DM oral hypoglycemic drug full

Update 11/2557

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน(แบบกิน) ยากินเบาหวาน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาเบาหวาน

แบ่ง 3 กลุ่ม

1.Insulin secretagogue เพิ่มการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน

1.1 Sulfonylurea gr. จับเบต้าเซลล์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน :

1st generation

Chlorpropamide 250-500mg/d –T1/2 24-48 hr

2nd generation

Glibenclamide(daonil®5mg) 2.5-20mg/d -T1/2 12 hr

Sig 1-3*1, 2-0-2 ac

Glipizide(minidiab®5mg) 2.5-40mg/d –T1/2 2-4 hr

Sig 1-0,2-0,2-1,2-2 ac

3rd generation

Gliclazide(diamicron®80mg) 80-320mg/d-T1/2 12hr

Sig 0.5-3*1, 2-0-2 ac

Gliquidone

Glimepiride

ข้อควรใช้

ลด HA1C 1.5-2% อาจใช้เป็นยาแรกใน T2DM ที่ไม่อ้วน

เริ่มด้วยขนาดต่ำก่อน

ใช้ร่วมกับยากินอื่นและอินซูลินได้ ยกเว้น Repaglinide เนื่องจากออกฤทธิ์เหมือนกัน

ข้อระวัง

Chlorpropamide และGlibenclamide ชอบทำให้น้ำตาลต่ำ เลี่ยงใช้ในผู้สูงอายุ ไตบกพร่อง

Chlorpropamide ทำให้ Na ต่ำได้ กระตุ้นการหลั่ง ADH

การใช้ยาในระดับครึ่งหนึ่งของระดับสูงสุด มักได้ผลไกล้เคียงกับการให้ที่ระดับสุงสุด

ไม่ได้ผลใน T1DM หรือผู้ป่วยที่มีเบต้าเซลล์ลดลง ตับอ่อนอักเสบเรื่อรัง ผ่าตัดตับอ่อน T2DMที่เป็นมานาน เนื่องจากไม่มีเบต้าเซลล์ให้กระตุ้นแล้ว

ผู้ป่วยไตบกพร่องหรือCr>2mg/dl ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้จะทำให้น้ำตาลต่ำ

1.2 Non-sulfonylurea จับกับเบต้าเซลล์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนแต่จับคนละที่กับกลุ่มแรก :

Repaglinide

ข้อควรใช้

ออกฤทธิ์สั้นและเร็ว กินก่อนอาหาร 15 นาที ทุกมื้อจึงได้ผลดี

ลด HA1C ได้พอกับ sulfonylurea แต่ต่างที่ลดน้ำตาลหลังอาหารได้ดีกว่า

เหมาะสำหรับผู้ที่กินไม่เป็นเวลา หรือระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง

ผู้มีไตบกพร่องปานกลางกินได้เนื่องจากยาขับทางน้ำดี 90%

ข้อเสีย แพง ต้องกินบ่อยๆ

2.Insulin sensitizer ลดการดื้อต่ออินซูลิน

2.1 Biguanide gr. มีตัวเดียว ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับ ระดับน้ำตาลอดอาหารลดและช่วยให้อินซูลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อดีขึ้น

Metformin(glucophage®) 500-2550mg/d-T1/2 2-4hr

Sig 1*1-2*3pc

ข้อน่าใช้

เป็นยาแนะนำให้ใช้เป็นชนิดแรกในการรักษาเบาหวาน

ลด HA1C ได้พอกับ sulfonylurea แต่ต่างที่ไม่ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากยาไม่กระตุ้นอินซูลิน

ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม เหมือนยากลุ่ม sulfonylurea

ลดภาวะ MI และลดการเสียชีวิตใน T2DM ได้ ลดระดับ TG ได้ด้วย

ผลข้างเคียง

คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รู้รส จะดีขึ้นเมื่อใช้ยา 2-3 สัปดาห์

Lactic acidosis ในผู่ป่วยไตบกพร่องต้องระวัง เนื่องจากยาขับทางไตอย่างเดียว หาก Cr >1.4mg/dl งดให้

และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยตับไม่ดีและหัวใจล้มเหลว จะเสี่ยงต่อ lactic acidosis

ให้หยุดใช้ยาก่อนให้ radiocontrast agent 48 ชั่วโมง เนื่องจากสารเหล่านี้ทำให้ไตบกพร่องชั่วคราว

