Pediatric common drug

ยาที่ใช้บ่อยในเด็ก

http://library.ra.mahidol.ac.th/lecture/Drugs~1.htm

การที่จะทราบว่าใช้ยาอะไร ขึ้นอยู่กับอาการ, อาการแสดงและโรคของผู้ป่วยเฉพาะราย

จากสถิติโรคที่พบบ่อยที่หน่วยผู้ป่วยนอก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

10 common diseases in OPD. Pediatrics

พบว่าส่วนใหญ่จะเป็น acute respiratory tract infection (ARI) รองลงมาคือ gastroenteritis และ skin infection ส่วนปัญหาที่แอบแฝงเข้ามาคือ ไข้ จึงจะกล่าวเฉพาะยาที่ใช้บ่อย ๆ ในโรคเหล่านี้คือ

1. ยาลดไข้

2. ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อย

3. ยาระบบหายใจ

4. ยาระบบทางเดินอาหาร

5. ยากันชัก

ในที่นี้จะใช้ตัวย่อ D = Day และ d = dose

1. ANTIPYRETICS-ANALGESIC

1.1 Acetyl salicylic acid และ ASAID ออกฤทธิ์ส่วนปลายโดยต้าน prostaglandin และที่ส่วนกลาง

theromoregulatory centre จึงออกฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวด และ anti-inflammatory ด้วย

Dose antipyretic 10 mg/Kg/dose prn. ทุก 4-6 ชั่วโมง

anti-inflammation 80-120 mg/Kg/day แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง

Preparation - tab: gr V (300 mg),1 1/2 (baby aspirin 75 mg), ราคา 0.2 บาท

- rectal suppository gr II (ราคา 7 บาท)

Side effect anti-prostaglandin ในทุกระบบ แต่ที่สำคัญคือ platelet aggregation

เสีย ทำให้มี dysfunction และ local GI. irritation

แนะนำ - ห้ามใช้ในกรณีสงสัย - Bleeding tendency เช่น ไข้เลือดออก, เกร็ด

เลือดต่ำ, peptic ulcer

- chicken pox และ flu. เพราะมีรายงานว่า associate กับ Reye's syndrome

- อาจจะเคี้ยวให้ละเอียด รับประทานหลังอาหารทันที ดื่มน้ำตามมาก ๆ

1.2 Aceteminophen ออกฤทธิ์ที่ hypothalamus มีฤทธิ์ mild anti-inflammatory ถูก metabolite ที่ตับ และขับออกทางไต ดังนั้นจะต้องปรับขนาดในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับหรือไต

Dose 10 mg/Kg/dose ทุก 4-6 ชั่วโมง

Preparation - syrup 120 mg/ช้อนชา เช่น Acetasil 2 oz 8.00 บาท

- drop 60 mg/0.6 ml เช่น Kit Syr. - 10 ml - 11 บาท

- tablet 325, 500 mg (องค์การเภสัชกรรม - 0.2 บาท)

เป็นยาที่ค่อนข้างจะปลอดภัยแต่ถ้ากินเกินขนาด (โดยเฉพาะชนิดหยด) อาจจะทำให้มี hepatic

centrolobular necrosis และที่ไตเกิด papillary necrosis

1.3 Aminopyrone group ได้ผลชะงัก แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงมาก เช่น ทำให้เกิดagranulocytosis จึง

ไม่ควรใช้ในการลดไข้แก้ปวด

2. ANTIHISTAMINE

จากการศึกษาหลายแหล่งพบว่ายากลุ่ม H1-antagonist ไม่ได้ช่วยทำให้หวัดหายเร็วขึ้น แต่ยังมีการ

ใช้ทางคลินิก เนื่องจากยากลุ่มนี้ช่วยลด secretion ทำให้รู้สึกสบายขึ้น ดังนั้นหากจะใช้ต้องระมัดระวัง

เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงมาก

2.1 Chlorpheniramine

Dose 0.35 mg/Kg/day หรือ 1 mg/3 Kg/day แบ่งให้ 3-4 ครั้ง/วัน

Preparation Chlorpheniramine syr. 1 ชช. มี 2 mg. (6 บาท/2 ออนซ์.)

tab 4 mg (องค์การฯ 0.2 บาท, Piriton 0.5 บาท)

2.2 Brompheniramine Dose 0.5 mg/Kg/day แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง ไม่ง่วงมาก

Preparation ใน 1 ชช. มี (mg) Dimetane exp. Dimetapp elx. Bromesep elx.

