Pityriasis rosea

Pityriasis rosea (P.R.) “โรคผื่นกลีบกุหลาบ”

เป็นโรคผิวหนังในกลุ่ม papulosquamous disease ซึ่งพบได้ 1-2% หายเองได้

pityriasis rosea มาจากลักษณะของผื่น คือ

pityriasis หมายถึงขุยบางๆ (fine scales)

rosea แปลว่า สีดอกกุหลาบหรือสีชมพู

ภาษาไทยจึงอาจใช้ว่า โรคขุยกุหลาบ

แต่เนื่องจากลักษณะผื่นเป็นวงรีหรือวงกลมรูปไข่ จึงอาจเรียกว่า โรคกลีบกุหลาบ

-ผื่นมักจะขึ้นตามลำตัว ต้นแขนและขา อาการคันไม่มากนัก

-โดยมากเราจะพบผู้ป่วยโรคกลีบกุหลาบได้ตลอดปี

แต่มักพบบ่อยในช่วงที่อากาศเปลี่ยนทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ในฤดูหนาวและฤดูฝน

เพศ-อายุ

-มักพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ 15-40 ปี

-ทั้งเพศหญิงและเพศชายพบได้เท่ากัน

สาเหตุ

-ในไทยมักพบบ่อยในฤดูฝน

-พบการกลับเป็นซ้ำ (recurrence) ได้ต่ำ คือประมาณ ร้อยละ 3

-มีรายงานที่เชื่อว่าเชื้อไวรัส human herpesvirus 6 (HHV-6) และ human herpesvirus 7 (HHV-7) น่าจะเป็นสาเหตุของโรคนี้

-แต่จากการตรวจทางกล้อง จุลทรรศน์อิเลกตรอนยังไม่พบอนุภาคของไวรัสที่คล้าย herpesvirus

-เป็นที่น่าสนใจว่าไข้ออกผื่นในเด็กที่ชื่อ roseola infantum (ไข้ผื่นกุหลาบ หรือไข้หัดกุหลาบ) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ มีไข้นำมาก่อน 3 วัน พอไข้ลงจะมีผื่นขึ้น ก็มีรายงานว่าเกิดจาก human herpes- virus 6 (HHV-6).

นอกจากนั้นก็พบว่ายาบางขนานทำให้เกิดโรคกลีบกุหลาบได้ (drug-induced PR)

ที่เคยมีรายงาน เช่น bismuth, barbiturates, captopril, gold, organic mercurials, methoxypromazine, metronidazole, D-penicillamine, isotretinoin, tripelennamine hydrochloride, ketotifen, salvarsan, levamisole, ketotifen, clonidine, aspirin, omeprazole, terbinafine และ imatinib mesylate

แม้แต่วัคซีน BCG และ diphtheria ก็เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดผื่นคล้ายโรคกลีบกุหลาบ.

พบว่าผู้ป่วยโรคกลีบกุหลาบมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ (atopy), โรคเซ็บเดิร์ม (seborrheic dermatitis), โรคสิว และรังแค สูงกว่าคนทั่วไป และพบว่ามักมีการกำเริบของผื่นมากขึ้นในผู้ที่มีความเครียดสูง.

ลักษณะทางคลินิก

1. ลักษณะผื่นอันแรกที่เรียกว่า herald patch (ผื่นแจ้งข่าว) มีรูปร่างกลมรี สีแดง ขอบชัด มี scale บางๆ ที่ขอบ ของผื่นเรียกว่า collarette scale ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 ซม. อาจเกิดบริเวณใดของร่างกายก็ได้ พบว่าร้อยละ 50-90 ของผู้ป่วยโรคกลีบกุหลาบมีผื่นปฐมภูมิเกิดขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น. ก่อนที่จะมีผื่นขนาดเล็กจำนวนมากขึ้นตามมาในภายหลัง

2. ประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา จึงมีผื่นลักษณะเดียวกันแต่ขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 ซม. ค่อยๆ ทยอยขึ้นตามมา มีอาการคันเล็กน้อย แกนตามยาวของแต่ละผื่นจะขนานกับ line of cleavage ผื่นกระจายอยู่ตามลำตัว ต้นแขน ต้นขา ดูรวมๆ ตามตัวมีลักษณะคล้ายต้น Christmas ซึ่งเห็นชัดเมื่อดูด้านหลัง : Christmas tree pattern

3.ในเด็กอาจจะพบผื่นที่ใบหน้าและเท้าได้

4.ผื่นเหล่านี้จะอยู่นาน 4-6 สัปดาห์

5.อาจมีอาการนำมาก่อนผื่นขึ้น ได้แก่ อาการเหนื่อยเมื่อยล้า, คลื่นไส้, เบื่ออาหาร, ไข้, ปวดข้อ, ต่อมน้ำเหลืองโต และปวดศีรษะ และ

6.อาจเกิดในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน อาการเหล่านี้อาจนำมาก่อนการเกิดของผื่นแจ้งข่าว

7.ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคกลีบกุหลาบ มีอาการคัน ซึ่งร้อยละ 25 อาจคันรุนแรงมาก

Physical examination

  • The herald patch : 1-2 cm in diameter, oval or round with a central, wrinkled, salmon-colored area and a dark red peripheral zone. The areas are separated by a collarette of fine scales. ส่วนใหญ่อยู่บนลำตัว บางรายพบที่คอหรือแขน

  • The secondary eruption appears at its maximum in about 10 days.

    • The secondary eruption is symmetric and localized, predominantly to the trunk and adjacent areas of the neck and extremities.

