Thyroid nodule

Thyroid nodules ตอนที่ 1 เบื้องต้น

ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์

Short Dx: แยกให้ได้ว่าเป็น benign, malignat และ cyst

ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์

ไม่ใช่ชื่อโรค หากแต่เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่ง ต้องวินิจฉัยต่อว่าเป็นอะไร

ก้อนส่วนใหญ่หลังจากตรวจวินิจฉัยแลัวมักไม่ต้องการ การรักษาที่จำเพาะใดๆ

ยกเว้น เป็นมะเร็ง ธัยรอยด์เป็นพิษ หรือ ขนาดใหญ่มีอาการกดอวัยวะข้างเคียง

Prevalence

-ประชากรโดยเฉลี่ยพบ single thyroid nodule 4-7%

-อายุที่พบบ่อย 30-59 ปี ในผู้หญิง พบ 6-8% ผู้ชายพบน้อยกว่าประมาณ 1.5-2.5%

-หากใช้อัลตร้าซาวด์ตรวจจะพบมากขึ้น ในหญิงเฉลี่ยพบ 20-45% ชาย 17-25%

จะพบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น พบ 50% เมื่ออายุ >50 ปี, 60% เมื่ออายุ >60 ปี,70% เมื่ออายุ >70 ปีและในพื่นที่ขาดสารไอโอดีนจะพบมากขึ้นถึง 90%

Malignant nodule

-ก้อนที่ต่อมธัยรอยด์พบเป็นมะเร็งได้น้อย < 5 % ของก้อนทั้งหมด

-solitary thyroid nodule และ multinodular goiter พบเป็นมะเร็งใกล้เคียงกัน

-หากเคยรับการฉายแสงที่ลำคอจะพบเป็นมะเร็งถึง 30-40%

Thyroid nodulesสาเหตุที่พบ

1.พบบ่อย :

Colloid, Cyst, Lymphocytic thyroiditis

Bening neoplasms: Hϋrthle cell, Follicular

Malignancy: Papillary, Follicular

2.พบไม่บ่อย

Granulomatous thyroiditis, Infection, Lymphoma

Malignancy(medullary, anaplastic, matastatic)

Classification เนื้องอก(Neoplasm)ที่ต่อมไทรอยด์

แบ่งตาม WHO Histologic classification 1988 ดังนี้

1. Benign : adenoma (Follicular, Hϋrthle cell.)

2. Malignant :

2.1 Papillary carcinoma

2.2 Follicular carcinoma

2.3 Medullary carcinoma

2.4 Undifferentiated (anaplastic) carcinoma

2.5 Other Squamous cell carcinoma, Lymphoma.

การประเมินโอกาสเป็นมะเร็ง

การประเมิน ว่าก้อนไทรอยด์นั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด

ต้องใช้ 3 สิ่งสำคัญ คือ ประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้

ก.ประวัติที่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น

1. เพศชาย โอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า

2. อายุ เพศหญิง< 20 ปี และ > 50 ปี เพศชาย> 40 ปี

3. ประวัติเคยได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ ในวัยเด็กหรือวัยรุ่นพบว่าการฉายแสงขนาดต่ำ (< 2000 cGy) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้น

4. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ชนิด Medullary CA อาจถ่ายทอดแบบ AD,6% papillary ca มีประวัติในครอบครัว

ข.การตรวจร่างกาย

1. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต(regional lymphnode)

2. เสียงแหบ(focal invasion)

3. กลืนหรือหายใจลำบาก(compression)

4. ก้อนแข็งไม่เจ็บ

5. ยึดติดกับอวัยวะข้างเคียง

6. โตเร็วขึ้นหรือมีก้อนใหม่

ค.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.Fine needle aspiration

มีความแม่นยำสูงในการวิเคราะห์หามะเร็ง (ขั้นตอนการทำ)

ความแม่นยำ:Accuracy 85-100% Specificity 72-100% Sensitivity 65-98% False-neg 5%

การตรวจผลที่ได้ : Negative 64%,suspicious 11%, positive 4%, non-diag 21%

2.Ultrasound

บอกขนาด ตำแหน่ง ตรวจติดตาม หา-nonpalpable lesion และแยก solid กับ cystic

โอกาสเป็น CA ในวงเล็บ : solid(20%), mixed solid-cystic(12%), simple cyst(7%)

3.Thyroid function test : ส่ง TSH สำหรับรายที่มีอาการ หรือ multinodular goiter

4.Radioactive scan 123 I or 99mTc

โอกาสเป็น CA ในวงเล็บ : cold(10-15%), warm(<10%), hot nodule(1%)

5.CT of MRI

ใช้ตรวจสำหรับ ก้อนที่ใหญ่มากหรือ substernal lesion, สงสัย invasion

การรักษาโดยการผ่าตัด

Malignant: total or near total thyroidectomy(or lobectomy+isthmectomy)

Suspicious: lobectomy+isthmectomy

Ref.

http://www.medicthai.com/admin/news_detail.php?id=4453

http://203.151.217.155/download/thyroid/thyroid_nodule.zip

http://www.rcot.org/download/resident_10_03.pdf

http://www.rcot.org/download/resident_09_2.pdf

http://www.thyroidcancer.com/thyroid-cysts.html