Benzodiazepine or Antianxiety

Benzodiazepine การใช้ยา

ข้อบ่งชี้

1. โรค/ภาวะทางจิตเวช ที่มีความวิตกกังลงร่วม

Anxiety disorders, adjustment disorder, depressive disorder etc.

2. Alcohol withdrawal syndrome/delirium

3. Insomnia ควรใช้เป็นครั้งคราว

4. รักษาอาการชัก/ยาคลายกล้ามเนื้อ

การแบ่งชนิด

1.ค่าครึ่งชีวิตยาว > 20hr หลังผ่านขบวนการ metabolite แล้วจะเกิด active metabolite จึงมีฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้ยาว

ช้อดี ไม่ต้องกินบ่อย, ระดับยาในพลาสม่าไม่ค่อยแปรปรวน, เกิด withdrawal ได้น้อยกว่า

ข้อด้อย เกิดยาสะสม, เสี่ยงเกิด psychomotor impairment ช่วงกลางวันได้ง่ายกว่า และง่วงกลางวันได้

2.ค่าครึ่งชีวิตสั้น < 20hr หลังผ่านขบวนการ metabolite แล้วจะไม่เกิด active metabolite

ข้อดี ไม่สะสม ไม่ง่วงกลางวัน

ข้อด้อย กินยาบ่อย, เกิด withdrawal syndrome ได้ง่าย, เกิด rebound insomnia และ anterograde amnesia ได้บ่อยกว่า

ยาแบ่งตาม half life, potency เปรียบเทียบ dose equivalent และ ขนาดยาที่ใช้

แนวทางสั่งยา

1.ดูประโยชน์ที่ได้รับ กับ ความเสี่ยงในการติดยา

2.มีข้อบ่งชี้ทางคลินิกที่ชัดเจน ซึ่งควรให้โดยไม่ลังเล โดยใช้ให้ถูกโรค ถูกชนิด

ไม่ควรให้ยาBZD 2 ชนิด ในคนเดียวกัน และถูกเวลาด้วย ตัวอย่าง

Major depression + anxiety : ให้ยาแก้ซึมเศร้า + BZD หรือ ยาแก้ซึมเศร้าที่มีฤทธิ์คลายกังวลแทนBZD

Nocturnal myoclonus : clonazepam หรือ temazepam

Panic disorder : alprazolam 0.25 tid pc ไม่ใช่ 0.25 แค่ก่อนนอน แล้วค่อยๆปรับ dose

(Panic ควรให้ครบ course 8-12 เดือน แล้วค่อยๆลด dose ลง)

3.ควรให้ถูกทาง เช่น

Diazepam im ใช้เวลา 10-12 hr จึงจะได้ระดับยาสูงสุด

Diazepam oral ใช้เวลาเพียง 2 hr ก็ได้ระดับยาสูงสุด และระดับยาสูงกว่าให้ im.

ถ้าฉีด im ควรให้ clonazepam หรือ lorazepam แทน

4.เลือกใช้กลุ่มครึ่งชีวิตยาวหรือสั้นตามข้อเด่น ข้อด้อย

5.ยาออกฤทธิ์เร็วเลือกยาที่ระลายในไขมันได้สูง : diazepam, midazolam

6.ยาออกฤทธิ์ช้าเลือกยาที่ระลายในไขมันได้ต่ำ : clobazem

7.ระวังกรณีผู้ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือโรคตับ ติดสารเสพติด

8.การหยุดยากลุ่มนี้หากกินมานาน อาการดีขึ้น ควรค่อยๆลดยาลง 10% ของที่กินทุก 3-7 วัน

ข้อควรระวัง

-เลี่ยงในผู้ป่วย myastinia gravis, ใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

-มีปัญหาทางเดินหายใจ นอนกรน ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

-สตรีตั้งครรภ์ ให้นมบุตร สูงอายุ

-โรคตับ ไต ควรใช้ยาครึ่งชีวิตสั้น

-ไม่ใช้ยาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาที่กดประสาทส่วนกลาง

ผลข้างเคียง

1.ง่วงซึม เป็นบางคน

2.แขนขาอ่อนแรง เดินเปลี้ยได้ หมดแรง เพราะยามีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อด้วย

3.ดื้อยาต้องใช้ขนาดสูงขึ้น และ ต้องพึ่งยา ขาดไม่ได้

4.เกิดอาการตรงข้ามฤทธิ์ยา เช่น ตื่นเต้น กังวล นอนไม่หลับ ก้าวร้าว รุนแรง อาละวาดทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

ควรระวังในการใช้ยาในผู้ป่วย organic mental disorder, organic brain syndrome, personality disorder etc.

[BZD overdose การรักษา]