Corona virus

ไวรัสโคโรน่าเป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

ที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และ

มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes)

ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส

ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ

(ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อ

เชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย

ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด

เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ)

และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู

ดังนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร

อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection)

มีการค้นพบโคโรน่าไววัสในค้างคาวไทย 300-400 ชนิด แต่ยังไม่ติดต่อไปสู่คน

ไวรัสโคโรน่าถูกแบ่งเป็น 4 ยีนัสคือ

-Alphacoronavirus,

-Betacoronavirus,

-Gammacoronavirus และ

-Deltacoronavirus

โดยไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง

และ มักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการจัดอยู่ในยีนัส Alphacoronavirus

ส่วนไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์

เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV จัดอยู่ในยีนัส Betacoronavirus

ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง

และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น

ดังเช่นในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat สู่คน

เปรียบเทียบการระบาด 3 ไวรัสตระกูลเดียวกัน SARS-MERS-2019nCoV