- Brompheniramine 2 4 4

- Phenyl ephrine 5 5 5

- Phenyl propanolamine Hcl 5 5 5

- Glyceryl guaiacolate 100 - -

- ราคา 2 oz 22 บาท 24 บาท 12 บาท

2.3 Diphenhydramine

Dose 5 mg/Kg/day แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หรือ 1-1.5 mg/kg/dose

Preparation Benadryl exp. 1 ชช. มี - Diphenhydramine 12.5 mg

(16 บาท/2 oz) - NH4 Cl 125 mg

- Sod. citrate 50 mg

- Chloroform 20 mg

- Menthol 1 mg

มีฤทธิ์ antiparkinsonism ซึ่งใช้แก้ oculogyric crisis จาก plasil intoxication โดยให้ 1-2 mg IV stat แล้วกินต่อใน dose ปกติ

2.4 Hydroxyzine dose 1-2 mg/kg/D bid แก้คันได้ดีมาก

preparation Atarax syr. (10 mg/tsp ไม่มียา ใน รพ.)

tab 10 mg (1.3 บ.) 25 mg (1.7 บ.)

Side effect of antihistamine

1. CNS. - ง่วง ตื่นเต้น (agitation) hallucination ชัก

2. dry mucous membrane and secretion block

3. ปัสสาวะไม่ออก

4. หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่ม

3. DECONGESTANT

ทำให้ mucous membrane แห้งและลด postnasal drip ส่วนผลที่ทำให้ eustachian tube function

ดีขึ้นใน otitis media ยังเป็นที่เถียงกันอยู่ ฤทธิ์ข้างเคียงกระตุ้นหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตต่ำ

Pseudoephedrine (PE) หรือ ephedrine

Dose 3-5 mg/Kg/D แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง

Preparation Maxiphed Actifed Prophedine

5 ml tab 5 ml tab 5 ml tab

pseudoephedrine (mg) 32 60 30 60 30 60

triprolidine (mg) - - 1.5 3 1.5 3

ราคา (บาท) 32/2 oz 0.7 34/2 oz 2.3 17/2 oz 0.6

4. BRONCHODILATOR

4.1 Sympathomimetics กระตุ้นเอนซัยม์ adenyl cyclase ทำให้ cAMP เพิ่มขึ้น

ชนิดฉีด - Adrenaline (1:1,000) 0.01 ml/Kg/dose S.C. max 0.3-0.5 ml ออกฤทธิ์เร็ว

ซ้ำได้ทุก 15 นาที ไม่เกิน 3 ครั้ง ก่อนให้ควรนับชีพจรไม่ควรเกิน 140-160 ครั้งนาที

- Terbutaline (Bricanyl) 0.5 mg/ml ให้ 0.01 ml/Kg/dose S.C. ออก

ฤทธิ์ในครึ่งชั่วโมง, นาน 6 ชั่วโมง มีข้อดีคือ ทำให้ลดอาการข้างเคียง ต่อหัวใจ

และฤทธิ์อยู่นาน ข้อเสียคือ ราคาแพง

ชนิดกิน - 0.075 mg/Kg/dose o q 6 hr

- Terbutaline - Syr. 1 ชช. มี Terbutaline 1.5 mg

. Bricanyl syr. 29 บาท/2 ออนซ์

. Terbu syr. 15 บาท/2 ออนซ์

- Exp. เหมือน Syr. แต่เพิ่ม guaiacolate 65 mg.

