Insulin self injection

การฉีดอินสุลินด้วยตนเอง

Indication

1. T1DM

2. GDM

3. T2DM ที่ไม่ได้ผลจากการใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล

การเก็บรักษาอินสุลิน

• อินสุลินที่เก็บไว้ใช้นานๆ ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส โดยวางในตู้เย็น ยกเว้นช่องแข็ง

• อินสุลินที่เปิดฝาแล้วสำหรับใช้ฉีดทุกวัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ไม่เกิน 30 องศา) จะอยู่ได้นาน 1 เดือน

• เมื่อเดินทางไกล ไม่ต้องแช่ขวดอินสุลินในกระติกน้ำแข็ง เพียงระวังไม่ให้ถูกแสงแดด หรือความร้อนอบอ้าว หรือทิ้งไว้ในรถที่มีอุณหภูมิสูง

• ก่อนใช้ควรตรวจสอบป้ายแสดง วัน เวลา ยาหมดอายุข้างขวด

ชนิดของอินสุลินจำแนกตามการออกฤทธิ์

1. อินสุลินออกฤทธิ์ระยะสั้นมาก (น้ำใส) ได้แก่ Novorapid, Humalog, Glulisine

2. อินสุลินออกฤทธิ์ระยะสั้น (น้ำใส) ได้แก่ Actrapid, Regular insulin

3. อินสุลินออกฤทธิ์ระยะปานกลาง (น้ำขุ่น) ได้แก่ NPH, Humulin N

4. อินสุลินออกฤทธิ์ระยะยาวนาน (น้ำขุ่น) ได้แก่ Lantus, Detemir

5. อินสุลินออกฤทธิ์ผสมสำเร็จรูป (น้ำขุ่น) ได้แก่ Mixtard, Humulin 70/30, Novomix, Humalog mix

วิธีเตรียมยา

• อินสุลินชนิดน้ำใส ไม่ต้องคลึงขวดยา

• อินสุลินชนิดน้ำขุ่น ต้องคลึงขวดให้น้ำยาผสมกันดีก่อนฉีดยา

- นำขวดอินสุลินวางบนฝ่ามือแล้วคลึงไปมาเบาๆ ห้ามเขย่าขวด จะทำให้เกิดฟองอากาศ

- ในรายที่มือชาควรกำขวดยาไว้ในอุ้งมือ แล้วพลิกข้อมือไปมาเพื่อป้องกันขวดลื่นตก

ขั้นตอนการฉีดอินสุลิน

การบรรจุหลอดอินสุลิน • ถอดปลอกปากกา คลายเกลียว-ถอดส่วนกระบอกบรรจุออก • เช็ดแผ่นยางของกระบอกยาอินสุลินด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์แล้วบรรจุลงไปในกระบอกบรรจุยา • หมุนวงแหวนตามเข็มนาฬิกาให้ก้านสูบกลับเข้ามาจนสุด (อย่าดันก้านสูบลงมาเพราะจะทำให้อุปกรณ์เสียได้) • ประกอบส่วนของกระบอกบรรจุยาเข้ากับตัวด้ามปากกาแล้วขันเกลียวให้แน่นการใส่หัวเข็มฉีดอินสุลิน • ลอกแผ่นผนึกออก • สวมเข็มเข้ากับปลายปากกาด้านที่มีแผ่นยาง จากนั้นขันเกลียวให้แน่น • ดึงปลอกนอกออกการตั้งขนาดยา

• หมุนวงแหวนปรับขนาดยาให้ได้ตรงตามที่ต้องการ

• ถ้าท่านใช้อินสุลินชนิดน้ำขุ่น โปรดเขย่าช้าๆจะช่วยให้ยากระจายตัวสม่ำเสมอ

• ถอดปลอกในออกและพร้อมสำหรับขั้นตอนการฉีดยา

การฉีดอินสุลิน

• เตรียมยาฉีดอินสุลินให้พร้อมฉีด โดยบรรจุหลอดยาอินสุลินลงในปากกาสำหรับฉีดยาอินสุลิน สวมหัวเข็ม