    • พบมากที่หน้าท้อง หน้าอก หลัง

    • The secondary lesions appear as the primary patch in miniature, with the two red zones separated by the scaling ring. They are distributed in a Christmas tree pattern with their long axes following the lines of cleavage of the skin. In children under the age of 5 years, papular PR may be seen with a similar distribution.

In atypical PR (20% of patients), the herald patch may be missing or confluent with other lesions.

  • The distribution of the rash may be peripheral, and facial involvement may be seen in children. Involvement of the axilla and groin (inverse variant) can also be seen.

  • The lesions of PR may be large (PR gigantea), urticarial (PR urticata), vesicular, pustular, purpuric, and erythema multiforme–like.

อาจพบ Hypopigmentary and hyperpigmentary skin changes ตามมาหลังผื่นยุบ

อาจพบ oral lesion ได้มีหลายแบบ เช่น erythematous plaques, hemorrhagic puncta, and ulcers.

พยาธิกำเนิด

-สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากเชื้อไวรัส เนื่องจากโรคนี้เป็นระยะสั้น และหายเองได้ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจพบเชื้อ และ ทางพยาธิวิทยาก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่จำเพาะ

-มีการศึกษาพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับการติดไวรัส HHV 6,7 (Human herper virus) น่าจะเป็นสาเหตุของโรคนี้ แต่จากการตรวจทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนยังไม่พบอนุภาคของไวรัสที่คล้าย herpesvirus

เป็นที่น่าสนใจว่า ไข้ออกผื่นในเด็กที่ชื่อ ไข้ผื่นกุหลาบ หรือไข้หัดกุหลาบ (roseola infantum) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ มีไข้นำมาก่อน 3 วัน พอไข้ลงจะมีผื่นขึ้น มีรายงานว่าเกิดจาก HHV-6

-นอกจากนั้น พบว่า ยาบางตัวทำให้เกิดโรคกลีบกุหลาบได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ (metronidazole), ยารักษาสิว (isotretinoin), ยาลดไข้แก้ปวด (aspirin), ยาฆ่าเชื้อรา (terbinafine) ผู้ป่วยโรคกลีบกุหลาบมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้, โรคเซ็บเดิร์ม, โรคสิว และรังแคสูงกว่าคนทั่วไป และพบว่ามักมีการกำเริบของผื่นมากขึ้น ในคนที่มีความเครียดสูงอีกด้วย

การวินิจฉัย

โรคนี้วินิจฉัยได้จากประวัติและลักษณะทางคลินิก ไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะ

การวินิจฉัยแยกโรค

1. Herald patch ต้องแยกออกจาก - Tinea corporis โดยการทำ KOH preparation

2. Secondary syphilis ผู้ป่วยทุกรายควรเจาะเลือดตรวจ VDRL

3. Drug eruption

4. Guttate psoriasis

5. Viral exanthem

อื่นๆ erythema multiforme, pityriasis alba, guttate psoriasis, secondary syphilis (ภาพที่ 10), tinea corporis, num-mular eczema, seborrheic dermatitis, drug eruptions, erythema dyschromicum perstans, lichen planus, lichenoid reactions, pityriasis lichenoides และ Kaposis sarcoma.

การรักษา

โรคนี้หายได้เอง จึงให้การรักษาตามอาการ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจระคายเคืองผิวหนัง

1. ให้ทายา emollient และรับประทาน Antihisamine จะช่วยลดอาการคัน

2. ทา Steroid cream จะทำให้หายเร็วขึ้นและลดอาการคัน เช่น 0.1% TA cream, hydrocortisone cream เป็นต้น

3. Phototherapy ใช้รักษาในรายที่เป็นมากและเรื้อรัง จะช่วยให้ผื่นหายเร็วขึ้น

Option กรณีที่เป็นมาก หรือ เป็นทั่วตัว หรือ ชนิดตุ่มน้ำ

- prednisolone 5-60 mg/day bid-qid taper over than 2 wk as symptoms resolve

ในเด็ก 4-5 mg/BSA/day or 0.05-2mg/kg/day

- erytheomycin(250mg) 1*4 ac เชื่อว่าจะทำให้หายเร็วขึ้น

แต่จะทำให้เป็นรอยดำได้

- acyclovir 800 mg * 5 ครั้ง/วัน เด็ก 10-20mg/kg แบ่ง q 6hr 5-10 วัน

อาจทำให้หายเร็วขึ้นโดยเฉพาะให้หลังเกิดผื่นไม่เกิน 1 wk

- ตากแดด หรือ UV-B light therapy ลดอาการคันได้หรืออาจลดความรุนแรง

แต่ก็ทำให้เกิด postinflammatory pigmentation ได้

คำแนะนำ

1.ควรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำ, การมีเหงื่อออกและการสัมผัสสบู่ เพราะทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง ผื่นจึงมีอาการกำเริบ

2.ในฤดูหนาวโรคกลีบกุหลาบมักมีอาการคันอย่างรุนแรง เพราะมีแนวโน้มที่จะมีผิวแห้งอยู่แล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งความเครียดและอากาศหนาวเย็นที่ทำให้ผิวแห้งล้วนก่อให้เกิดการกำเริบและ อาการคันอย่างรุนแรงในโรคกลีบกุหลาบ

โรคนี้หายได้เองภายใน 3-6 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะเรื้อรังและหายใน 3-4 เดือน

ที่มา

https://www.doctor.or.th/clinic/detail/9091