- tab 2.5 mg : Bricanyl (1.20 บาท)

- Salbutamol - Syr. 1 ชช. มี Salbutamol 2 mg

. Ventolin syr. 33 บาท/2 ออนซ์

. Asmasal syr. 21 บาท/2 ออนซ์

- Exp. 1 ชช. มี 1 mg และ guaiacolate 50 mg (33 บ./2 oz)

ชนิดพ่น - Adrenaline (1:1000) 0.05 ml/Kg (max. 0.5 ml) ผสมกับ normal saline ให้เป็น 3 ml

ใส่ใน medication nebulizer ให้ผู้ป่วยสูดเข้าโดย หายใจผ่านทาง face mask ใช้ O2

humidity flow 6 ลิตร/นาที จะช่วยลดอาการบวมทางหายใจส่วนบน ในโรค

epiglottitis และ croup ไม่ใช้ในโรคหืด

- Salbutamol 0.5% (5 mg/ml) (ventolin respiratory solution ขนาด 10 ml)

dose 0.01 ml/Kg/dose ผสม NSS เป็น 3 ml, ให้วิธีเดียวกัน สามารถซ้ำได้ทุก 30 นาที

เมื่อได้ผลแล้วให้ห่างเป็นทุก 4 ชม.

4.2 Xanthine group inhibit phosphodiesterase enzyme ซึ่งเปลี่ยน cAMP ให้เป็น inactive form 5’ AMP

Dose : 5 mg/Kg/dose q 6 hr.

ชนิดฉีด Aminophylline 250 mg/10 ml (4 บาท)

initial 5 mg/Kg/dose ผสมกับ 50% glucose เป็น 10 ml

ฉีดเข้าเส้นช้า ๆ ใน 10 นาที (ฉีดเร็วอาจชัก, arrythmia) หลังจากนั้น\ ผสมในน้ำเกลือ

drip intravenous 0.7-1 mg/Kg/h.

ชนิดกิน - Aminophylline tab. 100 mg/0.2 บาท

- Franol tab :- Theophylline 118 mg + PE 11 mg + phenobarbitone

8.3 mg (1 บาท/tab)

- Tedral tab.:- Theophylline 130 mg + PE 24 mg + phenobarbitone

8 mg (0.9 บาท/tab)

- Quibron : - Exp. (16 บาท/2 oz)

1 ชช. มี - Aminophylline 50 mg

- Glyceryl guaiacolate 50 mg

- tab. มี Aminophylline 150 mg (2 บาท/tab)

- Brondecon:- Exp. 1 ชช. มี Oxtriphylline 100 mg

Glyceryl guaiacolate 50 mg

Sustained reaction 8 mg/kg/dose o q 12 h.

preparation : - Theodur tab; 200 mg (3 บาท), 300 mg (3.4 บาท)

- Quibron TSR; 300 mg (4.2 บาท)

Side effect : คลื่นไส้, อาเจียน, arrhthymia, convulsion.

5. COUGH SUPPRESSANT

ออกฤทธิ์โดยตรงที่ cough centre จึงใช้ในรายที่เป็น irritative non-productive cough หรือไอจน

function เสียไป เช่น นอนไม่ได้ อาเจียน ปวดท้อง ฯลฯ ไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 2 ปี เพราะอาจจะกด

การหายใจ

5.1 Narcotic ได้แก่ codeine

Dose 1-1.5 mg/Kg/D (in 4-5 divided dose)

preparation - ใน 5 ml. :- promethazine Hcl 3.6 mg

codeine PO4 9 mg

ephedrine 7.2 mg

Phensedyl 9 mg/tsp (28 บาท/2 oz)

Codipront 11 mg/tsp (50 บาท/2 oz)

30 mg/cap (7.9 บาท)

5.2 Non-narcotic ได้แก่ dextromethorphan Hbr.

Dose : 1 mg/Kg/D (in 3-4 divided dose)

Preparation: Romilar exp. 5 ml.:- dextromethorphan 15 mg

(40 บาท/100 ml) NH4 Cl 90 mg

panthenol 50 mg

6. ยาขับเสมหะ

น้ำขับเสมหะได้ดีที่สุด ตัวอื่น ๆ ได้แก่

ก. Ammonium carbonate (4 บาท/2 ออนซ์)

