Antihistamine group

“ยาแก้แพ้” เป็นชื่อเรียกของยาในกลุ่ม Antihistamines

เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนซึ่งหลั่งเมื่อเกิดอาการแพ้

โดยในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 Generations

1.ยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (First generation หรือ conventional antihistamines)

2.ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ (Second generation และ Third generation

หรือเรียกว่าเป็นยากลุ่ม Non-sedating antihistamines)

สำหรับยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (First generation หรือ conventional antihistamines)

เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine)

บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine)

ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate)

ไฮดรอกไซซีน (hydroxyzine)

ทริโปรลิดีน (triprolidine) เป็นต้น

เนื่องจากยาในกลุ่มนี้

มีความสามารถในการละลายในไขมันได้ดี (Highly lipophilicity)

จึงสามารถผ่านเข้าสู่สมองไปกดระบบประสาท

ทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ มีอาการง่วงซึม

จึงควรระมัดระวังในผู้ที่มีการขับรถ หรือทำงานร่วมกับเครื่องจักร

และนอกจากจะสามารถยับยั้งการทำงานของฮิสตามีนแล้ว

ยาในกลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน (anticholinergic)

ที่ทำให้ต่อมภายในโพรงจมูกหลั่งน้ำมูก ทำให้น้ำมูกลดลง จึงสามารถใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหล

จากทั้งสาเหตุไข้หวัดและอาการแพ้ได้ และ อาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้อีก

เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง

ซึ่งเป็นผลจากการยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีนที่ส่วนอื่นๆของร่างกาย

ทำให้ต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วย ต่อมลูกหมากโต ต้อหินมุมปิด เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคดังกล่าวแย่ลงได้

ส่วน Second generation และ Third generation เป็นยาแก้แพ้กลุ่มใหม่

ซึ่งมักเรียกรวมกันว่ากลุ่ม Newer antihistamines หรือNon-sedating antihistamine

ยกตัวอย่างเช่น

เฟกโซเฟนาดีน (fexofenadine) Telfast®

60,180mg(r)

ลอราทาดีน (loratadine)

เซทิริซีน (cetirizine) Zyrtec®

เลโวเซทิริซีน (levocetirizine) Xyzal

เป็นต้น

2nd generation

terfenadine พัฒนามาจาก chlorpheniramine

astemizole พัฒนามาจาก diphenhydramine

loratadine พัฒนามาจาก cyproheptadine

cetirizine พัฒนามาจาก hydroxyzine

ยา terfenadine และ astemizole มีปัญหาต่อระบบหัวใจ จึงได้ถอนทะเบียนออกไป

ยากลุ่มนี มี ข้อดีกว่า ยาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก คือ มีฤทธิ ต้านการอักเสบได้ และออกฤทธิ ได้นาน

เพราะจับกับตัวรับฮิสทา มีนได้แน่นและนานขึ น และไม่มีผลข้างเคียงเหมือน ยาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก

3nd generation

fexofenadine พัฒนามาจาก terfenadine

desloratadine พัฒนามาจาก loratadine

levocetirizine พัฒนามาจาก cetirizine

ยากลุ่มนี้ มีข้อดีกว่า ยาต้านฮิสทามีนกลุ่มอืนๆคือ

- มีฤทธิ ต้านการอักเสบได้ดี

- ตัวยาเป็นตัวทีสามารถออกฤทธิ(active metabolite) ได้เลย ดังนั้นจึงไม่รบกวนการทํางาน ของตับ

- ยาออกฤทธิ์ได้นาน เพราะจับกับตัวรับฮิสทามีนได้แน่น และนานขึ้น จึงใช้เพียงวันละครั้ง

- เจาะจงเฉพาะกับตัวรับฮิสทามีนชนิด H 1 (histamine H1 – receptor) เท่านั้น จึงใช้ ปริมาณยาน้อยลง

แนะนําให้ผู้ป่ วยโรคภูมิแพ้ ใช้ยาต้านฮิสทามีนรุ่นทีสอง หรือสาม มากกว่ายาต้านฮิสทามีนรุ่นแรก

สําหรับผู้ป่ วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ยาต้านฮิสทามีน ได้ผลดีในการบรรเทา

อาการทีเกิดจากฮิสทามีนเช่น คัน, จาม, นํ ามูกไหล,คัน เคืองตา

แต่ได้ผลน้อยกับอาการคัดจมูก นอกจากนั น

ยาต้านฮิสทามีนยังช่วยทําให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ดีขึ นด้วย

การใช้ยาต้านฮิสทามีน ในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในเด็กนั นได้ผลดีและปลอดภัย

จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮิสตามีน

ไม่ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทอะเซทิลโคลีน

จึงมีผลข้างเคียงต่ำกว่ากลุ่ม First generation ได้แก่ อาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง

รวมทั้งยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยกว่าจึงทำให้เกิดผลข้างเคียงง่วงซึมได้น้อยกว่าอีกด้วย

จึงเหมาะในการนำมาใช้บรรเทาในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ซึ่งต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานได้ดี

Ref.

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1175_1.pdf