RSV virus

โรค RSV โรคไวรัสอาร์เอสวี หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจอาร์เอสวี(Respiratory syncytial virus infection ย่อว่า RSV infection)

เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสชื่อ

Respiratory syncytial virus ย่อว่า RSV

-เป็นไวรัสในสกุล Pneumovirus

-อยู่ในวงศ์ Paramyxoviridae

โดยเป็นไวรัสที่พบในคน(มีคน เป็นโฮสต์/Host) โดยมักพบอยู่ในโพรงหลังจมูก

และจากการศึกษาพบว่าไวรัสนี้สามารถก่อโรคได้ในสัตว์หลายประเภท

เช่น หนูชนิดต่างๆ ตัว Ferret และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แกะ

ไวรัสอาร์เอสวีแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย(Subtype) คือ

ชนิด เอ/A และชนิดบี/B

ชนิดย่อย A มักมีความรุนแรงสูงกว่าชนิดย่อย B

ไวรัสอาร์เอสวี เป็นไวรัสที่มีชีวิตอยู่ในคน และขณะอยู่ในคน/ผู้ป่วย

ไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้นานประมาณ 3-8 วันนับจากวันที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ

แต่สามารถอยู่ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค(ภูมิคุ้มกัน)ต่ำ

และแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้นานถึง 4 สัปดาห์

ทั้งนี้ ไวรัสนี้เมื่ออยู่นอกร่างกายคน จะชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-7 วัน

ขึ้นกับอุณภูมิและความชื้นของสถานที่นั้นๆ

โดยทั่วไป ไวรัสอาร์เอสวีตายได้ง่ายใน สภาวะที่แห้ง สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง

โดยสามารถฆ่าไวรัสนี้ได้จากความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส(Selsius) นานตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป หรือ จากน้ำยาฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ เช่น Formalin, Sodium hypochlorite, 1% Iodine และในสภาวะที่มีความเป็นกรด(pHน้อยกว่า 7)

โรคอาร์เอสวี พบได้ตลอดปี แต่พบสูง/เกิดได้ชุกขึ้น หรือมีการระบาดได้ตามฤดูกาล โดยในเขตร้อนที่รวมถึงประเทศไทย โรคพบสูงขึ้นในฤดูฝน แต่ในประเทศเขตหนาว มักพบโรคสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงตลอดฤดูหนาว

โรคอาร์เอสวี เป็นโรคพบทั่วโลก พบได้ในคนทุกอายุ ทุกเพศ ไม่ต่างกันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย รวมถึงในทุกเชื้อชาติ แต่พบได้สูงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่แออัด เช่น ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก

โรคอาร์เอสวี เป็นโรคพบได้บ่อย แต่สถิติการเกิดที่แน่นอนยังไม่แน่ชัด เพราะอาการโรคจะคล้ายโรคหวัด และโดยทั่วไปโรคจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยปกติทั่วไปจะหายได้เองเหมือนโรคหวัด แพทย์จึงมักวินิจฉัยรวมอยู่ในโรคหวัด

อย่างไรก็ตามในสหรัฐอเมริกา

-มีรายงานพบโรคอาร์เอสวีได้สูงในเด็กวัย 2-8 เดือน

-โดยในแต่ละปีพบโรคนี้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปีประมาณ 4.5 ล้านราย

และที่มีอาการรุนแรงขั้นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลพบได้ปีละประมาณ 125,000 ราย

ที่มา

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B5/