Cephalosporin

Cephalosporin

* ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

กลไกการออกฤทธิ์ และความครอบคลุมเชื้อ1,5-14

ออกฤทธิ์เป็น bactericidal ต่อเชื้อแบคทีเรีย เหมือนยาในกลุ่ม penicillins กล่าวคือ มีโครงสร้างคล้าย alanine residue ?จึงแย่งจับกับเอนไซม์ transpeptidase แทน alanine residue ของ peptidoglycan สายแรก? ทำให้ยับยั้งการเกิด cross link กับ peptidogycan สายที่สอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสร้างผนังเซลล์ ของเชื้อแบคทีเรีย? ทำให้เชื้อมีผนังเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์?? เอนไซม์ที่ถูกยับยั้งโดยยาในกลุ่ม penicillins และ cephalosporins นี้อาจเรียกรวมๆ ว่า penicillin-binding proteins (PBPs)

ยาในกลุ่ม cephalosporins แต่ละรุ่น มีความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้แตกต่างกัน แต่ทุกรุ่นไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อEnterococcus spp.,? Listeria monocytogenes, Staphylococcus epidermidis? และ methicillin-resistant S. aureus (MRSA)??

ข้อบ่งใช้15

ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 1-4 แสดงในตาราง 2-5

ตาราง 2 ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 115

||

โรคติดเชื้อ

ตัวย่อ: MSSA = Methicillin-susceptible Staphylococcus aureus, PSSP = Penicillin-susceptible Streptococcus pneumoniae

ตาราง 3 ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 215

||

โรคติดเชื้อ

ตัวย่อ: MSSA = Methicillin-susceptible Staphylococcus aureus, PNSSP = penicillin-nonsusceptible S. pneumoniae, PSSP = Penicillin-susceptible Streptococcus pneumoniae

ตาราง 4 ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 315

?

||

โรคติดเชื้อ

ตัวย่อ: PNSSP = penicillin-nonsusceptible S. pneumoniae, PSSP = Penicillin-susceptible Streptococcus pneumoniae

ตาราง 5 ข้อบ่งใช้ของยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 41,7, 9,12-14,16-19

||

โรคติดเชื้อ

คำเตือนและข้อควรระวัง7

1.???????? ควรสัมภาษณ์ประวัติแพ้ยาในกลุ่ม cephalosporins หรือ แม้กระทั่งยากลุ่ม penicillins เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำ โดยเฉพาะถ้าเป็นการแพ้ที่ค่อนข้างรุนแรง?? พบรายงานการแพ้ข้ามกลุ่ม ระหว่าง penicillins และ cephalosporins? ประมาณร้อยละ 5-16

2.???????? ควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี creatinine clearance น้อยกว่า 50 ml/min./1.73 m3 เนื่องจาก ยาในกลุ่มนี้บางชนิดมีพิษต่อไต และบางชนิดถูกขับออกทางไต

3.???????? ควรระมัดระวังการใช้ยาในทารกและเด็ก โดยเฉพาะยาที่ไม่มีรายงานถึงประสิทธิภาพ หรืออาการไม่พึงประสงค์ของยาในเด็กทารก ?ได้แก่? การใช้ยา cefazolin และ cefaclor ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน? การใช้ยา cefuroxime, cephapirin และcefoxitin ในเด็กอายุน้อยกว่า? 3 เดือน? การใช้ยา cefpodoxime ในเด็กอายุน้อยกว่า? 5 เดือน? การใช้ยา cefdinir, loracarbef, cefixime, ceftizoxime? การใช้ยา cefprozil ในเด็กอายุน้อยกว่า? 6 เดือน? การใช้ยา oral cephradineในเด็กอายุน้อยกว่า? 9 เดือน และการใช้ยา? cefepime, parenteral cephradine ในเด็กอายุน้อยกว่า? 1 ปี

4.???????? ควรระมัดระวังการใช้ cefoperazone ในผู้ป่วยโรคตับที่มีการอุดกั้นทางเดินน้ำดีร่วมด้วย เนื่องจากยาถูกขับออกจากร่างกายทางน้ำดีในปริมาณสูง? ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวจะมีการกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อย? ส่งผลให้ค่าครึ่งชีวิตของยาในเลือดยาวนานขึ้นถึง 2-4 เท่า

