Lincomycin dexamet

Would like to share from Dr Pisonthi's LINE for RDU group ka:

เรียนปรึกษาอาจารย์ครับ! (3 มีนาคม 2017)

การฉีด Linco+dexa ในไข้เจ็บคอ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ผมเห็นบางรพ.แม้กระทั่งรพ.ผมยังมีแพทย์ใช้อยู่ครับ

และถ้าไม่เหมาะผมขออนุญาตขอเหล่งข้อมูลเพื่อจะไปยืนยันกับหมอหน่อยครับ..ขอบพระคุณครับ

ตอบ

1. การฉีดยาไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการรักษาโรคเจ็บคอ เพราะการให้ยากินสามารถบรรเทาอาการและรักษาโรคได้อย่างพอเพียงแล้ว ยกเว้นเจ็บคอมากจนกลืนยาไม่ได้

1.1. Lincomycin เป็นยาปฏิชีวนะ ชนิดฉีด ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะมียากินให้เลือกใช้

1.2. Dexamethasone เป็น corticosteroid ชนิดฉีด ถ้าจำเป็นต้องใช้ steroid มียากินให้เลือกใช้

2. Lincomycin เป็นยาปฏิชีวนะ จึงไม่ควรใช้ เพราะ เจ็บคอส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การใช้เป็น routine จึงเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล และขาดความตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยา

2.1. To reduce the development of drug-resistant bacteria and maintain the effectiveness of LINCOCIN and other antibacterial drugs, LINCOCIN should be used only to treat or prevent infections that are proven or strongly suspected to be caused by susceptible bacteria. การใช้ยานี้อย่างรับผิดชอบ เพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา ควรมีหลักฐานบ่งถึงการติดเชื้อแบคทีเรียที่คอ (Centor Criteria)

http://www.rxlist.com/lincocin-drug/indications-dosage.htm

3. Lincomycin เป็นยาฉีด ถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ มียากินให้เลือกใช้

3.1. กรณีเจ็บคอจากแบคทีเรีย guideline แนะนำให้กิน clindamycin (300 mg) 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นาน 10 วัน โดยใช้เฉพาะกรณีผู้ป่วยแพ้ penicillin (IDSA guideline 2012 และ US Pharmacist ดูภาพท้ายบท)

https://www.idsociety.org/uploadedFiles/IDSA/Guidelines-Patient_Care/PDF_Library/2012%20Strep%20Guideline.pdf

https://www.uspharmacist.com/article/management-of-streptococcal-pharyngitis

4. Lincomycin เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม lincosamide ซึ่งมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงมากกว่ายาอื่น โดยเฉพาะ Clostridium difficile associated diarrhea (CDAD) และ hepatotoxicity การใช้เป็น routine จึงเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุผล และขาดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

4.1. LINCOCIN Sterile Solution is indicated in the treatment of serious infections เจ็บคอ ไม่ใช่ serious infection

4.2. Its use should be reserved for penicillin-allergic patients คนไข้ที่ถูกฉีดยานี้ มักไม่ได้แพ้ penicillin

4.3. Because of the risk of antibacterial associated pseudomembranous colitis, as described in the WARNING box, before selecting lincomycin the physician should consider the nature of the infection and the suitability of less toxic alternatives. ใช้ยาอย่างสมเหตุผลควรเลือกใช้ยาที่มีอันตรายต่ำ ในกรณีนี้คือ penicillin (Pen V, amoxicillin) หรือ roxithromycin (กรณีแพ้ยา)

http://www.rxlist.com/lincocin-drug/indications-dosage.htm

4.4. Lincomycin is not indicated in the treatment of minor bacterial infections or viral infections. เนื่องจากอันตรายของยา ไม่ควรใช้ยานี้กับโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงเช่นเจ็บคอ และไม่ควรใช้กับโรคติดเชื้อไวรัส

5. การฉีด Lincomycin ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะอื่น เป็นการรักษาแบบ combination therapy ซึ่งไม่จำเป็นในกรณีของ GAS pharyngitis/tonsillitis เนื่องจากรักษาได้ผลดีด้วยยาปฏิชีวนะเพียง 1 ขนาน (ดูภาพท้ายบท)

6. หากฉีดกับเด็ก จะทำให้เด็กเจ็บโดยไม่สมควร ทำให้เด็กกลัวหมอ ร้องไห้ตั้งแต่เข้าคลินิก ตรวจกันลำบากในครั้งต่อ ๆ ไป

7. กรณี dexamethasone

7.1. No current recommendation exists for the use of steroids in acute pharyngitis. ไม่มี guideline ใด แนะนำให้ใช้

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3264011/

7.2. IDSA guideline (2012) ไม่แนะนำให้ใช้ steroid ใน sore throat

Adjunctive therapy with a corticosteroid is not recommended

(weak, moderate).

7.3. Cochrane review (2012) สรุปว่าการให้ steroid ทั้งด้วยการกินหรือฉีดเข้ากล้าม ในผู้ป่วยที่เป็น exudative tonsillitis หรือมีหลักฐานการติดเชื้อ Group A Streptococcus ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ดีขึ้นเมื่อให้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

http://www.cochrane.org/CD008268/ARI_corticosteroids-as-standalone-or-add-on-treatment-for-sore-throat

ดังนั้นถ้าจะใช้

7.3.1. ควรใช้กับกรณีที่มีหลักฐานการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Centor criteria ครบ 3-4 ข้อ หรือ rapid test positive หรือ throat swab c/s positive สำหรับ Group A Streptococcus โดยใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ

7.3.2. ควรใช้กับผู้ที่มีอาการรุนแรง ที่คาดว่าการใช้ paracetamol ร่วมกับ ibuprofen ไม่เพียงพอ (การวิจัยไม่ได้เปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับ paracetamol และ/หรือ ibuprofen) และ IDSA guideline แนะนำให้ใช้

If warranted, use of an analgesic/antipyretic agent such as acetaminophen or an NSAID for treatment of moderate to severe symptoms or control of high fever associated with GAS pharyngitis should be considered as an adjunct to an appropriate antibiotic (strong, high).

7.3.3. ควรใช้ยากิน เช่น prednisolone แทนการฉีด dexamethasone เนื่องจากสะดวกกว่า ไม่เจ็บ และได้ผลใกล้เคียงกัน

7.3.4. การใช้ steroid ควรตรวจสอบว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับอันตรายจากยา เช่น น้ำตาลสูงขึ้นในเลือด และแผลทางเดินอาหาร เป็นต้น

7.3.5. ไม่ควรใช้เป็น routine

7.3.6. ไม่ควรส่งเสริมให้ประชาชนหลงเชื่อว่าไม่สบายต้องฉีดยา