DM oral hypoglycemic dose

สรุป การใช้ยา และ ขนาด โดยย่อ

ยาเบาหวาน ชนิดรับประทาน(แบบกิน) ยากินเบาหวาน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาเบาหวาน

เป้าหมาย FBS 70-130 mg%, HA1c<7%, LDL<100mg%,TG<200mg%

เป้า แนะนำที่ HbA1C <6.5-7% หากทำได้ควร <6% โดยไม่ทำให้เกิดน้ำตาลต่ำที่เป็นอันตราย

***การใช้ยาไม่จำเป็นต้องให้ยาในระดับสูงสุด แล้วค่อยเริ่มตัวใหม่

***สามารถให้ตัวใหม่ควบได้เลย จะทำให้คุมน้ำตาลได้ดีกว่า และลดผลข้างเคียงจากระดับยาที่สูง

เริ่มด้วย metformin เป็น 1st drug ถ้าไม่มีข้อห้าม

เริ่มยาทีละตัว 3-6 เดือน จนเด็มที่แล้วไม่ได้ตามเป้าเพิ่มอีก 1 ตัว

ยาชนิดที่ 2 ที่ให้ไช้คือ glucagon like peptide-1(GLP-1) หริอ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน

แบ่ง 3 กลุ่ม

1.Insulin secretagogue เพิ่มการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน

1.1 Sulfonylurea gr. จับเบต้าเซลล์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน :

Chlorpropamide 250-500mg/d –T1/2 24-48 hr

Glibenclamide(daonil®5mg) Sig 1-3*1, 2-0-2 ac

Glipizide(minidiab®5mg) Sig 1-0,2-0,2-1,2-2 ac

Gliclazide(diamicron®80mg) Sig 0.5-3*1, 2-0-2 ac

ข้อควรใช้

ลด HA1C 1.5-2% อาจใช้เป็นยาแรกใน T2DM ที่ไม่อ้วน

ข้อระวัง

Chlorpropamide และGlibenclamide ชอบทำให้น้ำตาลต่ำ เลี่ยงใช้ในผู้สูงอายุ ไตบกพร่อง

Chlorpropamide ทำให้ Na ต่ำได้ กระตุ้นการหลั่ง ADH

การใช้ยาในระดับครึ่งหนึ่งของระดับสูงสุด มักได้ผลไกล้เคียงกับการให้ที่ระดับสุงสุด

ใช้ใน type 1 ไม่ได้ผลเนื่องจากตับอ่อนไม่มีอินซูลินให้ปล่อยออกมา

1.2 Non-sulfonylurea จับกับเบต้าเซลล์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนแต่จับคนละที่กับกลุ่มแรก :

Repaglinide

2.Insulin sensitizer ลดการดื้อต่ออินซูลิน

2.1 Biguanide gr. มีตัวเดียว ยับยั้งการสร้างกลูโคสจากตับ ระดับน้ำตาลอดอาหารลดและช่วยให้อินซูลินออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อดีขึ้น

Metformin(glucophage®)500mg

Sig 1*1-2*3pc ใช้เกินนี้ไม่ได้ผลเพิ่มขึ้น

STD พยายามให้แค่ 2*2pc ก็พอ 4-5 เม็ดพอ

ข้อน่าใช้

เป็นยาแนะนำให้ใช้เป็นชนิดแรกในการรักษาเบาหวาน

ลด HA1C ได้พอกับ sulfonylurea แต่ต่างที่ไม่ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากยาไม่กระตุ้นอินซูลิน

ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม เหมือนยากลุ่ม sulfonylurea

ลดภาวะ MI และลดการเสียชีวิตใน T2DM ได้ ลดระดับ TG ได้ด้วย

ผลข้างเคียง

คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รู้รส จะดีขึ้นเมื่อใช้ยา 2-3 สัปดาห์

Lactic acidosis ในผู่ป่วยไตบกพร่องต้องระวัง เนื่องจากยาขับทางไตอย่างเดียว หาก Cr >1.4mg/dl งดให้

และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยตับไม่ดีและหัวใจล้มเหลว จะเสี่ยงต่อ lactic acidosis

ให้หยุดใช้ยาก่อนให้ radiocontrast agent 48 ชั่วโมง เนื่องจากสารเหล่านี้ทำให้ไตบกพร่องชั่วคราว

2.2 Thiazolidinediones gr. :

กระตุ้น peroxisome proliferator activated receptor gamma ที่เซลล์ไขมันเป็นหลัก มีผลลดการดื้อต่ออินซูลิน

ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ดีขึ้นที่กล้ามเนื้อและไขมัน ทำให้การสลายไขมันลดลง

Troglitazone200mg

Sig 1-3*1pc

Rosiglitazone(Avandia)

Pioglitazone(Utmos30) 15-45 mg od ac หรือ pc ก็ได้ เกิด hypoglycemia น้อยกว่า avandia

ข้อดี การใช้ยาเดี่ยวจะสามารถชะลอระยะเวลาที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และต้องใช้ยาชนิดที่สอง ได้นานกว่ายาอื่นๆ

รายงานช่วยลดไขมันสะสมในตับ

ใช้ร่วมกับ กลุ่มอื่นได้

ผลข้างเคียง

1.น้ำหนักเพิ่ม บวม โดยเฉพาะการใช้ร่วมกับ insulin อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้

ในบางราย Hb ลดลง

ไม่แนะนำให้เป็นยาชนิดแรก เนื่องจากมีผลข้างเคียง

คือ เกิด Na retension ได้สูง ทำให้น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก ต้องระวังมาก

2.ความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

พบว่า Pioglitazone(Actos, Utmos etc.) มีหลักฐานเชิงประจักษ์ระบุอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพิ่มขึ้น 40% เมื่อใช้ยามากกวว่า 2 ปีขึ้นไป FDA ได้ระบุคำเตือนนี้ตั้งแต่ปี 2554

คำเตือนจาก อย.ไทย 1/2555 9/3/2555

1.CHF รุนแรง NYHA 3-4 ทำให้บวม หัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้น

2.หากใช้ร่วมกับ NSAIDs Coxib หรือ อิินซูลินเพิ่มความเสี่ยงต่อ CHF บวมน้ำ

3.ความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

4.หากมีอาการปัสสวะเป็นเลือด กลั้นไม่อยู่ ปวดตลอดเวลา ปวดหลัง ปวดท้อง ปรึกษาแพทย์

3.Alpha-glucosidase inhibitor : ต่างจากตัวอื่นๆ คือ ลดการดูดซึมน้ำตาลในทางเดินอาหาร

ที่ผนังลำไส้ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ทำให้น้ำตาลดูดซึมช้าลง

Acarbose(Glucobay50,100mg) Sig 0.5-1t*3 wm พร้อมอาหารคำแรก

Voglibose 0.6-0.9mg/d-T1/2 12hr

ข้อควรใช้

มีผลลดน้ำตาลหลังอาหารเป็นส่วนใหญ่

ใช้ร่วมกับ กลุ่มอื่นได้

ผลข้างเคียง

ท้องอืด แน่นท้อง ถ่ายเหลว ปวดท้อง ผายลมบ่อย

ข้อระวัง Cr>2mg/dl ห้ามใช้ ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหารอุดตันอักเสบไม่ควรใช้

4.DPP IV inhibitor (DPP:dipeptidyl peptidase) ยับยั้งเอนไซน์ที่ใช้ทำลาย glucagon-like peptide, glucose-dependent insulinotropic polypeptide ที่หลั่งจากลำไส้ ทั้งสองตัวมีผลกระตุ้นเบต้าเซลล์ให้หลั่งอินซูลินออกมาตอนกินอาหาร

Sitagliptin(januvia®) 100 mg od T1/2 8-14hr

Vildagliptin(Galvus) 50mg

Vildagliptin/Metfomin(Galvus Met ) 50/1000 mg 1t bid pc

ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับยากินอื่น

แนวทางการเลือกใช้ยากินเบาหวาน

1.เริ่มด้วย metformin

2.คนสูงอายุเลี่ยงที่ออกฤทธิ์ยาว chlorpropamide, glibenclamide

อายุมากกว่า 80 ปี เลี่ยงยา metformin เสี่ยงต่อ lactic acidosis

3.โรคไต เลือกยาที่มีฤทธิ์สั้น glipizide หรือ repaglinide หรือ ยาที่ไม่ขับทางไตเป็นหลัก repaglinide , thiazolidinediones

แต่ถ้า Cr clearance <15-20mg/dl ควรให้ยาฉีดแทน

4.CHF ห้ามใช้ thaiazolidinediones

5.ระดับน้ำตาลหลังอาหารสูง เลือกใช้ alpha-glucosidase inh., repaglinide, DPP-4inh.

6.เสี่ยง lactic acidosis(CHF, hypotension, infection) ห้ามใช้ metformin

ผลของยาที่กระทบต่อการรับประทานยา