Drug in pregnancy

การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์

Pregnancy Risk Category

องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States Food and Drug Administration ,FDA) ได้จัดแบ่งกลุ่มยาตามระดับความปลอดภัยต่อมารดาและทารกในครรภ์ ออกเป็น 5 ประเภท คือ Pregnancy Category A , B , C , D และ X

Pregnancy Category A สตรีมีครรภ์ใช้ได้อย่างปลอดภัย

มีการศึกษาในมนุษย์ ไม่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วง 3 เดือนแรก

ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่แสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ3 ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้

Pregnancy Category B สตรีมีครรภ์ใช้ได้อย่างปลอดภัย

จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์

แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ใน

Pregnancy Category C สตรีมีครรภ์ ใช้อาจไม่ปลอดภัย ก้ำกึง

จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์

ไม่มีการศึกษาในมนุษย์

ในหญิงตั้งครรภ์ 1-3 เดือน การใช้ยาขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ ระหว่างประโยชน์จากการใช้ยาและความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ ว่าจะเกิดผลอย่างไรมากกว่ากัน

Pregnancy Category D มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์

ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาแล้วว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ซึ่งมักจะเป็นการใช้ยาเพื่อช่วยชีวิตมารดาหรือเป็นการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่สามารถใช้ยาที่ปลอดภัยมากกว่าได้หรือไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

Pregnancy Category X ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์หรือในสตรีที่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์

จากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ และมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากยา

รายการยาที่ห้ามใช้หมวด pregnancy category X click ที่นี่

หลักการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์

1. การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์นั้น มีความจำเพาะคือ ยาอาจจะไปมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นแพทย์จะต้องรู้ว่าการใช้ยาชนิดหนึ่งจะปลอดภัยกว่าการใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง จึงต้องเลือกยาชนิดที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อนำมาใช้ในระหว่างตั้งครรภ์

2. ให้ใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่แนะนำให้ใช้ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคในผู้ป่วยได้ในระหว่างตั้งครรภ์

3. พยายามไม่ใช้ยาหลายชนิดพร้อมกันในการรักษาโรค (polytherapy) ในระหว่างตั้งครรภ์

4. พยายามเลือกใช้ยาชนิดเก่าที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นยามาตรฐานในการรักษา (gold standard) มากกว่ายาชนิดใหม่ แม้ว่าจะมีการอ้างสรรพคุณในการรักษาดีกว่ายาชนิดเก่า เพราะเรื่องความปลอดภัยในทารกในครรภ์นั้น มักจะยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ถ้าจะนำมาใช้ก็ต้องอยู่ในประเด็นที่ว่าไม่มียามาตรฐานชนิดอื่นๆ ให้เลือกใช้แล้ว หรือชั่งน้ำหนักแล้วเมื่อนำยาชนิดใหม่มาใช้แล้วจะได้ประโยชน์มากกว่าการเลือกใช้ยาชนิดเก่า

หมายเหตุ

The Medicines in Pregnancy Working Party of the Australian Drug Evaluation Committee (ADEC) โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่ม A เป็นยาที่สามารถนำมาใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือในระยะให้นมบุตร โดยที่ยาในกลุ่มนี้ไม่เคยพบว่า ทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นจึงสามารถนำยาในกลุ่มนี้มาใช้ได้อย่างปลอดภัย และยาในกลุ่มนี้ก็มีการใช้กันมาแล้วอย่างกว้างขวาง

กลุ่ม C ยาในกลุ่มนี้ถ้าพิจารณาตามเภสัชวิทยาของยาพบว่า อาจเป็นสาเหตุหรือเป็นที่สงสัยว่า เมื่อใช้ยาแล้วจะเกิดผลเสียในทารกนี้สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ โดยไม่เกิดความพิการให้ตรวจพบได้ ยาในกลุ่มนี้สามารถนำมาใช้ได้ แต่ต้องมีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นในการใช้ยา

กลุ่ม B1 ยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่มีการใช้กันยังไม่มากนักในหญิงตั้งครรภ์ หรือในระยะให้นมบุตร ไม่เคยพบว่าทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม และจากการศึกษายาในกลุ่มนี้กับสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่า เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะถูกทำลาย (fetal damage)

กลุ่ม B2 ยังมีการใช้น้อยในหญิงตั้งครรภ์หรือในระยะให้นมบุตร แต่ที่ต่าจากกลุ่ม B1 คือ ข้อมูลการใช้ยาในกลุ่มนี้ในสัตว์ทดลองยังมีจำกัด อย่างไรก็ตามข้อมูลที่มีในสัตว์ทดลองก็ยังไม่พบว่าเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะถูกทำลาย

กลุ่ม B3 ยังมีการใช้น้อยในหญิงตั้งครรภ์ หรือในระยะให้นมบุตร แต่ที่ต่างจากกลุ่ม B1 ก็คือ การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ตัวอ่อนจะถูกทำลาย อย่างไรก็ตาม ผลเสียที่เกิดชัดเจนในสัตว์ทดลองนั้น เมื่อพิจารณาในคนแล้วก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่าจะมีผลเสียต่อทารกในครรภ์

กลุ่ม D เป็นยาที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นสาเหตุ หรือสงสัยว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลเสียหรือเกิดความพิการนี้ไม่สามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้ นอกจากนี้ ยาในกลุ่มนี้ยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงทททางเภสัชวิทยาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้ก็ไม่เป็นข้อห้ามสมบูรณ์ในการนำมาใช้ในระหว่างตั้งครรภฺ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ยากันชัก ดังนั้น การใช้ยาในกลุ่มนี้จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

กลุ่ม X มีคุณสมบัติคล้ายยากลุ่ม D ยาในกลุ่มนี้เป็นข้อห้ามสมบูรณ์ในการนำมาใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ในกรณีที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ก็ห้ามนำมาใช้เช่นกัน เนื่องจากยาในกลุ่มนี้มีผลทำให้เกิดการทำลายตัวอ่อนอย่างถาวร (permanent damage)

References

http://competencyrx.com/index.php/2010-03-22-10-20-28/2010-09-16-14-07-36/108-2010-05-11-08-11-33