Entecavir

บทความ

ประสิทธิภาพของยาเอนเทคคาเวียร์ (entecavir) และข้อมูลของการดื้อยาจากการประชุมของสมาคมศึกษาโรคตับแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (APASL)

กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--เวเบอร์ แซนวิค

ข้อมูลจากผลการศึกษาทั้ง 3 กรณีที่ได้นำเสนอในการประชุมของสมาคมศึกษาโรคตับแห่งภูมิภาคเอชียแปซิฟิค (Asian Pacific Association for the Study of the Liver - APASL) ครั้งที่ 15 ได้รับการเปิดเผยว่า ยาเอนเทคคาเวียร์ (entecavir) ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานมีประสิทธิภาพเหนือกว่าหรือใกล้เคียงกันกับยา lamivudine ในการรักษาผู้ป่วยหลายรายที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (HBV) ในการศึกษานี้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ ได้แก่ กลุ่มที่เริ่มการรักษาโดยวิธีใช้ยาต้านไวรัสเป็นครั้งแรก (nucleoside-naieve) กลุ่มที่มีเคยได้รับการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสมาก่อน (โดยใช้ยาชนิดอื่นที่ไม่ใช่ยาเอนเทคคาเวียร์) และกลุ่มที่ดื้อต่อยา lamivudine (หมายถึงกลุ่มที่ไม่มีปฎิกริยาตอบโต้ มีอาการทรุดลง หรือ กลุ่มดื้อยา)

ผลจากการศึกษาอีกกรณีได้รับการเปิดเผยว่าหลังจากได้รับการรักษาเป็นเวลา 1 ปี ไม่มีหลักฐานบ่งชี้แน่ชัดว่าผู้ป่วยในกลุ่ม nucleoside-naieve ซึ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังว่ามีการดื้อต่อยาเอนเทคคาเวียร์ ยาเอนเทคคาเวียร์เป็นยาในกลุ่ม nucleoside analog และเป็นตัวยาที่ใช้ในการยับยั้งโรคไวรัสตับอักเสบบี

ศาสตราจารย์ ซี แอล ไล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Medicine & Hepatology และเป็นหัวหน้าภาควิชา Gastroenterology & Hepatology แผนกเวชศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮ่องกง แห่ง Hong Kong SAR ประเทศจีน กล่าวว่า “แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการดื้อยาเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะใช้ยาต้านไวรัสชนิดใดในการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี” และยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ฐานข้อมูลขั้นที่ 3 ของการวิเคราะห์ยาเอนเทคคาเวียร์ในปัจจุบันได้รับการเปิดเผยว่าไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้แน่ชัดว่ามีการดื้อยาเอนเทคคาเวียร์เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วย nucleoside-naieve หลังจากได้รับการรักษาในระยะเวลา 48 สัปดาห์ มีเพียงร้อยละ 1 ของกลุ่มที่ดื้อยา lamivudine (lamivudine-refractory patients) ซึ่งได้รับการรักษาโดยการใช้ยาเอนเทคคาเวียร์นั้นยังมีไวรัสหลงเหลืออยู่ (หรือการตรวจพบระดับไวรัสหลงเหลืออยู่) เนื่องจากการดื้อยา

ศาสตราจารย์ ไจย์ จิดอน ประจำมหาวิทยาลัย Capital University of Medical Sciences ประจำโรงพยาบาลปักกิ่ง เฟร็นด์ชิพ ประเทศจีน กล่าวว่า “โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังนี้เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศจีน” และได้กล่าวเสริมว่า “ผมเชื่อว่าเรามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการวินิจฉัยและรักษาในระดับเริ่มแรกด้วยวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะบ่งชี้ความซับซ้อนในระยะยาวซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในประเทศของเรา”

มีผู้ป่วยมากกว่าครึ่งล้านทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับขั้นแรกในแต่ละปี และมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับขั้นแรกมีสาเหตุมาจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และมีประชากรจำนวน 400 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้องรังนี้ โดยร้อยละ 75 อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย โรคมะเร็งตับขั้นแรกหรือ hepatocellular carcinoma (HCC) เป็นสาเหตุของการตายด้วยโรคมะเร็งในสามลำดับแรกของในหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย

- จีนเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านโรคไวรัสตับอักเสบบีและโรคมะเร็งตับมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรประมาณ 130 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

