า bulbar reflex
โรคที่พบของ Medulla
เส้นเลือดอุดตัน (เช่นที่เกิดในโรคหลอดเลือดสมอง) อาจสร้างปัญหาต่อเมดัลลาที่ pyramidal tract, medial lemniscus และ hypoglossal nucleus เป็นเหตุของกลุ่มอาการที่เรียกว่า medial medullary syndrome อาการเช่น

กลุ่มอาการ lateral medullary syndrome อาจเกิดเพราะการอุดตันของเส้นเลือด posterior inferior cerebellar artery หรือของ vertebral artery อาการ
รวมทั้งการเสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิที่ร่างกายซีกตรงกันข้าม (กับซีกสมองที่บาดเจ็บ) หรือใบหน้าซีกเดียวกัน
ส่วนอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายแบบลุกลาม (progressive bulbar palsy, PBP) เป็นโรคที่ทำลายประสาทซึ่งส่งไปยังกล้ามเนื้อ bulbar muscle (เช่น ลิ้น คอหอย และกล่องเสียง) อาการที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งปัญหาการเคี้ยว การพูด และการกลืน ส่วน infantile progressive bulbar palsy เป็น PBP ที่เกิดในเด็ก








Ventricles โครงสร้าง เส้นทาง CSF อย่างไร