Vertigo

BPPV หินปูนหลุด

BPPV treatment Epley maneuver

Vertigo

Differential diagnosis

ต้องแยกจาก dizziness, tension headache, near syncope and postural hypotension

สาเหตุเกิดจากความผิดปกติจากของอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวดังนี้

Central -Brainstem, Cerebellum and Temporal lope

Peripheral - inner ear and vestibular nerve

การแยกระหว่าง central กับ peripheral vertigo ดังนี้

การแยกโรคให้ง่ายแบ่งตามระยะเวลาความถี่

โรคที่พบได้

1. BPPV - most common

สัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนท่า ถ้าไม่ขยับตัวอาการจะหายไปใน 10-20 วินาที เมื่อมีการเปลี่ยนท่าแล้วกลับมาสู่ท่าเดิมก็จะมีอาการเวียนศีรษะอีก อาการจะเป็นมากอยู่ในช่วงเวลาเป็นวันแล้วจะดีขึ้น แต่อาจเป็นซ้ำได้อีกได้เรื่อยๆ

ผู้มีอาการครั้งแรกจะมาก ต่อมาอาการจะค่อยๆ ทุเลาลง ผู้ป่วยจะสามารถปรับตัวได้และเรียนรู้ที่จะเลี่ยงท่าที่จะทำให้เกิดอาการได้

BPPV-Dix-Hallpike test positive: หันหน้าไปข้างได้ข้างหนึ่ง 45 องศา จับล้มตัวนอนอย่างเร็วร่วมกับเงยศีรษะขึ้นเล็กน้อย

สาเหตุ เกิดจากการมีผลึก calcium carbonate ลอยอยู่ใน semicircular canal โดยเฉพาะ posteroir semicercular canal เมื่อมีการขยับศีรษะอย่างรวดเร็วในบางท่า หินปูนนี้จะไปรบกวนต่อ vestibular sensory receptor ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บางรายเกิดตามหลังอุบัติเหตุที่ศีรษะได้

การรักษา

อาจทำการหมุนศีรษะให้หินปูนหลุดเข้าไปใน utricle (Epley's particle repositioning maneuver)

2.Meriere's disease

ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับ การได้ยินลดลง มี tinnitus และปวดหรือแน่นในหูข้างไดข้างหนึ่ง เป็นชั่วโมง หลังจากนั้นจะรู้สึกมึนศีรษะต่อไปอีกเป็นวัน อาการเวียนศีรษะแต่ละครั้งไม่เกิน 1-2 วัน แล้วหายเป็นสัปดาห์เป็นเดือน แล้วมีอาการซ้ำอีก ในระยะยาวจะมีการลดลงของการได้ยินอย่างถาวร

สาเหตุ เกิดจากการคั่งของ endolymph ต่อมาจะมีการแตกของเนื้อเยื่อที่คั่นระหว่าง endolymph และ perilymph ทำให้ endolymph ที่มี K+ สูง เข้าไปร่วมกับ perilymph ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และมีการทำลายหูได้ยินลดลง

การรักษา

อาจให้ diuretic ร่วมกับการลดอาหารเค็ม บางรายอาจต้องผ่าตัด

3.Autoimmun inner ear disease

เช่น Cogan' disease ประกอบด้วยโรคในหูชั้นในร่วมกับอาการทางตา(interstitial keratitis) ในบางครั้งอาจมีอาการของเส้นประสาทสมองร่วมด้วย อาการเริ่มแรก คล้าย Meniere's disease คือ มีอาการเวียนศีรษะ ร่วมกับ การได้ยินลดลง มี tinnitus และแน่นในหูเป็นๆ หายๆ แต่โรคจะเป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจลุกลามไปที่หูอีกข้างหนึ่งด้วย วินิจฉัยจาก ประวัติและการตรวจร่างการเท่านั้น การรักษา ตอบสนองดีต่อ corticosteroid

4. Perilymph fistula

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันในหูชั้นกลางอย่างรวดเร็ว โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างหูชั้นใน ปริเวณ oval windows หรือ round window พบในผู้ที่ดำน้ำลึก barotrauma การเบ่งไอจามรุนแรง หรือ ตามหลังการผ่าตัด หากให้ผู้ป่วยเบ่งเพิ่มความดันในหูจะมี nystagmus

