BCG vaccine

BCG vaccine

Qx: ได้ผลเฉพาะในเด็ก ป้องกันได้เพียง 50%

ผู้ใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องฉีด และ ใน endemic area ไม่สามารถป้องกันโรคTBในผู้ใหญ่ได้

การฉีดเข็มสองไม่มีประโยขน์

มีชนิดเดียว เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1921 ใช้มาเกือบ 100 ปีแล้ว

ค้นพบโดย Calmette and Guerin

ผลิตจาก Mycobacterium bovis ทำให้เชื้ออ่อนลง เป็นเชื้อมีชีวิต

ประสิทธิภาพ ขึ้นกับ

1.จำนวนเชื้อมีชีวิต เป็นผงแห้งละลายน้ำทิ้งไว้นานจะตายมาก ควรผสมฉีดภายใน 2 ชั่วโมง ดูดแล้วฉีดทันที

2.เชื้ออยู่ในร่างกายได้นานจนกระทั่งกระตุ้นภูมิ

3.เชื้อต้องสามารถกระตุ้นภูมิได้

ดังนั้นขึ้นกับการเลือก BCG ที่นำมาใช้เป็นสำคัญ แต่ก็ดูได้ยาก

การดูประสิทธิภาพทางคลินิก

1.ดู BCG scar มีแผลเป็นเกิดพบว่า ประสิทธิภาพป้องกันมี 53%

2.เด็ก 20-50% ที่ไม่มีแผลเป็น แต่ก็มีภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบันประสิทธิภาพโดยรวมมีประมาณ 50% เท่านั้น ถือว่าต่ำมากกว่าวัคซีนทั่วไป

ทั่วโลกลดอัตราตายจากวัณโรคได้แค่ 5% เท่านั้น

ไม่มีแผลเป็นต้องฉีดหรือไม่

ถ้ามีประวัติว่าได้รับการฉีดแล้วก็ไม่ต้องให้ซ้ำ ถึงไม่มีแผลก็ ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดอีก

-ยกเว้นว่าไม่เคยฉีดจริงๆ และควรฉีดก่อนอายุ 1 ปี เพราะอายุมากขึ้นมักได้รับเชื้อมาแล้ว

-หากไปสัมผัสเชื้อ mycobacterium อื่นๆแล้วจะได้ผลการป้องกันลดลงไปอีก

*ฉีดวัคซีนที่อายุ 10 สัปดาห์ สร้างภูมิได้ดีกว่าฉีดแรกเกิดเนื่องจาก เด็กมี immune ที่ mature มากขึ้น (การศึกษา ปี2009)

*การฉีดซ้ำที่อายุ 7-14 ปี ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำให้ภูมิเพิ่มขึ้น

*ใน endemic area BCG ไม่ช่วยลดอัตราการเกิด pulmonary TB ของหนุ่มสาว แม้จะกระตุ้น BCG ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มภูมิแต่อย่างได อาจเป็นเพราะได้รับเชื้อในธรรมชาติอยู่แล้วและเชื้อมันก็แรงกว่าเชื้อจากวั๕ซีนอยู่แล้ว

*การฉีดวัคซีนเข็มสองไม่มีประโยชน์

****วัคซีนมีประโยชน์เฉพาะเด็กแรกเกิดหรือคนที่ไม่เคยได้รับเชื้อ mycobacterium ใดๆมาก่อน****

****วัคซีนในเด็กป้องกันได้ 10-20 ปี เท่านั้นไม่สามารถป้องกันในผู้ใหญ่ได้

****คนที่เคยได้รับเชื้อ mycobacterium มาแล้วอาจเป็นหรือไม่เป็นโรค การให้วัคซีนจะไม่ได้ผล

สรุป ฉีดแรกเกิดแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดอีก ไม่ว่ามีแผลเป็นหรือไม่มีก็ตาม