- ในแต่ละปี มีประชากรประมาณ 360, 000 คนจากประเทศต่างๆ ในแถบตะวันออกของทวีปเอเชีย (ประเทศจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี) ตายด้วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

- ในประเทศอินเดีย มีประชากรประมาณ 1 ใน 20 คน ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โดยคิดเป็นร้อยละ 1 ของการตายทั้งหมดในกลุ่มผู้ใหญ่เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

- มีประชากรชาวสิงคโปร์ร้อยละ 6 หรือประมาณ 250, 000 คน ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

ผลรายงานล่าสุดด้านการจัดการโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประจำปี 2548 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้รับการเปิดเผยว่าการยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสเป็นสิ่งสำคัญในการลดหรือป้องกันการทำลายตับและการเจริญเติบโตของโรค และจุดประสงค์พื้นฐานของการรักษาคือการกำจัดหรือยับยั้งไวรัสตับอักเสบบีอย่างถาวร

การศึกษาในขั้นที่ 3 ได้ค้นคว้าเรื่องประสิทธิภาพของยาเอนเทคคาเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยหลายประเภทที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังรวมถึงทั้งผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นบวก (hepatitis B e-antigen) ผู้ป่วยในกลุ่ม nucleoside-na?ve ที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นลบ รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ดื้อยา lamivudine ผู้ป่วยที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นบวกนั้นจะมีระบบการทำงานของตับแย่ลง เกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับ และคิดเป็นร้อยละ 25 ถึง 40 ของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นลบนั้นจะมีอาการซึ่งสามารถจำแนกตามเวลาการเจริญเติบโตของความรุนแรงที่ตับถูกทำลายร่วมกับการแสดงอาการในด้านลบในระยะยาว รวมไปถึงการเจริญเติบโตของภาวะตับแข็งและมะเร็งตับอย่างรวดเร็ว

ผลการศึกษาในขั้นที่ 3 ที่ได้รับการเปิดเผยจาก APASL มีดังต่อไปนี้

- ETV-023 คือการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย 519 คนซึ่งถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม และนำผลมาเปรียบเทียบกันโดยที่ทั้งสองกลุ่มไม่ทราบถึงการทดลองนี้ (double blinded study) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาเอนเทคคาเวียร์ในกลุ่มผู้ป่วย nucleoside-na?ve ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในประเทศจีน ในการรักษาเป็นระยะเวลา 48 เดือน พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ปริมาณ 0.5 มิลลิกรัม มีอาการดีขึ้นถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยา lamivudine (มีระดับไวรัสตับอักเสบบีดีเอ็นเออยู่ในระดับกว่า [0.7 Meq/mL by bDNA assay

] และรักษาระดับของ ALT ในสภาวะปกติ โดยน้อยกว่า 1.25 เท่าของขีดจำกัดบนของสภาวะปกติ) ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์นั้นมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนไวรัสดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดโดยทางสถิติ (p<0.0001)เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาโดยใช้ยา lamivudine ในระยะเวลา 48 สัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้น มีจำนวนผู้ป่วยร้อยละ 76 ที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์นั้นตรวจไม่พบดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบี (HBV DNA) แต่มีจำนวนผู้ป่วยเพียงร้อยละ 43 เท่านั้นที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยา lamivudine ยาทั้งสองนี้มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย แต่อาจมีอาการไม่พึงประสงค์อยู่บ้าง ได้แก่ nasopharyngitis (หมายถึงการบวมหรืออักเสบที่บริเวณช่องจมูกและคอส่วนบน) มีระดับ ALT เพิ่มขึ้น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน อ่อนเพลีย เจ็บปวดบริเวณหน้าท้องส่วนบน และท้องร่วง

