Epitaxis

Epitaxis Treatment

การรักษาเลือดกำเดาไหล

ภาวะเลือดกําเดาไหล คือ ภาวะที่มีเลือดออกทางจมูกเกิดจากเส้นเลือดฝอยภายในโพรงจมูกแตก ทําให้มีเลือดไหลจากจมูกอาจออกเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

ส่วนมากไหลออกทางด้านหน้าออกจมูก อาจไหลจากด้านหน้าไหลลงส่วนหลัง ในกรณีที่ไหลจากด้านหลังจะไหลลงคอ ภาวะเลือดกำเดาไหลพบได้ทุกเพศทุกอายุ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เลือดกำเดาอาจออกปริมาณไม่มาก หรือออกครั้งละมาก ๆ ออกทั้งทางด้านหน้าและไหลลงคอ เลือดที่ออกอาจหยุดได้เองชั่วคราว แต่มักจะออกซ้ำถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ

สาเหตุ

ของเลือดกำเดาในผู้ใหญ่มักสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุทำให้เกิดกำเดาไหล ได้แก่

1.การระคายเคืองในเยื่อบุโพรงจมูก เป็นแผลภายในโพรงจมูกและผนังกั้นจมูก

2.การอักเสบติดเชื้อของโพรงจมูกและไซนัส

3.ได้รับอุบัติเหตุบริเวณจมูก

4.เนื้องอกหรือมะเร็งบริเวณโพรงจมูกและไซนัส

5.โรคเลือดและความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

การรักษา

การรักษาภาวะเลือดกำเดาไหลตามมาตรฐานที่ใช้กัน คือ

การแพคจมูกโดยใช้ผ้าก๊อซอัดเป็นชั้น ๆ ในช่องจมูก (Anterior Posterior Nasal Packing) เป็นเวลาประมาณ 3-5 วัน

วิธีนี้แม้ว่าจะสามารถทำให้เลือดหยุดได้ แต่อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการหายใจ นำไปสู่การมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งต้องงระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้ว นอกจากนี้ อาจเกิดภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนในช่องจมูกได้

การรักษาภาวะเลือดกำเดาไหลในผู้ใหญ่

โดยแก้ที่สาเหตุโดยตรงหากสามารถทำได้

ทำโดยการผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็กเพื่อช่วยในการเข้าไปผูกเส้นเลือดที่มีเลือดออก หากได้ผลจะทำให้เลือดหยุดทันที ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าอุดในช่องจมูก ผู้ป่วยหายใจและรับประทานอาหารได้ตามปกติ และลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้สั้นลง การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป้นต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษ และแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะเท่านั้น

การรักษาเลือดกำเดาไหลหากพบจุดเลือดออก แก้ไขสาเหตุของเลือดกำเดาได้ จำเป็นต้องจัดการที่สาเหตุ แต่หากไม่พบสาเหตุ และมีเลือดออกปริมาณมาก การทำการห้ามเลือดที่ออกด้วยการทำ Anterior Posterior Nasal Packing ในส่วนด้านหน้า หรือด้านหลังในส่วนที่มีเลือดออก ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันการเสียเลือดอย่างต่อเนื่อง

จากการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ในฐานข้อมูล Pubmed

จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 พบข้อมูลระดับ Systematic review

ที่สัมพันธ์กับการรักษาภาวะเลือดกำเดาไหลดังนี้

1)การรักษาภาวะเลือดกำเดาไหล หากสามารถตรวจพบจุดเลือดออกได้

การใช้จี้ไฟฟ้า(cauterization)เพื่อหยุดห้ามเลือด สามารถแก้ไขสาเหตุของภาวะเลือดกำเดาและลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้ ซึ่งดีกว่าการใช้สารเคมีเพื่อห้ามเลือด

2)ภาวะเลือดกำเดาไหลที่ควบคุมยาก มักมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยกระตุ้น

การควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงจึงช่วยให้ควบคุมภาวะเลือดกำเดาได้ดีขึ้น

3)การใช้ยาTransamic acid ช่วยหยุดห้ามเลือดกำเดาได้

โดยสามารถใช้ได้ทั้งชนิดฉีดและชนิดใช้เฉพาะที่

4)การห้ามเลือดในกรณีที่ไม่เห็นจุดเลือดออกที่ชัดเจนการห้ามเลือด

โดยการแพคจมูก Anterior Posterior Nasal Packing ตามตำแหน่งที่เลือดออก

ทางด้านหน้าเพียงอย่างเดียว หรือ ด้านหน้าร่วมกับด้านหลัง

โดยจำเป็นต้องแพคจมูกไว้อย่างน้อย 3-5 วัน

การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ toxic shock syndrome จึงเป็นสิ่งจำเป็น

กล่าวโดยสรุป

การรักษาเลือดกำเดาไหล โดยทำการหาจุดเลือดออกและจี้ห้ามเลือดในตำแหน่งต้นเหตุดีที่สุด

แต่หากไม่สามารถเห็นตำแหน่งที่ชัดเจนการทำการแพคจมูกเพื่อห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็น

การใช้ยาห้ามเลือด รักษาปัจจัยกระตุ้น เช่น

รักษาภาวะความดันโลหิตสูง แก้ไขตามสาเหตุของโรค และการหยุดห้ามเลือดอย่างถูกต้อง ช่วยป้องกันการเสียเลือดในผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

Reference

1.Joseph J et al , Tranexamic acid for patients with nasal haemorrhage (epistaxis).Cochrane Database Syst Rev. 2018 Dec 31;12:CD004328. doi: 10.1002/14651858.CD004328.pub3.

2. Kamhieh Y et al, Tranexamic acid in epistaxis: a systematic review. Clin Otolaryngol. 2016 Dec;41(6):771-776. doi: 10.1111/coa.12645. Epub 2016 Mar 18. Review.

3. Khan M et al, Initial assessment in the management of adult epistaxis: systematic review.J Laryngol Otol. 2017 Dec;131(12):1035-1055. doi: 10.1017/S0022215117002031. Review.

4. Lange JL et al, Are prophylactic systemic antibiotics necessary with nasal packing? A systematic review.

Am J Rhinol Allergy. 2017 Jul 1;31(4):240-247. doi: 10.2500/ajra.2017.31.4454. Review.

5. Lange JL et al , Are prophylactic systemic antibiotics necessary with nasal packing? A systematic review.

Am J Rhinol Allergy. 2017 Jul 1;31(4):240-247. doi: 10.2500/ajra.2017.31.4454. Review.