Prescription

Drugs and Prescription in Pediatrics

http://library.ra.mahidol.ac.th/lecture/Drugs~1.htm

1. ส่วนประกอบของใบสั่งยา และตัวอย่าง

หมายเหตุ * เภสัชเป็นผู้เขียน

2. คำแนะนำในการเขียนใบสั่งยา

1. เขียนด้วยลายมืออ่านง่าย และสื่อความหมายเพื่อให้เภสัชกรหรือพยาบาลให้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ตามที่แพทย์ผู้สั่งต้องการ

2. ชื่อยาควรใช้ generic name ยกเว้นแต่เป็น combination โดยเฉพาะเพื่อความสะดวกในการจ่ายยา เพราะในกรณีที่ไม่มียาตามชื่อการค้า เภสัชกรสามารถจ่ายยาอื่นในกลุ่มเดียวกันที่มีชื่อทางเภสัชวิทยา

เหมือนกันทดแทนได้ และเป็นการประหยัดเพราะเภสัชกรจะจ่ายยาที่มีราคาถูกในห้องยาและการนี้

จะสอดคล้องกับบัญชียาหลักแห่งชาติด้วย

3. ปริมาณของยา

3.1 จำนวนยาประมาณการว่าคนไข้ควรจะกินยาอยู่กี่วันจาก course ของโรค

3.2 หน่วยของยาเม็ดกำหนดให้เขียนด้วยเลขโรมัน แต่อาจจะใช้เลขอาระบิค แทนเพื่อความสะดวก

และอาจจะใช้สัญญลักษณ์ # กำกับ

3.3 หน่วยของยาน้ำ อาจจะเขียนเป็นภาษาไทย ชช. (ช้อนชา) ชต.(ช้อนโต๊ะ) หรือระบุเป็น ซีซี

ในกรณีต้องการความแม่นยำ จะต้องสั่ง medicine dropper หรือ syringe ให้ด้วย

3.4 ขนาดของยาควรเขียนให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น ควรเขียน 0.5 ml แทนที่

จะเขียน .5 ml 500 mg แทนที่จะเขียน .5 g.

4. การเลือกใช้ยาให้เหมาะสม ควรคำนึงถึง

4.1 การวินิจฉัยที่ถูกต้อง

4.2 ประสิทธิภาพของยา ควรใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.3 ความปลอดภัยสูงสุด และมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยที่สุด ต้องถามประวัติการแพ้ยาในผู้ป่วยก่อนสั่ง

ยาทุกครั้ง ถามโรคที่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น โรคตับ, ไต ที่จะมีผลต่อระดับของยา ในเด็กที่กินนมแม่ต้องถาม

ประวัติการได้ยาของแม่ด้วย

4.4 ไม่ควรสั่งยาหลายขนานเกินความจำเป็น เพราะอาจจะเกิด drug interaction ได้

4.5 คำนวณขนาดยาตามน้ำหนักตัวเด็ก และต้องมีบันทึกในเวชระเบียนทุกครั้ง

- ขนาดของยา/นน.ตัว เช่น amoxycillin 50 มก.//กก./วัน

- รูปแบบของยาว่าเป็นขนาดใด, ขนานใด, บริหารออย่างไร, บ่อยเพียงใด

เช่น Syr. amoxillin (250 mg/tsp.)

Sig. 1 tsp o q 8 h

5. เขียนชื่อผู้สั่งยาให้ชัดเจน (ไม่จำเป็นอย่าใช้ลายเซ็นต์ เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับแพทย์ หากมีข้อสงสัย)

6. คำนึงถึงเศรษฐฐานะของผู้ป่วย ราคายาตลอดจนความสะดวกในการบริหารยาอยู่เสมอ

3. คำย่อที่ใช้ในการสั่งยา

4. มาตราชั่งตวงวัด

15-20 gtt = 1 ml

5 ml = 1 tsp

15 ml = 3 tsp = 1 table spoon

30 ml = 1 oz

16 oz = 1/2 quart หรือ 1 pint

32 oz = 1 quart หรือ ประมาณ 1 litre

1 grain = 60 mg.

ขนาดขวดยาที่ใช้บ่อย

5. ตำแหน่งในการฉีดยาเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง

1. ในเด็กเล็ก ต่ำกว่า 1 ปี นิยมฉีดที่หน้าขา (รูป A)

2. ในเด็กโต ถ้าปริมาณน้อยนิยมฉีดที่ต้นแขน (รูป B)

ถ้าปริมาณมากนิยมฉีดที่สะโพก (รูป C)

เอกสารอ้างอิง

1. ฉวีวัณณ์ จุณณานนท์ และกรุณา รัตนบรรณางกูร : การใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก 2530

2. ฉวีวัณณ์ จุณณานนท์ และคณะ ทัศนคติของประชาชนต่อวงการแพทย์

3. สถิติหน่วยผู้ป่วยนอก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

4. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ และ สุวิมล ณ บางช้าง : Price list. Common drugs used in

Ambulatory Pediatrics. Ambulatory unit, Pediatrics, Ramathibodi Hospital. Janurary 1, 1992.

5. Ambulatory Pediatrics VI. In: Green M, Haggerty RJ, eds Philadelphia: WB. Saunder

Co,1990.

6. Goodman and Gilman's The Pharmacolgical Basis of Therapeutics 7th ed. New York :

MacMillian Publishing Co.; 1985.

7. Nelson Textbook of Pediatrics : (Vaughan V.C. et al) 11th edition, Philadelphia : WB

Saunder