5.Vestibular neuritis or labyrinthitis

มักจะก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะร่วมกันคลื่นไส้อาเจียนอย่างมาก ค่อยๆ เป็นมากขึ้น ใช้เวลาเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน อาการจะเป็นมากในวันแรก บางรายบ่นว่าตามัวเนื่องจากมี nystagmus ในกรณีที่โรคลุกลามไป cochea อาจพบว่าการได้ยินลดลง โดยทั่วไปอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลา 1 สัปดาห์ และหายเป็นปกติใน 1-3 เดือน อาการที่ดีขึ้นอาจเป็นเพราะ การสูญเสียการทำงานของ vestibular organ ข้างที่เป็น แต่สมองสามารถปรับตัวได้ ประวัติสำคัญมักมีการติดเชื้อไวรัสนำมาก่อนที่จะเกิดอาการ การทำ MRI มักพบว่ามี contrast enhandcement ที่ membranous albyrith หรือที่ Cranial nerve 8 การติดเชื้อเช่น Herpes zoster oticus ก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ มักมีอาการเวียนศีรษะ ได้ยินลดลง ปวดที่หู ร่วมกับมีตุ่มใสตามมา มักพบว่ามีการอักเสบของ CN 7 หน้าเบี้ยวร่วมด้วย

6.Migrain

ในผู้ใหญ่เกิดจาก basilar migrain เวียนศีรษะ ร่วมกับ เห็นภาพซ้อน ตามัว เสียงเปลี่ยน เดินเซ ซึมลง แยกจากโรคของ brainstem อื่นๆ คือ มักพบในผู้หญิงวัยรุ่นที่มีประวัติไมเกรนมาก่อน อาการจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น จนอาการมากที่สุดเป็นชั่วโมงแล้วค่อยๆ หายจนเป็นปกติ

7.Seizure เคยมีรายงาน ชักจาก temporal lope หรือ สมองส่วนที่เชื่อมกับ vestibular system มีอาการที่บ่งชี่ว่าเป็นอาการชักร่วมด้วย เช่น ไม่รู้ตัว เหม่อลอย หรือชักทั้งตัว

8.Transient ischemic attach

ที่เกิดจาก vertibobasilar system เวียนศีรษะร่วมกับอาการของก้านสมองร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน ตามัว อาการแต่ละครั้งไม่เกิน 30 นาที

9.Brain stem cerebellar stroke

มักมีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อน ตามัว เดินเซ อ่อนแรง และชา วินิจฉัยไม่ยาก ได้แก่ PICA syndrome, AICA syndrome, cerebellar strock

Cerebellar sign test: finger to nose, heel to knee, diadokokinesis, wide base gait, tandem gait...

10.Drug intoxication

ยาเกินขนาด เช่น dilantin, ยานอนหลับ, ยาลดความดัน, แอลกอฮอร์ เป็นต้น

11.Otomastoiditis

เกิดจากแบคทีเรีย ระยะฉับพลับมีไข้ ปวดหู การได้ยินลดลง หากเรื้อรัง ทำให้เวียนศีรษะเรื้อรังได้

12.Labyrinth concussion

เกิดตามหลังอุบัติเหตุ เวียนศีรษะมากในช่วงแรกแล้วค่อยๆ ดีขึ้น

13.Spinocerebellar atrophy

เกิดจากพันธุกรรม มักมีอาการเดินเซ ร่วมกับ spasticity และเวียนศีรษะ

14.Arnold-Chiari malformation

Medication

Antihistamine: Dimenhydramine 1x3-4

Betahistamine: Betahistamint mesilate(Merislon)1x3,Betahistamine(Serc)1x3

Calcium antagonist: Cinnarizine 1x3, Flunarizine 2 hs

ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน : Plasil, Motilium

Other : Diazepam2-10mg x 2-4 , Lorazepam0.5-1 mg x3

BPPV treatment

BPPV