Vaccine

วัคซีนแต่ละตัว

1. วัคซีนบีซีจี BCG=Bacillus Calmette-Guérin

1) ฉีด 0.05-0.1 ml ID lt shoulder (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน)

2) ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นและไม่มีหลักฐานว่าเคยได้รับวัคซีนบีซีจี มาก่อน ให้ฉีดได้ทันที

3) หากเคยได้รับวัคซีนบีซีจีมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ไม่มีแผลเป็น

2. วัคซีนตับอักเสบบี

1) เด็กทุกคนต้องได้รับอย่างน้อย 3 ครั้งถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน

2) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นลบ หรือไม่ทราบ ให้ฉีดวัคซีน จำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และอายุ 6 เดือน

3) ทารกคลอดจากมารดาที่มี HBsAg เป็นบวก (โดยเฉพาะถ้า HBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ HBIG 0.5 มล. ภายใน 12 ชม. หลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่ 1 พร้อมๆ กันคนละตำแหน่งกับ HBIG วัคซีนครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน

4) ถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวกแต่ไม่มี HBIG ควรให้วัคซีนครั้งที่ 1 ภายใน 12 ชม. หลังคลอด ครั้งที่ 2 และ 3 ให้เมื่ออายุ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ

5) ในกรณีที่มาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg เป็นบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้รับวัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน

6) ในกรณีที่ใช้วัคซีนรวมที่มีคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และวัคซีนตับอักเสบบี สามารถให้ฉีด(หลังจากเข็มแรกเกิด) ที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือนได้ โดยถ้ามารดามี HBsAg เป็นบวก และทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีแบบเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย (รวมเป็น 5 ครั้ง)

7) ในกรณีเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปี สามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนที่ 0, 1, 6 ส่วนเด็กที่อายุ ตั้งแต่ 11-15 ปี อาจฉีดเพียง 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และเดือนที่ 4-6 โดยใช้วัคซีนขนาด 1.0 มล. เท่าผู้ใหญ่

8) เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของโรค (HBsAg +) อาจพิจารณาให้ตรวจ HBsAg และ anti-HBs เมื่ออายุประมาณ

3. วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน

a=acellar เลือกเอาเฉพาะ antigen ที่เฉพาะเจาะจงต่อการป้องกัน ของ pertussive

w= whole cell ป้องกันดีกว่าผลข้างเคียงมากกว่า

1) สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) ได้ทุกครั้ง

2) หากใช้ DTaP ควรใช้ชนิดเดียวกันทั้งสามครั้งเมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน หากไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ให้ใช้ชนิดใดแทนก็ได้

3) สำหรับเข็มกระตุ้นที่ 18 เดือน อาจใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้

4) เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจใช้ DTwP, DTaP หรือ Tdap ก็ได้

5) เด็กอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีด Td หรือ Tdap ไม่ว่าจะเคยได้รับ Tdap เมื่ออายุ 4-6 ปี มาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี

6) สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก 10 ปี ในผู้ใหญ่ ควรพิจารณาใช้ Tdap แทน Td หนึ่งครั้ง

4. วัคซีนโปลิโอ แบบกิน OPV แบบฉีด IPV

1) สามารถใช้ชนิดฉีด (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรูปของวัคซีนรวมกับคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง

2) หากใช้ชนิดฉีดอย่างเดียวโดยตลอด อาจให้เพียง 4 ครั้ง โดยงดเมื่ออายุ 18 เดือนได้

3) หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีด ต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV

4) การให้วัคซีนโปลิโอมากกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้

5. วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม

1) ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 -12 เดือนขึ้นไป และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยควรพิจารณาให้ฉีดเร็ว (อายุ 9 เดือน) ในที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีดช้า (อายุ 12 เดือน) ในที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี

2) การฉีดเข็มที่ 2 อาจให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 ½ ปี ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข (จากการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครั้งที่ 1-2556 วันที่ 28 มกราคม 2556)

3) ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มสองเร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน

4) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

6. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี

1) วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine) ปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนฯ ของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธุ์ P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC®) ทั้งสองชนิดฉีด 3 ครั้ง เริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือน เข็มต่อมา อีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปีตามลำดับ และสำหรับ MBV อาจพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้งห่างจากเข็ม 3 อย่างน้อย 4-5 ปี

2) วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธุ์ SA 14-14-2 ให้ฉีด 2 ครั้ง มี 2 ชนิด คือ CD-JEVAX® เริ่มฉีดที่อายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 3-12 เดือนต่อมา อีกชนิดคือ Chimeric JE (IMOJEV®) เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 2 อีก 12-24 เดือนต่อมา สามารถใช้วัคซีนชนิด live JE แทนชนิด MBV ได้ ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น

3) ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live JE ต่างชนิดทดแทนกัน

4) ในกรณีที่เคยได้รับ MBV มาก่อน และต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

||

ประวัติการฉีดวัคซีน MBV ในอดีต

7. วัคซีนฮิบ

1) ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิด คือ conjugate กับ PRP-T และ HbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน

2) การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง แต่ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง

3) ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮิบในเด็กปกติที่อายุ 2 ปีขึ้นไป

4) หากเริ่มฉีดช้า ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

||

อายุที่เริ่มฉีด

หมายเหตุ อาจไม่จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นในเด็กไทย *ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮิบ เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มก้นบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ

8. วัคซีนตับอักเสบเอ

1) มี 2 ชนิด คือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine

2) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน อาจใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง

9. วัคซีนอีสุกอีใส

1) ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน

2) อาจพิจารณาให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปีได้ในกรณีที่มีการระบาด โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน

3) พิจารณาให้ฉีดวัคซีนนี้แก่เด็กทุกคนที่อายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส

4) ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน

5) ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ในทุกครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 – 12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือน ทำให้มีโอกาสเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อน อย่างน้อย 1 เดือน และห่างจากวัคซีน VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน

10. วัคซีนไข้หวัดใหญ่

1) พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง เช่น เด็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง (รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่มี BMI > 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรัง เป็นต้น

2) ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดในครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกัน 1 เดือน ในกรณีที่ปีแรกได้ฉีดไปเพียงครั้งเดียว ปีถัดมาให้ฉีดสองครั้ง จากนั้นจึงสามารถฉีดปีละครั้งได้

3) ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 มล.)

11. วัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต

1) ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุกราน (invasive disease) หรือรุนแรง (severe) ดังตารางและในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสงค์จะป้องกันโรค

2) ในปัจจุบันมีวัคซีน ชนิด 10 สายพันธุ์ (PCV10) และ 13 สายพันธุ์ (PCV13) ให้ 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นที่อายุ 12-15 เดือน โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน หากเริ่มฉีดช้าให้ฉีดตามตาราง

3) ในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ในกรณีที่ได้มีการฉีดวัตซีน PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้ง พิจารณาให้ฉีด PCV13 อีก 1 ครั้ง ห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เพิ่มเติมขึ้น

||

อายุที่เริ่มฉีด

หมายเหตุ:

- PCV = Pneumococcal conjugate vaccine, PS-23 = 23-Valent pneumococcal polysaccharide vaccine

- *เด็กเสี่ยง คือเด็กที่มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ ได้แก่เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีม้าม ธาลัสซีเมืย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต เบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น CSF leak, cochlear implantation

- สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดในกลุ่มเสี่ยงแต่อาจพิจารณาให้วัคซีนได้

- *ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ควรได้รับวัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรให้ฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงประเภท ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้าม หรือธาลัสซีเมีย ควรฉีด PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้ง ห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อน แล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีด PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV

-ในเด็กปกติ อาจพิจารณาให้ฉีดแบบ 2+1 (รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2, 4, และ 12-15 เดือน

12. วัคซีนโรต้า

1) ชนิด monovalent ให้กิน 2 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน

2) ชนิด pentavalent ให้กิน 3 ครั้ง เมื่ออายุประมาณ 2, 4 และ 6 เดือน

3) วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้ เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์

4) ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ แต่หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง

5) สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้

6) ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน

13. วัคซีนเอชพีวี

1) มี 2 ชนิดคือ ชนิด 2 สายพันธุ์ (bivalent มีสายพันธุ์16, 18) และชนิด 4 สายพันธุ์ (quadrivalent มีสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18)

2) แนะนำให้ฉีดในหญิง อายุ 9-26 ปี (เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี) โดยฉีด 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2, และ 6

3) ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน

4) การฉีดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 26 ปี อาจพิจารณาให้ได้เป็นกรณีๆไป

5) การฉีดในเด็กผู้ชาย พิจารณาให้ฉีดเฉพาะชนิด 4 สายพันธุ์ ในช่วงอายุ 9-26 ปี โดยเน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรักชายอายุ 9-26 ปี

ที่มา . 1. http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=444