Garlic

กระเทียม…….ยาฆ่าเชื้อ ลดโคเลสเตอรอล

กระเทียมเป็นส่วนหนึ่งในการปรุงอาหารไทยแทบทุกชนิด คนไทยทุกคนจึงรู้จักคุ้นเคยกับกระเทียมเป็นอย่างดี แต่ไม่ทุกคนที่จะรู้ว่ากระเทียมมีประโยชน์มากเพียงใด หากอ่านบทความนี้จบแล้ว เชื่อว่าหลายท่านที่ไม่รับประทาน หรือไม่ชอบกระเทียมคงหันมารับประทานกระเทียมอย่างแน่นอนที่เดียว

กระเทียม นอกจากจะเป็นเครื่องเทศให้กลิ่นหอม ช่วยกลบกลิ่นคาวในอาหารทั้งดิบและสุกแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ในกระเทียมมีสารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อ มีกลิ่นฉุนจะเกิดเมื่อเราทุบหรือบดกระเทียม หากทิ้งไว้นานๆ หรือปรุงสุก ฤทธิ์ยาก็จะหายไป

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระเทียม

1.พบว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ดีกว่าเพนิซิลลิน และเตตร้าซัยคลิน ซึ่งเป็นยาแก้อักเสบที่ใช้โดยทั่วไป นอกจากนี้ยัง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย, แผลติดเชื้อ, วัณโรค, ไทฟอยด์, เชื้อรา, กลากเกลื้อนด้วย

2.ช่วยลดการกำเริบของโรคหัวใจอีกด้วย โดยออกฤทธิ์ ช่วยลดโคเลสเตอรอล และเพิ่มสารสำคัญในเลือดบางตัวที่มีผลต่อการสลายลิ่มในเส้นเลือดยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือดทำให้ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด

พบว่า การทานกระเทียมสด 12 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้

คนทั่วไปหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ควรรับประทานกระเทียมประมาณ 50 กรัม หรือประมาณ 15 กลีบต่อวัน

มีการทดลองพบว่าการรับประทานกระเทียม 1 หัว (ประมาณ 9 กลีบ) ต่อวัน จะช่วยลดโคเลสเตอรอลได้โดยใช้เวลาประมาณ 4 เดือน และหลังจากโคเลสเตอรอลลดลงในระดับที่น่าพอใจแล้ว

การรับประทานกระเทียมสดวันละ 2 กลีบ ก็สามารถป้องกันการเพิ่มของโคเลสเตอรอลได้

วิธีใช้กระเทียมรักษาอาการต่างๆ ก็ต่างกันไปตามสูตรและสถานที่

เช่น ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย

ใช้กลั้วคอเพื่อฆ่าเชื้อในปากและลำคอ รักษาทอนซิลอักเสบที่เริ่มเป็น

และการใช้กระเทียมสดทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนและการทารอบๆ วันละ 3-4 ครั้ง

นอกจากนี้ยังมีการทดลองที่น่าสนใจ คือ แพทย์ชาวจีนใช้กระเทียมสกัดฉีดเข้ากระแสเลือด เพื่อรักษาโรคสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus ซึ่งมาจากนกพิราบได้

ประโยชน์จากกระเทียมมากมายขนาดนี้ ท่านที่ไม่นิยมรับประทานกระเทียมก็คงจะหันมาสนใจบ้างแล้ว เริ่มง่ายๆ จากอาหารที่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด

***หนังสือ Critical Review in Food Science and Nutrition เคยทดลองและสรุได้ในปี 1985 ว่า “ไม่พบว่าผลิตภัณฑ์สกัดของกระเทียมชนิดใดจะให้ผลการรักษาดีกว่ากระเทียมสด"***

อ้างอิง :

1. www.ittm.or.th

2. คู่มือสมุนไพร ฉบับย่อ (1) สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

REF. http://drug.pharmacy.psu.ac.th/wbfile/83254518310.DOC