Vibrio parahemolyticus

VIBRIO PARAHAEMOLYTICUS

Qx Dx:

1.ท้องร่วงรุนแรง ปวดท้องเกร็ง ไข้ อาเจียน(50%)

2.อุจจาระเหลวเหมือนกลิ่นกุ้งเน่า

3.มีประวัติ กินอาหารทะเลไม่สุก กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารที่ล้างด้วยน้ำทะเล หรือปนเปื้อนอาหารทะเล

QxRx: รักษาตามอาการ ให้ยาantibiotic เฉพาะรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันไม่ดี

สาเหตุ

-เกิดจากเชื้อVibrio parahaemolyticus

-เป็นแบคทีเรียที่ชอบเกลือเข้มข้นสูงในการเจริญเติบโต (halophilic vibrio) NaCl 1-8%(มากกว่า10%เชื้อตาย)

-serotype ต้องบอกทัง O และ K : แอนติเจนโอ ("O" antigen) มีต่างกัน 13 ชนิด , แอนติเจนเค ("K" antigen) มี 71 ชนิด

เช่น O3:K6 เป็นต้น

คุณสมบัติเชื้อ

ชอบ เค็มๆ อุ่นๆ 9.5-45 °C อยู่ในแพลงตอนได้

ทน

ทนเค็ม แต่ไม่เกิน 10%(NaCl)

ทนเย็น เนิ้อปู 1-15°C นาน 30 วัน, กุ้งปอกเปลือก 3-18°C นาน 6 วัน,หอยนางรมแช่แข็ง 40-130 วัน

ตาย

1.ทำลาย ที่ 60 °C ในเวลา 15 นาที

2.ทำลาย ด้วย กรด citric acid pH4.4 30 นาที

ก่อให้เกิดการระบาด จำนวนผู้ป่วยมากๆได้

ลักษณะของโรค

1.-ส่วนใหญ่ : ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ และ ปวดมวนท้องรุนแรง อาเจียน(50%) อาจshockได้

อุจจาระเหลวเหมือนกลิ่นกุ้งเน่า

2.-บางครั้ง : มีคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้และปวดศีรษะ

3.-บางครั้ง : คล้ายบิด ถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือเป็นมูก ไข้สูง ปวดศีรษะ และมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูง

ความรุนแรง

เป็นโรคที่ไม่ค่อยรุนแรง เป็นเฉลี่ย 1-7 วัน

ส่วนการติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกายพบน้อย อัตราตายน้อยมาก

การวินิจฉัยโรค stool culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อเฉพาะ

การติดต่อ

โดยการกินอาหารทะเล ที่ดิบ ไม่สุก หรือ ล้างด้วยน้ำทะเล หรือ ปนเปื้อนอาหารทะเลดิบ

ระยะฟักตัว

เฉลี่ย 12-24 ชั่วโมง รอเพิ่มจำนวนแล้วมีอาการ (4-30 ชั่วโมง) เชื้อแบ่งตัว 2 เท่า ทุก 10 นาที

ระยะเวลา ดำเนินโรค 1-7 วัน ส่วนใหญ่ดีขึ้นใน 3 วัน บางรายอาจเป็น 10 วัน

ระยะติดต่อ ไม่ติดต่อจากคนสู่คน

อาการและอาการแสดง

มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดปน

มักมีอาการภายหลังรับประทานอาหารทะเล ที่ปรุงไม่สุกพอ หรือ อาหารที่ปนเปื้อนอาหารทะเลหรือชะล้างด้วยน้ำทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อ

ระบาดวิทยา

พบประปราย และ การระบาดเป็นกลุ่มๆได้

การระบาดครั้งใหญ่ๆ มักที่เกิดจากอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก

มีการรายงานจากหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนที่อบอุ่นของปี

เป็นสาเหตุต้นๆ อันดับ 1-2 ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงจากอาหารเป็นพิษ

ในไทย

อัตราป่วยโรคอาหารเป็นพิษมีแนวโน้มสูงขึ้น

มีรายงานระบาดทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ หลายๆครั้ง

พบเชื้อ V.parahaemolyticusร้อยละ 50-60 ของจำนวนที่รายงานระบุเชื้อก่อโรค

ในรายงาน มีการระบุเชื้อก่อโรคเพียง 0.1-6 %

การรักษา

รักษาตามอาการ

ไม่แนะนำการให้ยาปฏิชีวนะ

ยกเว้นในกรณี

1.อาการรุนแรง ปวดหนัก

2.traveler's diarrhea

3.กลุ่มเสี่ยง septicemic เช่น cirrhosis, uncontrolled diabetes mellitus, immunocompromised hosts

ยารับประทาน

Adult

Tetracycline 500 mg qid * 3 day

Doxycycline 100 mg bid * 3 day

Norfloxacin 400 mg bid * 3 day

Pediatric ที่มีอาการรุนแรง

Tetracycline 25-50 mg/kg/day

Norfloxacin 10-20 mg/kg/day

Cotrimoxazole (trimetroprim) 10 mg/kg/day

Ref.

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=890