Erythema infectiosum

Erythema infectiosum หรือ Fifth disease

Qx Dx: ผื่นตบหน้า ผื่นผ้าลูกไม้

โรคที่ห้า

ชื่อเดิม เรียก fifth disease เนื่องจากมีผู้อธิบายโรคนี้ไว้ในอันดับ 5 (Scarlet, measle, rubella, pseudoscarletina(Filatow-Duckes disease), และ fifth disease)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Parvovirus B19 อยู่ในสกุล Parvovirus สกุลนี้ปกติก่อโรคในสัตว์มีตัวนี้เท่านั้นก่อโรคในคน

การติดต่อ สารคัดหลั่งน้ำมุก น้ำลาย ไอจาม หรือ จากมารดาไปยังทารกในครรภ์

อายุ เด็กวัยเรียน

ระยะฟักตัว 4-20 วัน หลังการติดเชื้อ

ระยะติดต่อ เริ่มมีอาการจะผื่นออก

อาการและอาการแสดง

มากกว่า 50 % ของผู้ติดเชื้อ ไม่มีอาการใดๆ

Clinical

แบ่งได้ 3 ระยะ

1.Slapped cheeks : 1-4 days

2.Lacy reticulate erythema on the extremities

3.characteristic :Rash waxes and wanes for several weeks เป็นๆหายๆ

อาการในเด็ก

ผื่นแดงที่แก้มทั้งสองข้าง เหมือนโดนตบหน้า และลามไปที่มือ ที่มือและแก้มจะมีอาการคัน ระคายเคิอง

หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผื่นจะกลายเป็น reticulate หรือ lattice-like แล้วจางลง เด็กเล็กจะมีไข้ต่ำๆ

ผู้ใหญ่ อาจไม่ปรากฏอาการใดเลย อาจเป็นแค่ผื่น ไข้ต่ำๆ ปวดตามข้อหรือบวมบ่อยกว่าเด็ก อาการปวดข้อจะหาย 1-2 สัปดาห์

ลักษณะผื่น

-ผื่นแดงเป็นผื้นที่แก้ม จมูก คล้ายถูกตบ(slapped cheek appearance)จะขึ้นหลังเป็นไข้ 1-14 วัน

-ขึ้นที่แก้มแล้วลามต่อไปตามตัว สะโพก เป็นผื่นลายแดงเหมือนสวมผ้าลูกไม้ทั้งตัว ผื่นจะอยู่ 2-3 วัน

-ผื่นจะกลับมาอีก และเป็นๆหายหลายสัปดาห์หากได้รับการกระตุ้นจากความเครียด อารมณ์ แสงแดด เนื่องจากมีผื่นที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัสโดยตรง แต่เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิต้านทานกับเชื้อ

ในผู้ใหญ่มากกว่า 50% จึงมีอาการปวดข้อร่วมด้วย

โดยทั่วไปโรคนี้หายได้เองใน 7-10 วัน

ภาวะแทรกซ้อน

1.*Hydrops fetalis in pregnancy

การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ 90% ทารกจะคลอดมีชีพปกติ ปกติจะไม่มีอาการอะไร

-Fatal infection ทำให้เกิด hydrop fetalis และเกิด fetal death ได้พบ 1-9 %

มักตายในครรภ์(5%)มากกว่าตายหลังคลอด(1%)

-ไม่มีหลักฐานว่าทำให้ทารกพิการหรือปัญญาอ่อน

-ไม่แนะนำให้มีการติดตามการติดเชื้อparvovirus B19ในสตรีมีครรภ์เพราะความเสี่ยงต่ำ

-ส่วนใหญ่หญิงมักมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วมากกว่า 50 %

2.*Arthralgia and arthritis 8-10%

ข้ออักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ เชื่อกันว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

3.เด็กเล็กต่ำกว่า 1 ปี อาจพบอาการทางสมองได้

4.*severe anemia

โลหิตจางรุนแรง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและรุนแรงแต่พบน้อย ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและให้เลือด

5.immunocompromised

ทำให้เกิด chronic infection มีภาวะซีดรุนแรง เป็นๆหายๆได้ และเป็นแหล่งโรคต่อเนื่องได้

6.ผู้ป่วยที่มี RBC survival time สั้นอยู่แล้ว โอกาสเกิด aplastic crisis และเป็นแหล่งโรคต่อเนื่องได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อ สามารถตรวจพบไวรัสในเลือดได้ถึง 4-5 เดือนหลังการติดเชื้อ

2.Igm(เริ่มบวก day 3 - 2 ถึง 3เดือน) และ IgG(บวกหลังมีไข้ 2-3 วัน จนตลอดชีวิต) โดยวิธี Elisa

การรักษา

หายได้เองในผู้มีภูมิคุ้มกันปกติ หายได้เองใน 1-2 สัปดาห์

ในผู้ป่วย aplastic anemia ระวังการให้เลือดและรักษาประคับประคอง

ในผู้ป่วยภูมิคุ้มบ่กพร่องที่มีภาวะซีดเรื้อรัง หากลดยากดภูมิได้ ก็ควรทำ หากไม่ได้อาจให้ IVIG ในขนาด 0.4 gm/kg * 5 วัน q 4 สัปดาห์ ตลอดไป

การป้องกัน

ไม่มีวัคซีน ให้ล้างมือบ่อยๆ

Ref.**

http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJM199410203311605

http://www.idthai.org/microbiology/download/Parvovirus.pdf prasert tong

http://www.mhcs.health.nsw.gov.au/publicationsandresources/pdf/publication-pdfs/7165/doh-7165-tha.pdf nsw

http://mutualselfcare.org/medicine/infectious/erythema_infectiosum.aspx

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=400 0

http://medinfo.psu.ac.th/pr/MedBoard/readboard.php?id=751 0

http://hardinmd.lib.uiowa.edu/fifthdisease.html 0

http://emedicine.medscape.com/article/1132078-overview