5.???????? การใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานานอาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อซ้อน (superinfection) ด้วยเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ไวต่อยากลุ่มนี้หรือด้วยเชื้อรา

อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ1,7,9,12,13,20

cehlosporins จัดเป็นกลุ่มยาที่ก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ค่อนข้างน้อยกว่ายาต้านจุลชีพกลุ่มอื่น ยาทุกรุ่นทำให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์คล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นยาบางชนิดที่อาจมีอาการไม่พึงประสงค์จำเพาะ

1.???????? ปฏิกิริยาการแพ้ (hypersensitivity reactions) พบบ่อยที่สุดจากการใช้ยาในกลุ่มนี้ ?ที่พบบ่อย ได้แก่ การแพ้ที่ผิวหนัง ซึ่งมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 1.0-2.8 โดยพบ maculopapular หรือ mobiliform skin eruption บ่อยที่สุด? สำหรับการแพ้แบบ anaphylaxis หรือ urticaria เกิดค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะจากยารุ่นที่ 2 หรือ 3 พบอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 0.01 ของอุบัติการณ์จาก ?penicillins??? มีรายงานว่ายาในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดการแพ้ข้ามกลุ่มกับ penicillins ได้ ?โดยร้อยละ 1-7 ของผู้ป่วยที่แพ้ penicillins จะแพ้ cephalosporins ด้วย? อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ penicillins แต่ผล penicillin skin test เป็นลบ มีความเสี่ยงต่ำต่อการแพ้ cephalosporins ?ดังนั้น การทำ penicillin skin test จะเป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ penicillins? แต่จำเป็นต้องได้รับ cephalosporins??

2.???????? Hypoprothrombinemia เป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม cephalosporins ที่มี N-methyl thiotetrazole (NMTT) ในสูตรโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น cefoperazone?? ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะนี้และจำเป็นต้องได้รับยาเป็นเวลานานจึงควรได้รับ vitamin K เสริมโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 10 mg ต่อสัปดาห์?

3.???????? การเกิด biliary sludge ??ยา ceftriaxone จะตกผลึกในลักษณะที่เรียกว่า sludge ในถุงน้ำดี และ ท่อทางเดินน้ำดี และอาจไปอุดกั้นทางเดินน้ำดีได้? ?โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่ในบางรายอาจเกิดภาวะการอักเสบของถุงน้ำดี (cholecystitis) ?ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหานี้ได้แก่ ผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่ใช้ ceftriaxone ในขนาดสูงและเป็นเวลานาน ผู้ที่ร่างกายไม่ค่อยได้ใช้น้ำดีทำให้น้ำดีไม่มีการหมุนเวียน เช่นผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ? พบอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 20-45 ของผู้ป่วยที่ได้รับ ceftriaxone? ในขนาดวันละ 2 กรัม? โดยทั่วไประบบน้ำดีจะกลับสู่ภาวะปกติในเวลาประมาณ 10-60 วันหลังจากหยุดยา

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาระหว่างยากลุ่ม cephalosporins กับยาอื่นๆ แสดงในตาราง ?6

ตาราง 6 ปฏิกิริยาระหว่างยากลุ่ม cephalosporins กับยาอื่นๆ7

||

ยา

สรุป

ยากลุ่ม cephalosporins มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางทั้งที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน? ยาในรุ่นแรกมีฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกดี แต่มีฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมลบและเชื้อที่ไม่ใช้ออกซิเจนต่ำ ยาในรุ่นหลังมีฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมลบและเชื้อที่ไม่ใช้ออกซิเจนดีขึ้น โดยเฉพาะยารุ่นที่ 4 ที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนแกรมบวก แกรมลบและเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน? นอกจากนั้น ยาในกลุ่มนี้ยังมีอาการไม่พึงประสงค์ต่ำ? ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ยากลุ่ม cephalosporins จึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาโรคติดเชื้อชนิดต่างๆ

From:

http://www.thaihp.org/index.php?option=other_detail&lang=th&id=15&sub=26

ปรีชา มนทกานติกุล, สุทธิพร ภัทรชยากุล

||