Cefdinir

Cefdinir

Qx dose: เด็ก 10 kg 5ml od

Omnicef® susp,Samnir® 125mg/5ml

Omnicef cap 100mg 2*2pc

Ex: 8 kg 2ml bidpc

Dose:

เด็ก 6-12 ปี = 14 mg/kg/day od หรือ แบ่ง bid max 600mg

ผู้ใหญ่ = 300 mg bid pc หรือ 600mg od

cefdinir เป็นยาในกลุ่ม 3rd generation cephalosporin

การออกฤทธิ์

เป็นแบบ Bactericidal โดยยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย มีผลต่อ Aerobic Gram-Positive Bacteria และ Aerobic Gram-Negative Bacteria (ยกเว้น Pseudomonas และ Enterobacter species)

มีค่า time to peak concentration ที่ 2-4 hr,Bioavailability

Protein binding: 60-70%,

Renal excretion: 11.6% (+/-4.6) to 18.4% (+/-6.4) unchanged ไม่ผ่านการ metabolized โดยตับ จึงไม่ต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ นอกจากนี้อาหารยังไม่มีผลต่อยา

Indication

รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อที่กระดูก หู ไซนัสอักเสบ คอหอยอักเสบ ทอลซิลอักเสบ และโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

ข้อบ่งใช้ในผู้ใหญ่สำหรับ

-Community-Acquired Pneumonia

-Acute Exacerbations of Chronic Bronchitis

-Acute Maxillary Sinusitis

-Pharyngitis/Tonsillitis

-Uncomplicated Skin and Skin Structure Infections

ข้อบ่งใช้ในเด็กสำหรับ

-Acute Bacterial Otitis Media

-Pharyngitis/Tonsillitis

-Uncomplicated Skin and Skin Structure Infections

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาลดกรด(Aluminum or magnesium)หรือยาที่มีธาตุเหล็ก จะลดการดูดซึมของยา cefdinir

side effect

ที่พบได้บ่อยคือ Diarrhea (>15%), Yeast infection (>4% of women), Nausea (>3%), Headache (>2%), rash (>3%), Vomiting (>1%), Stomach pain (>1%) [2]

ข้อควรระวังอย่างมาก

1.ยาอาจทำให้อุจจาระมีสีแดง มีอยู่ 2 ส่วน

1.1 สีแดงจาก การที่ cefdinur จับกับเหล็กที่มีอยู่ในส่วนประกอบของอาหารหรือยาอื่นๆของเด็ก ทำให้เกิดสารประกอบที่มีสีแดงออกมา เมื่อหยุดยาสีจะกลับมาปกติ

1.2 มี case report ว่า cefdinir ทำให้เกิด red stool(Bloody Stools)ซึ่งน่าจะเกิดจากภาวะ hemorrhagic colitis โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

2.cefdinir เป็นยาที่ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนอีกด้วย

รายงานของ Kato และคณะ

พบเด็ก 9 คนเกิด hemorrhagic colitis จากการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งไม่พบการติดเชื้อ Clostridium difficile ร่วมด้วย โดยมีกรณีที่พบในเด็กชายอายุ 14 ปี คนหนึ่ง หลังจากได้รับยา Cefdinir เพียง 1 วันเท่านั้น อาการผู้ป่วยดีขึ้นเมื่อหยุดและเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น

รายงานของ Jeffrey S. Nelson

พบเด็กผู้ชาย 2 คน อายุ 6 ปีและ 5 เดือน หลังจากได้รับยา Cefdinir 24-48 ชั่วโมง เกิดมีอุจจาระสีแดงโดยไม่มีอาการอาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ร่วมด้วยรวมทั้งตรวจ

ไม่พบเชื้อ Clostridium difficile แพทย์จึงเปลี่ยนยาทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่น ก็พบรายงานอุจจาระเป็นสีแดงจากยา Cefdinir เช่นกัน

FDA ของสหรัฐอเมริกา

ยังออกคำเตือนถึงการใช้ cefdinir tablets และ oral suspension (Omnicef; Abbott Laboratories) ว่าทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิด

Clostridium difficile–associated diarrhea (CDAD) ในระดับ severity จาก mild diarrhea ถึง fatal colitis [6]

ดังนั้น จากข้อมูลการค้นคว้าทั้งหมด จึงคาดการได้ว่าการที่ cefdinir ถูกถอนออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2551 นั้นมีสาเหตุที่เป็นไปได้จากทั้ง Bioavailability ของยาที่ต่ำ (25%) และจากผลข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดภาวะ hemorrhagic colitis อีกทั้งยังมียาอื่นที่ใช้ทดแทน cefdinir ได้

Ref.

1.http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=13112&gid=1

2.http://www.ramanhospital.com/pharmacy/pharmacy19-5-10/newpharmacy/Cefdinir%20syrups.pdf

3.http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4110