• ยกป

ากกาตั้งขึ้น หมุนหัวเข็มไปทีละ 2 ยูนิต กดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะเห็นยาออกมาที่ปลายหัวเข็ม เป็นการไล่ฟองอากาศ • หมุนหัวเข็มไปที่ตัวเลขตามขนาดยาที่ต้องการฉีด • เช็ดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาอินสุลินให้สะอาดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แอลกอฮอล์ระเหยจนแห้งก่อนที่จะฉีดยา • ถอดปลอกเข็มฉีดยาออก แล้วจับผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาอินสุลินยกขึ้นเล็กน้อยโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งบีบผิวหนังเข้าหากัน • จับปากกาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง โดยใช้นิ้วโป้งแตะไว้ที่ปุ่มสำหรับกดให้ยาและใช้นิ้วมือทั้งสี่ที่เหลือกำด้ามปากกาไว้ จับปากกาให้อยู่ในแนวตั้ง ฉากกับผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาและแทงหัวเข็มลงสัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น

• กดปุ่มฉีดยาที่ปลายปากกาจนสุด ตัวยาอินสุลินจะถูกฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ดึงปากกาขึ้นเพื่อถอนเข็มฉีดยาออกจากผิวหนัง

• สวมปลอกเข็มกลับดังเดิม ถอดเข็มพร้อมปลอกเข็มออกจากปากกา แล้วนำชุดอุปกรณ์สำหรับฉีดยาอินสุลินไปเก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ควรเก็บให้

พ้นแสงและพ้นมือเด็ก

• หลังจากจบขั้นตอนการฉีดอินสุลินแล้ว ให้สวมปลอกนอกหัวเข็มแล้วบิดหัวเข็มทิ้งลงในถุงที่ปลอดภัย

• เข็มฉีดยาสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งจนกว่าจะมีอาการเจ็บเวลาฉีด ถ้าต้องการฉีดซ้ำให้สวมฝาครอบหัวเข็มไว้

• ไม่ควรใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดหัวเข็ม ซึ่งเคลือบสารกันฝืดไว้ จะทำให้สารหลุดลอกออก ทำให้ฉีดยาครั้งต่อไปรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกได้

• การใช้หลอดฉีดยาซ้ำหลายครั้งทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อน้อยมาก

• หลอดฉีดยาและหัวเข็ม เป็นของมีคมห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่น ทิ้งหลอดฉีดยาพร้อมหัวเข็มในภาชนะโลหะมีฝาปิดสนิท ป้องกันการแทงหรือตำผู้อื่น อาจใช้เครื่องมือสำหรับ

ตัด ทำลายหัวเข็มแยกบรรจุเก็บกักของมีคมอย่างปลอดภัย

• ถ้าตั้งปริมาณอินสุลินที่จะฉีดผิด ให้ท่านดึงส่วนกระบอกที่ใช้บรรจุอินสุลินและตัวด้ามด้านบนให้แยกออกจากกันค้างเอาไว้ กดปุ่มฉีดยาจนสุดแล้วปล่อยกระบอกและตัว

ด้ามคืนตำแหน่งเดิม จากนั้นจึงตั้งปริมาณอินสุลินที่ต้องการใหม่อีกครั้ง

การเลือกตำแหน่งสำหรับการฉีดอินสุลิน

• ลำดับการดูดซึมของยา จากมากไปหาน้อย ดังนี้

• หน้าท้อง(a) > ต้นแขน(c) > ต้นขา(b)

ความสัมพันธ์ระหว่างการออกฤทธิ์ของอินสุลินและมื้ออาหาร

• ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 15 นาทีถ้าฉีดอินสุลินออกฤทธิ์สั้นมาก และฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาทีถ้าฉีดอินสุลินชนิดออกฤทธิ์สั้น

• ควรฉีดยาและรับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวัน ไม่ควรฉีดยาแล้วเดินทาง การจราจรอาจทำให้การรับประทานอาหารล่าช้า

ข้อแนะนำในการฉีดยา

• ไม่ควรฉีดซ้ำตำแหน่งเดิมทุกวัน

• ตำแหน่งที่ฉีดใหม่ควรมีระยะห่างจากครั้งหลังสุดประมาณ 1 นิ้ว

• ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคจากผู้อื่นได้

• ก่อนฉีดยาแต่ละครั้งควรสังเกตปริมาณของยาที่เหลืออยู่อย่างคร่าว ๆ ก่อนว่าเพียงพอกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าเพียงพอก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนในการฉีดตามปกติ

ได้เลย หากไม่เพียงพอท่านอาจเปลี่ยนยาใหม่

จาก : http://sriphat.med.cmu.ac.th/thai/knowledge-13