ยา ร.พ. - Ammon carb et schillae

- Ammon carb et senegae (1/2 strength ผสมน้ำเชื่อมเท่าตัว)

ข. Glyceryl guaiacolate (GG) weak มีผสมในยาแก้ไอทั่ว ๆ ไป ที่เป็นตัวเดี่ยว ๆ

มี Robitussin (51 บาท/4 ออนซ์, 32 บาท/2 ออนซ์)

ค. Mucolytic เช่น

- Bromhexine เช่น - Bisolvon 53 บาท/50 ml, 3 บาท/เม็ด Disol 0.5 บาท/เม็ด

- Tauglicolo 1 ชช. มี bromhexine 2 mg + GG. 200 mg

(23 บาท/2 ออนซ์, 39 บาท/4 ออนซ์, 0.7 บาท/tab)

- Fluimucil เป็น acetyl cysteine ไป break HS-group ซึ่ง form เป็น bridge ทำให้เสมหะ

เหนียวน้อยลง ราคาซองละ 6 บาท นอกจากนี้ยังมีที่ใช้ในราย paracetamol overdose จะป้องกัน hepatic damage ได้ ถ้าให้ภายใน 10 ชั่วโมง

ง. Ambroxol HCl เช่น Mucosolvan (56 บาท/2 ออนซ์, 2.9 บาท/เม็ด)

ข้อควรระวัง ยาแก้หวัด แก้ไอ สำเร็จรูปมักจะเป็น combination ของยาหลายอย่างเช่น antihistamine, decongestant และ expectorant จึงควรที่จะต้องรู้ส่วนประกอบของยาสำเร็จรูปที่สั่งไป มิฉะนั้นจะเกิดการ

ซ้ำซ้อน และขนาดยาเกิน เช่น ให้ Dimetane, Actifed และ Robitussin PE. พร้อมกัน

7. ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อย ๆ

7.1 ระบบหายใจ

I. Penicillin group

Dose : - Strep. 0.5-1 แสน u/Kg/D. (B. hemolytic ให้ 10 วัน)

- GBS 1 แสน u/Kg/D.

- anaerobe 2 แสน u/Kg/D.

Oral form : dry syrup 1 ชช. - 200,000 u (11 บาท/2 oz, 24 บาท/4 oz)

tablet 2 แสน, และ 4 แสน u (0.5, 0.9 บาท)

parenteral form :

- procaine penicillin ออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมง

- benethamine penicillin ออกฤทธิ์นาน 72 ชั่วโมง

- benzathine penicillin ออกฤทธิ์นาน 28 วัน

II. Ampicillin dose 50-100 mg/kg/d

Oral form - dry syr. 125 mg/tsp (17 บาท/2 oz)

250 mg/tsp (31 บาท/2 oz)

- cap. 250 mg/1.7 บาท

500 mg/2.6 บาท

III. Amoxicillin dose 30-50 mg/Kg/D.

ข้อดี 1. ดูดซึมได้ดี แม้จะมีอาหาร จึงให้หลังอาหารได้และไม่มีอาการถ่าย

เหลวเหมือน ampicillin เนื่องจากดูดซึมได้ดีจึงไม่ได้ผลต่อ shigella

& salmonella diarrhea

2. Long duration q 8 h.

3. Penetrate เข้า middle ear fluid ได้ดี จึงเป็นยาที่นิยมให้ใน acute otitis media

IV. Erythromycin - ใช้ในรายที่แพ้ penicillin

- ออกมาใน secretion เช่น saliva ได้มาก

- cover mycoplasma, chlamydia.

- potentiate aminophylline action และ toxicity

Dose : 20-40 mg/Kg/D.

