Dermatophytosis

โรคกลาก (Dermatophytosis)

Qx. Rx: griseofulvin 500 mg 1t pcm ตัว 1 ด. หัว 2 ด. เล็บ 6-8 ด.

นิยาม

Dermatophytosis เป็นโรคติดเชื้อรากลุ่ม Dermatophyte ซึ่งจะก่อโรคในส่วนของผิวหนังที่สร้างเคอราติน (keratin) เท่านั้น ฉะนั้นจะเกิดโรคได้ที่ผิวหนังชั้นขี้ไคล (stratum corneum) เส้นผมและเล็บ

การวินิจฉัย

1. ลักษณะทางคลินิก

ลักษณะทางคลินิกจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิดโรคและมีชื่อเรียกจำเพาะ เช่น

1.1 โรคกลากที่หนังศีรษะ และเส้นผม เรียก Tinea capitis (โรคกลากที่ศีรษะ)

1.2 โรคกลากที่ผิวหนัง จะเกิดได้ทั่วไป ตั้งแต่หน้า (Tinea faciei) ลำตัว (Tinea corporis) ขาหนีบ (Tinea cruris) มือ (Tinea manuum) เท้า (Tinea pedis)

1.3 โรคกลากที่เล็บ เรียก Tinea unguium ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเล็บมือ และเล็บเท้า

โรคกลากที่ศีรษะ (Tinea capitis)

เป็นโรคติดเชื้อราที่หนังศีรษะ และเส้นผม ลักษณะทางคลินิกที่พบบ่อย ได้แก่

1.Grey-patch ringworm พบมากในเด็ก พบผมร่วงหลาย ๆ หย่อม ขอบเขตชัดเจน ขนาดใหญ่เล็กต่างๆกันมีขุยสีขาวอมเทาที่หนังศีรษะ ไม่มีอาการแสดงของการอักเสบ เมื่อใช้ Wood’s lamp อาจเรืองแสงสีเขียวบริเวณผมที่ติดเชื้อรา

ในบางราย

2. Kerion เป็นการติดเชื้อที่มีการอักเสบ รุนแรง รวดเร็ว มักมีผื่นเดียว ระยะแรกเป็นตุ่มนูนแดง อักเสบ ต่อมามีหนองและขยายออกจนเป็นก้อนเนื้อใหญ่ที่ประกอบด้วย หนอง สะเก็ดหนอง และเส้นผมร่วงที่หัก มีรูเปิดที่มีหนองไหลออกมา

หลายรู ซึ่งรูเหล่านี้จะติดต่อกัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม อาจมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นโตได้

โรคกลากที่ผิวหนัง

เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังทั่วๆไป มีอาการคันมาก ลักษณะผื่นที่พบบ่อยได้แก่

1. เป็นวงขอบนูนแดง (Annular lesion หรือ Ringworm) ผื่นของกลากชนิดนี้มีลักษณะเป็นวงกลม หรือรีหรือวงแหวนมีขุย อาจพบตุ่มน้ำใสที่ขอบ ตรงกลางวงอาจราบลงได้ในขณะที่ขอบขยายออกเรื่อย ๆ บางครั้งเกิดหลายวงซ้อนกันหรือเรียง ต่อกันก็ได้

2. ผื่นนูนแดงมีขุย (Papulosquamous lesion) ลักษณะเป็นผื่นนูนแดงมีขุยหรือสะเก็ดหนาปกคลุม

โรคกลากที่เล็บ (Tinea unguium) (ดูในเรื่องโรคเชื้อราที่เล็บ)

2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2.1 ขูดขุยหรือสะเก็ดจากผื่น และถอนเส้นผมย้อมบริเวณขอบผื่นด้วย 10% โปแตสเซี่ยมไฮดรอกไซด์ จะพบลักษณะ branching, septate hyphae บางครั้งอาจพบ hyphae ที่มีลักษณะเป็นปล้องเรียกว่า arthroconidia ด้วย ที่เส้นผมจะพบเชื้อที่เยื่อหุ้มรอบ ๆ หรือภายในเส้นผมโดยพบ microconidia, arthroconidia และ hyphae

2.2 การเพาะเลี้ยงเชื้อ ทำเฉพาะในรายที่มีปัญหาทางการวินิจฉัยและการรักษา

หากขูดแล้วได้ผลเป็นลบ แต่ lesion เหมือนต้องขูดซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง ถึงพิจารณาว่าเป็นโรคอื่น

การรักษา

1. การรักษามาตรฐาน (Standard treatment)

1.1 ยาทา

- Keratolytic ได้แก่ benzoic acid compound (Whitfield’s ointment)

- Undecylinic acid (Desenex)

- Tolnaftate

- Imidazole ได้แก่ clotrimazole, econazole, ketoconazole, miconazole

- Allylamine

ระยะเวลาที่ให้ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นคือ กลากที่ผิวหนังทั่วไป ให้นาน 2 - 4 สัปดาห์ กลากที่ หนังศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อย่างน้อย 6 - 8 สัปดาห์

1.2. ยารับประทาน ได้แก่ griseofulvin(micronized) 0.5 – 1 กรัมต่อวัน (ดูตามตาราง)

ข้อบ่งชี้ในการใช้คือ

- กลากที่หนังศีรษะ เส้นผม และเล็บ

- กลากที่ผิวหนัง ที่เป็นบริเวณกว้าง ไม่ตอบสนองต่อยาทา เป็นเรื้อรัง หรือกลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ

- รายที่มีโรคตามระบบอื่น ๆ หรือได้ยากดภูมิต้านทาน

2. การรักษาทางเลือก (Alternative treatment)

ยารับประทาน ใช้ในรายที่แพ้ยา griseofulvin, มีข้อห้ามในการใช้ยา griseofulvin, ไม่ตอบสนองหรือไม่สะดวกในการให้ยาในการรักษามาตรฐาน ยาที่ใช้ ได้แก่

- Ketoconazole

- Itraconazole

- Terbinafine

3. การรักษาประคับประคอง (Supportive treatment)

3.1 ใส่เสื้อผ้าและรองเท้าโปร่งที่อากาศถ่ายเทได้

3.2 ใช้ยาลดเหงื่อ เช่น 6.25 - 20% aluminium chloride ถ้าเป็นในบริเวณที่อับและเหงื่อออกมาก เช่น รักแร้ ฝ่าเท้า

3.3 ใช้ undecylinic acid หรือ tolnaftate powder โรยเท้า

3.4 ไม่ควรใช้สิ่งเหล่านี้ร่วมกับผู้อื่น เช่น หวี เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ รองเท้า

3.5 ใน T. capitis ใช้ selenium sulfide หรือ ketoconazole shampoo สระผมร่วมด้วยเพื่อลดจำนวน spore

Dose Pediatric For tinea capitis

การรักษา ไม่แนะนำให้ทายาอย่างเดียว

Griseofulvin

Sig. 10-25 mg/kg/day กินพร้อมอาหารมัน

อายุมากกว่า 1 เดือน 10 mg/kg/day

Terbenafine

Sig. <20 kg = 62.5 mg od

20 -40 kg = 125 mg od

>40 kg = 250 mg od

Itraconazole

Sig 5 mg/kg per day

8-10 week

4week

1-4week