Thalassemia define update

Thalassemia

เป็นโรคในกลุ่ม inherited autosomal recessive hematologic disorders ทำให้การสังเคราะห์ globin chain ลดลงหรือไม่มีเลย ขาดความสมดุลของสาย globin chain เป็นสาเหตุให้เกิด hemolysis anemia

Pathophysiology

Hb = Iron-heme ring + 4 globin chains

คนปกติ 4 globin chains = alpha 2 สาย + non alpha 2 สาย

ชนิดของ Hb : Hb เกิดจากการประกอบกันของ globin chain แต่ละชนิด

Hb A = α2 + β2

Hb A2 =α2 + δ2

Hb F =α2 + γ2

Hb H = β2 + β2 คือ มีแต่ β4สาย

Hb Bart’s = γ2 + γ2 คือ มีแต่ γ4สาย

ส่วน Hb E หรือ HbCS เป็น Hb ที่ผิดปกติของโครงสร้างบนสาย globin

(Hb E(ผิดปกติบนสาย β) และ HbCS(ผิดปกติบนสาย α))

ผู้ใหญ่มีhemoglobin สำคัญอยู่ 3 ชนิด: Hb A (97%) Hb A2(2.5%)Hb F(<1%)

เด็กแรกคลอดมีHbF ถึง 90 % HbA 10%

HbF จะค่อยปรับลดลง อายุประมาณ 6 เดือน จะมี HbA เป็นส่วนใหญ่เหมือนผู้ใหญ่

ความผิดปกติของการสร้าง Hb มี 2 ประเภท

1. Abnormal Hemoglobin คือ โครงสร้างของ globin ผิดปกติ

พบแล้วกว่า 1000 ชนิด ที่พบบ่อย คือ Hb E(ผิดปกติบนสาย β) และ HbCS(ผิดปกติบนสาย α)

2. Thalassemia คือ จำนวนสาย globin สร้างได้น้อยลง หริอ ไม่มีเลย

[ดูที่ Hb A ประกอบด้วย α 2สาย+ β 2สาย]

แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

2.1 α-thalassemia

การสร้างสาย α ถูกคุมด้วย gene 2 ตัว บนขาแต่ละข้างของโครโมโซมคู่ที่ 16 (รวมเป็นยีน 4 ตัว) การสร้างที่ลดลงเกิดจาก deletion หายไปของ gene ที่อยู่บนขาของโครโมโซม และทำให้เกิด α-thalassemia

· α-thalassemia 1 หรือ αo-thalassemia ไม่มี การสร้างสาย α-globin จากโครโมโซมข้างนั้นเลย

· α-thalassemia 2 หรือ α+-thalassemia มีการ สร้างสาย α-globin ได้น้อยกว่าปกติ

α-thalassemia แบบต่างๆตามจำนวนยีนที่หายไปดังนี้

ในประเทศไทยที่สำคัญคือ HbH disease มี 2 แบบ

- α-thalassemia 1: α-thalassemia 2 ยีนหายไป 3 ตัว

- α-thalassemia 1: HbCS) ยีนหายไป 3 ตัวร่วมกับมี Hb ผิดปกติแบบ CS 1 ตัว

2.2 β-thalassemia

· βo-thalassemia จะไม่มีการสร้างสาย β-globin จากโครโมโซมข้างนั้นเลย

· β+-thalassemia มีการสร้างสาย β-globin ได้น้อยกว่าปกติ

การสร้างสาย β ถูกคุมด้วย gene 1 ตัว บนขาแต่ละข้างของโครโมโซมคู่ที่ 11

แต่ความผิดปกติของ βgene จะเป็น mutation ต่างจาก α gene ที่เกิด deletion การเกิด mutation บน βgene สามารถเกิดได้มากกว่า 200 ตำแหน่ง และ พบน้อยมากๆที่จะเกิด deletionของ βgene ทั้งสองตัว การ mutation นี้เองทำให้เกิดความผิดปกติในการสร้างสาย βglobin ได้หลากหลายมาก