Preparation 125 mg/tsp/2 oz 250 mg/tab or cap

- estolate Erysil - p; 2.7 บ./tab

Suthrocin 25 บ. -

Ilosone 60 บ. 5.6 บ./Cap

- stearate Erythrocin - p; 6.3 บ./tab

V. Co-trimoxazole ประกอบด้วย sulfamethoxazole (SMX) และ trimethoprim

(TM) cover H.flu ที่ดื้อต่อ ampicillin, shigella, salmonella

Dose: 6-8 mg of TM./Kg/D - bid

Preparation (SMX/TM) Syr.(200/40) 400/80 800/160

องค์การฯ 11 บ./2 oz 1 -

Septrin 38 บ./2 oz - p; -

Bactrim 30 บ./50 ml 2.5 4.3

50 บ./90 ml

VI. Cephalosporins cover gram positive (strep, staph, H.flu.) gram negative

บางตัว เช่น E.coli, Proteus, Klebsiella. และ anaerobe ส่วนใหญ่ยกเว้น B.fragilis

Preparation

. Cephalexein (20-50 mg/Kg/D) เช่น

- Ibilex 125 mg/tsp. (53 บาท/2 oz)

Cap 250 mg (5 บ.) 500 mg (9.7 บ.)

- Keflex 125 mg/tsp. 250 mg/pulvule, 500 mg/tab

500 mg/tab - 21.50 บาท

. Cefaclor 20-40 mg/Kg/D แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง เช่น Ceclor.

. Distaclor (125 mg/tsp) ราคา 189 บาท/2 oz, 19.30 บาท 250 mg/cap

VII. Lincomycin ในกรณีที่แพ้ penicillin และต้องการให้ parenteral

Dose 10-40 mg/Kg/D. ให้วันละ 1-2 ครั้ง

Preparation Lincocin 300 mg/ml (139 บาท/10 ml-vial.)

ให้ IM หรือ IV infusion ใน 4-6 ชม.

7.2 ระบบทางเดินอาหาร

ก. อายุต่ำกว่า 3 เดือน เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย คือ EPEC

- Colymycin (1-2 แสน u/Kg/D. in 4 divided doses)

colistin instant syr. (1 m. u/2 กรัม/25 บาท)

- Neomycin (50-100 mg/Kg/D. in 4 divided doses) 350 mg/tab = 4.50 บาท

ข. อายุมากกว่า 3 เดือน เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยคือ shigella, salmonella

- Cotrimoxazole ดู ARI

- Ampicillin ดู ARI

- Furazolidone (5-8 mg/Kg/D)

เช่น Furaton 5 ml มี Furazolidone 50 mg + kaolin 3,00 mg + pectin 225 mg (18 บาท/2 oz)

- Nalidixic acid (55 mg/Kg/D.) 500 mg/tab - 4.50 บาท

เป็นเม็ดกินยาก ไม่มีปัญหาเรื่องดื้อยา แต่อาจทำให้เกิด acidosis และ

pseudotumor cerebri ถ้าให้เป็นเวลานาน ปัจจุบันได้ตัดออกจากบัญชียา

หลักแห่งชาติ

- Norfloxacin 15-20 mg/Kg/Day ไม่ใช่ first line drug ในการรักษา

infectious diarrhea พิจารณาให้เฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น

. Lexinor 100 mg (8.6 บ.), 200 mg (14.2 บ.)

. Janacin 100 mg (3 บ.), 400 mg (10.5 บ.)

. Norxacin 100 mg (3 บ.)

7.3 Antistaph.

Preparation-Dose 125 mg/tsp/2 oz 250 mg/cap 500 mg/cap

- Cloxacillin Orbenine 42 บ. 2.70 บ. 4.50 บ.

(50-100 mg/Kg/D) Cloxalin 29 บ. 2 บ. 4.1 บ.

- Dicloxacillin Diclocil 2.5 บ./cap 4.4 บ. 8.3 บ.