2.2 Thiazolidinediones gr. : กระตุ้น peroxisome proliferator activated receptor gamma ที่เซลล์ไขมันเป็นหลัก ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ดีขึ้นที่กล้ามเนื้อและไขมัน ทำให้การสลายไขมันลดลง

Troglitazone200mg

Sig 1-3*1pc

Rosiglitazone(Avandia)

Pioglitazone(Utmos30) 15-45 mg od ac หรือ pc ก็ได้ เกิด hypoglycemia น้อยกว่า avandia

ข้อดี การใช้ยาเดี่ยวจะสามารถชะลอระยะเวลาที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และต้องใช้ยาชนิดที่สอง ได้นานกว่ายาอื่นๆ

รายงานช่วยลดไขมันสะสมในตับ

ผลข้างเคียง

น้ำหนักเพิ่ม บวม โดยเฉพาะการใช้ร่วมกับ insulin อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้ในบางราย Hb ลดลง

ไม่แนะนำให้เป็นยาชนิดแรก เนื่องจากมีผลข้างเคียง

3.Alpha-glucosidase inhibitor : ลดการดูดซึมน้ำตาล

ที่ผนังลำไส้ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ทำให้น้ำตาลดูดซึมช้าลง

Acarbose(glucobay50,100mg) 75-300mg/d-T1/2 12hr

Sig 0.5-1t*3 wm พร้อมอาหารคำแรก

Voglibose 0.6-0.9mg/d-T1/2 12hr

ข้อควรใช้

มีผลลดน้ำตาลหลังอาหารเป็นส่วนใหญ่

ผลข้างเคียง

ท้องอืด แน่นท้อง ถ่ายเหลว ปวดท้อง ผายลมบ่อย

ข้อระวัง Cr>2mg/dl ห้ามใช้ ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหารอุดตันอักเสบไม่ควรใช้

4.DPP IV inhibitor (DPP:dipeptidyl peptidase)

ยับยั้งเอนไซน์ที่ใช้ทำลาย glucagon-like peptide,

glucose-dependent insulinotropic polypeptide ที่หลั่งจากลำไส้

ทั้งสองตัวมีผลกระตุ้นเบต้าเซลล์ให้หลั่งอินซูลินออกมาตอนกินอาหาร

Sitagliptin(januvia®) 100 mg od T1/2 8-14hr

Vildagliptin

Linagliptin(Trajenta® 2 mg) 1pcm

ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับยากินอื่น

ยา linagliptin ขับออกทางไตเพียงร้อยละ 5

ทำให้ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วย mild-moderate renal impairment

และขนาดยาที่ใช้ คือ 5 มิลลิกรัมวันละหนึ่งครั้ง

จากการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า 6,000 ราย

จากการให้ยา linagliptin เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับยา metformin และ/หรือ sulfonylurea

ซึ่งสามารถลด hemoglobin A1c ได้ถึง 0.7%

นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับของ fasting plasma glucose และ 2-hour postprandial glucose

เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม

และส่วนใหญ่จะเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในกลุ่มที่ได้ triple combination คือ linagliptin ร่วมกับ metformin และ sulfonylurea

แนวทางการเลือกใช้ยากินเบาหวาน

1.เริ่มด้วย metformin

2.คนสูงอายุเลี่ยงที่ออกฤทธิ์ยาว chlorpropamide, glibenclamide

อายุมากกว่า 80 ปี เลี่ยงยา metformin เสี่ยงต่อ lactic acidosis

3.โรคไต เลือกยาที่มีฤทธิ์สั้น glipizide หรือ repaglinide หรือ ยาที่ไม่ขับทางไตเป็นหลัก repaglinide , thiazolidinediones

แต่ถ้า Cr clearance <15-20mg/dl ควรให้ยาฉีดแทน

4.CHF ห้ามใช้ thaiazolidinediones

5.ระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง เลือกใช้ alpha-glucosidase inh., repaglinide, DPP-4inh.

6.เสี่ยง lactic acidosis(CHF, hypotension, infection) ห้ามใช้ metformin

***การใช้ยาไม่จำเป็นต้องให้ยาในระดับสูงสุด แล้วค่อยเริ่มตัวใหม่

***สามารถให้ตัวใหม่ควบได้เลย จะทำให้คุมน้ำตาลได้ดีกว่า และลดผลข้างเคียงจากระดับยาที่สูง

เป้า แนะนำที่ HbA1C <6.5-7% หากทำได้ควร <6% โดยไม่ทำให้เกิดน้ำตาลต่ำที่เป็นอันตราย

ผลของยาที่กระทบต่อการรับประทานยา