RDU Country
จาก Service Plan RDU สู่ “ RDU Country”
วันที่ 20 กันยายน 2561 ได้รับมอบหมายจากท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 11
ในการเข้าร่วมประชุม “การขับเคลื่อนสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล” (RDU Country) ในฐานะประธานการดำเนินนโยบาย Service plan RDU-AMR เขตสุขภาพที่ 11
ณ ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ชั้น2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โดยมี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธาน
1#องค์การอนามัยโลก รายงานว่า ในหลายๆประเทศ ปัญหาของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่สมเหตุผล เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่การควบคุมการใช้ยาอย่างเคร่งครัด โดยข้อมูลหลายๆประเทศพบว่า การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 6-41 ของการใช้ยาทั้งหมด
2#โดยมีผลเสีย
1.เพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้ยา อาการข้างเคียงของยา โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ได้รับยาหลายอย่าง
2.ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อดื้อยามากขึ้น และต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่รุนแรงมากขึ้น
3.เพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น
4.มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
3#การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล มีสาเหตุมาจากหลายส่วน ซึ่งจำเป็นต้องแก้อย่างเป็นระบบ(Multifaceted intervention)
4#องค์การอนามัยโลก นิยามว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุผลหมายความว่า “ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมต่อความจำเป็นทางคลินิก ในขนาดยาที่ตรงตามความต้องการของแต่ละราย เป็นระยะเวลาเพียงพอ และด้วยค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดต่อผู้ป่วยและชุมชน”
5# แนวทางการดำเนินการที่ผ่านมา
1,นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 กำหนดให้มียุทธศาสตร์ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564
วิสัยทัศน์ : ประชาชนเข้าถึงยาจำเป็นที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ใช้ยาสมเหตุผล ประเทศมีความมั่นคงด้านยาอย่างยั่งยืน
3.ปีงบประมาณ 2560 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นตัวชี้วัด PA service plan RDU สาขาที่ 15
4.ปีงบ 2561 วันที่ 1กค2561 RDU เป็นส่วนหนึ่งของ HA
6# องค์การอนามัยโลกแนะนำตั้งแต่ปี 2545 ว่า “การมีองค์กรรองรับการดำเนินงานและมีงบประมาณเพียงพอ เป็น Critical Success Factor สำหรับการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล”
7# เราอยากเห็นอะไรจากการทำ RDU “สังคมไทย ใช้ยาสมเหตุผล”
1. ผู้ป่วย – ใช้ยาเท่าที่จำเป็น/มีส่วนร่วมตัดสินใจการใช้ยาของผู้สั่งใช้ยา/ปลอดภัยจากการใช้ยา
2. ประชาชน-มีความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัย/มีความเข้าใจในโรคและยาที่ใช้
3. ผู้สั่งใช้ยา-มีเจตคติในการเรียนรู้/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/มุ่งมั่นในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
4. หน่วยงานรัฐ-พัฒนาระบบกลไก สนับสนุนและกำกับดูแล
5. หน่วยงานภาคเอกชน(ร้านยา/บริษัทยา/รพ.เอกชน/คลินิก ฯ)-ร่วมมือพัฒนาระบบกลไกการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
6. ภาคการศึกษา(โดยเฉพาะด้านการแพทย์และสาธารณสุข) –พัฒนาการเรียนการสอน/จัดสิ่งแวดล้อม/เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
-เด็กนักเรียน สร้างความรู้ในการใช้ยาที่เหมาะสม ที่เหมาะสำหรับอายุของเด็ก
8# จาก Service Plan RDU สู่นโยบาย “ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล(Rational Drug Use Country)
คือ ประเทศที่มีระบบกลไกให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1. การสร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกของบุคคล
2. การบริหารจัดการที่ดี
3. การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
9# Goal ภายในปี 2565 รัฐบาลประกาศเป็นประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล RDU Country
1.กำหนดให้มีองค์กรกลางระดับประเทศ RDU center
2.บูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
# ผู้ผลิตและจำหน่าย มีคุณภาพ/จริยธรรม/ธรรมาภิบาล
# บุคลากรด้านสุขภาพ มีระบบการศึกษาและพัฒนาศักยภาพ
# สถานพยาบาล/ร้านยา/การปศุสัตว์/เกษตรกรรม มีระบบที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล
# เกณฑ์/กฎหมาย/การบังคับใช้ มีความคลอบคลุม/เป็นธรรม/มีประสิทธิภาพ
# การบริหารจัดการ มีความต่อเนื่อง/มีเอกภาพและบูรณาการ
# ประชาชนและสังคม มีความเข้าใจและรอบรู้ด้านสุขภาพ
3. การพัฒนาสู่ความยั่งยืน และมีระบบติดตามประเมินผล
10# RDU Policy Implementation “Multifaceted intervention”
1. ต้นน้ำ –ผู้ผลิตยา/บริษัทยา/ผู้แทนยา : Good Governance in Drug promotion
# พรบ.ปปช.พ.ศ.2561 # เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขาย
2. กลางน้ำ- สถานพยาบาลภาครัฐ/เอกชน/บุคลากรทางการแพทย์(แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและสัตวแพทย์
# RDU-AMR Service plan; RDU Hospital # HA standard/2P safety # รพ.สต.ติดดาว
# RDU pharmacy
3. ปลายน้ำ-ประชาชน : RDU community(Community/family/patient level)
# Public education # Health-RDU Literacy # Community empowerment
"RDU Country" เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และประชาชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการและการสร้าง ให้มี ความรอบรุ้เรื่อง RDU คือ Health-RDU Literacy จะเป็นส่วนนึงในการสร้างความยั่งยืนของการใช้ยาที่สมเหตุผล
สรุป ; นายแพทย์นรเทพ อัศวพัชระ ผชชว.สสจ.ระนอง
ประธาน Service Plan RDU เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2560 และ 2561
#ณัฐวุฒิ ณัฐวุฒิ ประเสรฺิฐสิริพงศ์ #sopon Sopon Mekthon #พรเทพ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ #Kanyarat Kanyarat Assawapatchara