แบ่งตามยีนที่เกิด defect ดังนี้

สำหรับ Hb ผิดปกติที่พบร่วมกับ thalassemia พบบ่อยมี 2 ตัว

Hb E เป็นทั้ง abnormal Hb และ β-thalassemia

Hb Cs ก็เป็นทั้ง abnormal Hb และ α-thalassemia

Prevalance

ความชุกของ thalassemia และ abnormal Hb ที่พบบ่อย

α-thalassemia พบสูงมากในไทยภาคเหนือและลาว(เวียงจันทร์ 40% เชียงใหม่ 30% กรุงเทพ 20%)

β-thalassemia ก็พบสูงมากในภาคเหนือ คนไทยพบ 8-9 %

Hb E พบสูงในคนเชื้อสายเขมร ตรงรอยต่อ ไทยลาวเขมร พบถึง 50-60% คนจีนแท้เกือบไม่พบ Hb E

ในประเทศไทย HbCS พบ 1-8%

Thalassemia define

เป็นภาวะโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่สร้าง globin โดยเป็นแบบ autosomal recessive บุคคลที่เป็นโรคได้ต้องได้รับยีนที่สร้างสาย globin ชนิดเดียวกันผิดปกติ 2 ยีนขึ้นไป และเป็นยีนที่มีความรุนแรง

ตัวอย่างเช่น β-thalassemia/HbE (ได้ยีน β-thalasemia และ HbE จากพ่อแม่)

ส่วน ถ้าได้รับยีน α-thalassemia และ ยีน β-thalasemia มาจะไม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเนื่องจากเป็นยีนคนละชนิด

ถ้าได้ HbE ทั้ง 2 ฝั่งจากพ่อและแม่ เป็น Homozygous HbE หรือ Homozygous α-thalassemia2 ก็ไม่เป็นธาลัสซีเมียเนื่องจากความผิดปกติของยีนมีความรุนแรงต่ำ

สำหรับโรค thalassemia ที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 4 ชนิด ใหญ่ๆ แบ่ง 3 กลุ่มอาการ

1. Hb Bart’s hydrops fetalis ได้รับยีน α-thalassemia 1 จากพ่อและแม่ สร้างสาย α globin ไม่ได้เลยทำให้เด็กซีด บวมน้ำตายในครรภ์หรือแรกคลอด ชนิดนี้รุนแรงสุด และกว่า 75% ของมารดาจะเกิด toxemia of pregnancy

2. Hb H disease มี 2 ชนิดใหญ่ๆคือยีน α-thalassemia 1: α-thalassemia 2 และ α-thalassemia 1: HbCS อาการคล้ายกัน แบบหลังจะรุนแรงกว่าเล็กน้อย ผู้ป่วยมีอาการซีดเล็กน้อย อาการแทบไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อติดเชื้อเฉียบพลัน จะซีดลงมากอย่างกระทันหัน(hemolytic crisis) ต้องวินิจฉัยให้ได้และรักษาให้เร็ว ลดไข้และรักษาการติดเชื้ออย่างทันท่วงที

3. Homozygous β-thalassemia

4. Β-thalassemia/HbE disease

ชนิดที่ 3 และ 4 อาการคล้ายกัน ต่างที่ความรุนแรง คือ ผู้ป่วยมีอาการมาก ซีด เหลือง ตัวเล็ก หน้าแบบธัสลัสซีเมีย หน้าผากใหญ่ โหนกแก้มสูง จมูกแบบ ฟันหน้ายื่น ตับม้ามโต ติดเชื้อง่ายเป็นไข้บ่อย กระดูกเปราะหักง่าย ให้เลือดบ่อย ตายเร็ว บางรายอาการน้อย ไม่ต้องให้เลือดแต่เมื่ออายุมากขึ้นมีเหล็กสะสม อาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาขับธาตุเหล็ก ในกรณีที่เหล็กสะสมมาก ก่อให้เกิดอันตรายกับอวัยวะต่างๆ เช่น ตับแข็ง พังผืดในหัวใจ หัวใจวาย เป็นเบาหวาน เป็นต้น

Ref.

1.http://www.thalassemia.or.th/thal-cpg.pdf

2.aafp: Am Fam Physician.2009;80(4):339-344