(12.5-50mg/Kg/D) Dicleq - p; 3.80 บ. -

8. GI. DRUGS

8.1 Antidiarrheal drug

ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะเคยมีรายงานว่ากดการหายใจ และใน infectious diarrhea ทั่ว ๆ ไป เพราะทำให้การทำงานของลำไส้ลดลง เชื้ออยู่ในร่างกายนานขึ้น

1. Diphenoxylate มี morphine like action จึงผสม atropine

Lomotil (2.5 mg/tab + atropine) 1.8 บาท/tab

dose 2-5 yr. 1.25 mg qid

    • 5 yr. 2.5 mg qid

2. Loperamide 1 mg/10 kg/dose

Imodium 2 mg/cap - 4 บาท

8.2 Antispasmodic

Hyoscine 0.01 mg/Kg/dose

Elx. Donnatal elixir 15 บาท/2 oz 1.1 บาท/cap

5 ml ประกอบด้วย : Phenobarbital 16.2 mg

Hyoscyomine SO4 0.1037 mg

Atropine SO4 0.0194 mg

Hyosine Hbr 0.0065 mg

8.3 Antiemetic

เป็นยารักษาอาการ ควรหาสาเหตุทุกครั้ง หากจะสั่งควรให้เป็นยา prn. q 6 h. ac ไม่ควรให้ยา

ไปเป็นจำนวนมาก หากไม่ดีขึ้นควรแนะนำให้กลับมาตรวจใหม่

- Metoclopramide (0.5-1 mg/5 kg/day in 4 divided dose)

ชนิดฉีด ( 10 mg/2 ml) 0.1 mg/kg/dose

ชนิดกิน (5 mg = 5 ml) 0.5 mg/kg/dose ให้ได้ q 6-8 h. ได้แก่ Plasil อาจทำให้เกิด

oculogyric crisis แก้ด้วย Benadryl inj 1-2 mg/Kg/dose

- Domperidone (1 mg/5 Kg/dose q 6-8 h.) ได้แก่ Motilium

Preparation-price

inj 10 mg/2 ml.

Syr. 5 mg/tsp.

Tab. 10 mg

Plasil

7 บ.

20 บ./oz

0.8 บ.

Motilium

30 บ./oz

2.9 บ.

- Dimenhydrinate (Dramamine) ใช้ได้ผลดีในรายที่คลื่นไส้อาเจียนจาก motion sickness

กิน 1 tab = 50 mg Dose 5 mg/kg/d แบ่ง 2-3 doses

ฉีด 1.25 mg/kg/dose

9. ANTICONVULSANT

1. Diazepam 0.2-0.5 mg/Kg/d. IV titrate dose ในกรณี acute convulsion

preparation : valium inj : 10 mg/2ml/10 บ.

tab : 2, 5, 10 mg (0.2, 0.2 และ 0.4 บาท)

rectal suspository 5 mg (35 บาท)

2. Gardinal sodium 5 mg/Kg/d. m q 8 hr ใช้ควบคุมการชัก

preparation : 300 mg/1 ml/23 บ.

3. Phenobarbital Loading 5-10 mg/Kg/D. q 8 h. 1-2 day

Maintenance 5-7 mg/Kg/D. bid

preparation - elixir 20 mg/tsp - (6 บ./oz)

- tablet gr 1/4, gr 1/2, gr 1-(0.2 บาท/tab)

Reference

1. ฉวีวัณณ์ จุณณานนท์ และกรุณา รัตนบรรณางกูร : การใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก 2530

2. ฉวีวัณณ์ จุณณานนท์ และคณะ ทัศนคติของประชาชนต่อวงการแพทย์

3. สถิติหน่วยผู้ป่วยนอก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

4. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ และ สุวิมล ณ บางช้าง : Price list. Common drugs used in

Ambulatory Pediatrics. Ambulatory unit, Pediatrics, Ramathibodi Hospital. Janurary 1, 1992.

5. Ambulatory Pediatrics VI. In: Green M, Haggerty RJ, eds Philadelphia: WB. Saunder

Co,1990.

6. Goodman and Gilman's The Pharmacolgical Basis of Therapeutics 7th ed. New York :

MacMillian Publishing Co.; 1985.

7. Nelson Textbook of Pediatrics : (Vaughan V.C. et al) 11th edition, Philadelphia : WB

Saunder