เด็กไม่เคยฉีดและอายุเกิน 1 ปี ต้องการฉีดทำไง

(ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วไม่มีความจำเป็นต้องฉีดแล้ว)

ให้ทดสอบ TT ก่อน

1.ไม่มีรอยนูนอะไรเลย ให้ BCG ได้

2.นูนตั้งแต่ 15 มม ไม่น่าจะมาจากการฉีดวัคซีน ให้ตรวจหา TB และรักษา ถ้าไม่พบอาจเป็น latent TB หรือระยะแฝงให้รักษา INH 6-9 เดือน

3.รอยนูน 1-9 มม. อาจเป็นผลจาก BCG หรือ ยังไม่ติดเชื้อ อยากฉีด BCG เพิ่มก็ได้ แผลจะใหญ่กว่าคนที่ไม่เคยฉีด

4.รอยนูน 10-14 มม. อาจเป็นผลจาก BCG หรือ การติดเชื้อ ไม่แนะนำให้ฉีด BCG

อาการหลังฉีด

2-3 สัปดาห์ รอยนูนแดง 5-15 มม.

แล้วเริ่มแตกเป็นแผล นีมลง 3-4 สัปดาห์ และ crust หลุดไป 6-10 สัปดาห์ กลายเป็นแผลเป็น 3-7 มม

ไม่ควรเกิน 10 มม.

แผลอักเสบไม่ควรเกิน 3 เดือน

การรักษา หากต่อมน้ำเหลืองไกล้เคียง(รักแร้)เป็นหนอง หลังฉีด

ดูดหนอง ยาerythromycin, cloxacillin

หรือให้ยา INH โรยที่แผลโดยตรงได้

หรือแค่สังเกตอาการ ผลไม่ต่างกัน

หากนำไปเพาะเชื้อจะได้ M.Bovis หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

ผลข้างเคียง

1.ต่อมน้ำเหลืองไกล้เคียงโต 0.1-38/1000 dose

2.การติดเชื้อที่กระดูก 0.01-330/100,000 dose

3.disseminated BCG 2/1,000,000 dose

แต่ก็พบน้อยกว่าการเสี่ยงเป็น วัณโรค

สรุปเรื่อง BCG/BCG lymphadenitis

1. มีประวัติว่าฉีดวัคซีนแล้ว แต่ไม่พบ scar ไม่ต้องฉีดใหม่ ทุกอายุ

หากเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ไม่แนะนำให้ฉีดจะมี reaction มาก

2. BCG abscess ที่หัวไหล่ เป็น reaction ปกติ ไม่ต้องให้ยา ไม่ต้อง drain ให้คำแนะนำ เมื่อหายจะเป็นแผลเป็นที่หัวไหล่ ขนาดไม่ใหญ่

3. BCG lymphadenitis อันนี้มักชอบเกิดที่รักแร้ เด็ก 3-8,9 เดือน สบายดีทุกอย่าง แต่พ่อแม่กังวลมาก บางคนเจาะเจอ AFB ถึงกับได้ยาชุดใหญ่รักษา TB ไปเลย ซึ่งจริงๆ แล้ว มีแนวทางคือ

-ถ้าขนาดเล็กไม่เกิน 3 cm ให้ INH 3-6 เดือน พร้อมกับ reassurance ขนาดจะไม่ใหญ่ขึ้นและยุบในที่สุด

-แต่ถ้าค่อนข้างใหญ่ fluctuate นอกจาก INH อาจจะดูดหนองออก(ไม่ใช่I&D)

และให้ทาน INH dose ปกติ 10 มก/กก/วันละครั้ง เดี๋ยวก็ค่อยๆ ยุบ

INH บดผสมน้ำได้ แต่ห้ามกินกับนม

Reference

คู่มือ child TB ประเทศไทย:chapter เรื่อง BCG

อนาคตรอวัคซีนตัวใหม่ กำลังศึกษากันอยู่มากมายหลายสถาบัน ต้องรอก่อน