- ในการศึกษา ETV-056 คือการศึกษาทางคลินิกในขั้นที่ 2 หรือ 3 ของผู้ป่วยจำนวน 145 คน เพื่อค้นคว้าผลกระทบของยาเอนเทคคาเวียร์ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและดื้อยา ในประเทศจีนในกลุ่มของผู้ป่วยที่ดื้อยา lamivudine การศึกษานี้เป็นแบบ double-blinded study ในขั้น placebo-controlled phase (การให้ยาหลอกแก่ผู้ป่วยรับประทานเพื่อแพทย์สามารถทำการทดลองประสิทธิภาพของยาได้) เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ตามด้วยขั้น open-label phase เป็นเวลา 36 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่าการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ในปริมาณ 1.0 มิลลิกรัมมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนไวรัสจากค่ามาตรฐาน (baseline) อย่างเห็นได้ชัดในเชิงสถิติ (p<0.0001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม placebo ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยติดเชื้อโรคตับอักเสบบีเรื้อรังซึ่งรักษาโดยยาเอนเทคคาเวียร์ในขั้น double-blind phase ของการศึกษาผู้ซึ่งยังคงใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ต่อไปจนถึงในการศึกษาขั้น open-label phase ค่าเฉลี่ยของดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบี (HBV DNA) อยู่ที่ 5.08 log copies/mL เป็นระยะเวลา 48 สัปดาห์ โดยปกติแล้วการรับประทานยาเอนเทคคาเวียร์ในปริมาณ 1.0 มิลลิกรัมต่อวันเป็นระยะเวลา 48 สัปดาห์ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

- การวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดื้อยาเอนเทคคาเวียร์ในขั้นที่ 3 จากการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 550 คน พบว่าในระยะการรักษา 48 สัปดาห์ จากตัวอย่างผู้ป่วย ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่ามีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในกลุ่ม nucleoside-naieve การตรวจพบไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่ซึ่งอาจจะมาจากการดื้อยามีเพียงร้อยละ 1ในกลุ่มผู้ป่วยที่ดื้อยา lamivudine ซึ่งได้รับการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ การกลายพันธ์ (Mutations) ซึ่งเกิดร่วมกับการดื้อยาพบเพียงร้อยละ 7 ของในกลุ่มผู้ป่วยดื้อยา lamivudine ซึ่งรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ แต่การกลายพันธุ์นี้เกิดขึ้นต่อเมื่อมีการดื้อยา lamivudine อยู่แล้วในช่วงเริ่มต้นของการรักษาโดยยาเอนเทคคาเวียร์

- การวิเคราะห์ข้อมูลในระยะเวลา 48 สัปดาห์จากการศึกษาการใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ ในขั้นที่ 3 ซึ่งได้จัดทำขึ้นทั่วโลก (ETV-022 เพื่อค้นคว้าผู้ป่วยที่ตรวจพบ HBeAg ได้ผลเป็นบวก และ ETV-027 คือการค้นคว้าผู้ป่วยที่ตรวจพบ HBeAG ได้ผลเป็นลบ) พบว่ายาเอนเทคคาเวียร์มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังดีกว่ายา lamivudine สำหรับผู้ป่วยในกลุ่ม nucleoside-naieve ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่กลุ่มนี้เป็นโรคตับซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของไวรัสและการเพิ่มขึ้นของระดับserum aminotransferases (ALT หรือ AST) หรือผลการตรวจพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ ผลดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นว่ายังมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่เป็นโรคเกี่ยวข้องหลายประเภทซึ่งเป็นการตัวบ่งชี้ในการตอบสนองด้านการตรวจพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อและการตรวจหาไวรัสในการต่อต้านกับการบำบัดไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยในการศึกษา ETV-022 คือ ปวดศีรษะ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไอ การบวมหรืออักเสบที่บริเวณช่องจมูกและคอส่วนบน เจ็บปวดบริเวณหน้าท้องส่วนบน อ่อนเพลีย และมีไข้ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบในการศึกษา ETV-027 คือ ปวดศีรษะ และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

ยาเอนเทคคาเวียร์อยู่ในระหว่างยื่นขออนุมัติทะเบียนในหลายประเทศทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และประเทศไทย บัจจุบันยาเอนเทคคาเวียร์ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายได้ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและบราซิล การศึกษาด้านคลินิกของยาเอนเทคคาเวียร์ทั่วโลกนั้นถือได้ว่าเป็นการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และนับเป็นครั้งแรกที่มีการเปรียบเทียบยาต้านไวรัสทั้งสองตัว คือยาเอนเทคคาเวียร์ และ lamivudine (ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังทั่วโลก)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์กรุณาติดต่อ

อรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ

ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์

โกลินแฮร์ริส

โทร 66-2257-0300 ต่อ 341

https://www.ryt9.com/s/prg/15994