Rubella

Rubella

โรคหัดเยอรมัน

ปัญหาสำคัญ คือ congenital rubella ซึ่งจะติดระหว่างการตั้งครรภ์ เชื้ออยู่ในลำคอและออกมาทางปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี แพร่โรคได้

Rubellaหรือ German measles พบโดยแพทย์ชาวเยอรมัน De Bergan และ Orlow 1750

ในอดีตจัดอยู่ในกลุ่ม three day measles

Rubella มีรากศัพท์จากภาษาละตินแปลว่า “little red”

สาเหตุ rubella virus : RNA virus ใน family Togaviridae

อุบัติการณ์ พบบ่อยในเด็กโต และวัยรุ่น ช่วงอายุที่พบมากสุด 5-9 ปี(บางpaper 0-4ปี) ผู้ใหญ่จะมีภูมิแล้ว 80-90% ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ

พบได้ตลอดปี ช่วงที่พบมาก มกราคม- เมษายน สูงสุดเดือนกุมภาพันธ์ ต่ำสุดเดือนธันวาคม

การก่อโรคแบ่ง 2 แบบ

1.acquired

2.congenital

การติดต่อ

-Airborne หรือ Droplet transmission ทางเดินหายใจ เชื้อในน้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย หรือ direct contact สารคัดหลั่ง

-การสัมผัสผื่น ผิวหนังไม่ทำให้เกิดติดต่อ ติดง่ายแต่ยากกว่าหัด

-ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่ทำให้ติดเชื้อหัดเยอรมันง่ายขึ้นไม่เหมือนโรคหัด

ระยะติดต่อ 2-3 วันก่อนผื่น - 7 วันหลังผื่นขึ้น

ระยะฟักตัว 14-21 วัน เฉลี่ย 16-18 วัน

เชื้อเข้าทางเดินหายใจ เข้ากระแสเลือด ไปต่อมน้ำเหลือง ตับม้าม เพิ่มจำนวน เข้ากระแสเลือดอีกครั้ง แล้วกระจายตัวไประบบต่างๆ ตรวจพบเชื้อใน เลือด ปัสสาวะ CSF

อาการทางคลินิก 20-50% ไม่แสดงอาการหลังได้รับเชื้อ

ทารกในครรภ์ ติดเชื้อในครรภ์ คลอดออกมาพิการ

ทารกที่ติดเชื้อในครรภ์ และคลอดเป็น congenital rubella อาการแล้วแต่ระยะที่แม่ติดเชื้อ

1-4 สัปดาห์ พบความพิการ 30-50 %

5-8 สัปดาห์ พบความพิการ 25 %

9-12 สัปดาห์ พบความพิการ 8 %

ลักษณะความพิการที่พบ : ตาเล็ก ต้อกระจก ต้อหิน หัวใจ หูหนวก สมองศีรษะเล็ก แรกเกิดมีตับม้ามโต ตัวเหลืองจ้ำเลือด เกร็ดเลือดต่ำ

เด็กเล็ก เริ่มด้วยต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ต่ำๆ มักต่ำกว่า 38.4c ปวดเมื่อย ตาแดงไม่มีdischarge ไม่กลัวแสงเหมือนโรคหัด แผลที่เพดานอ่อน(Forchheimer spots) มีผื่นวันที่ 3 หลังมีไข้

ในเด็กเล็กอาจมีเพียงผื่นอย่างเดียวโดยไม่มีอาการไข้

วัยรุ่นผู้ใหญ่ มักเจ็บคอ ปวดตา ปวดศีรษะ ไข้สูงกว่าเด็ก ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นหลังมีอาการนำ 1-5 วัน บางรายคล้ายไข้หวัด และ 70% มีอาการปวดข้อ หรือข้ออักเสบร่วมด้วย และอาจปวดข้อได้นานเป็นเดือน บางรายปวดอัณฑะร่วมด้วย

ลักษณะเด่น

ต่อมน้ำเหลืองโตที่ suboccipital , retroauricular, posterior cervical พบ 24 ชั่วโมงก่อนผื่นออก จนถึง 1 สัปดาห์หลังออกผื่น แต่ผู้ป่วยที่ออกผื่นจะพบเพียง 50 %

ลักษณะผื่น maculopapular rash สีชมพูเล็กๆ อาจมีผื่นใหญ่บ้างเล็กบ้าง คันเล็กน้อย กระจายเริ่มจากหน้า ลงมาตามคอ แขน ลำตัว ขา อย่างรวดเร็วใน 24 ชั่วโมง ชัดเจนที่แขนขา และหายไปใน1- 2 วัน ผื่นที่หน้าเริ่มจางหายไป ไม่ทิ้งรอยรอย ผื่นทั้งหมดมักหายใน 3 วัน

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.Rubella IgG, Rubella IgM โดยการตรวจเลือดหา

การวินิจฉัยโดยการตรวจพบ Rubella IgM หรือ 4-fold rising IgG ใน acute หรือ convalescent serum

2.ตรวจเพาะเชื้อ rubella จาก nasal secretions และจากที่อื่นเช่น น้ำไขข้อ น้ำคร่ำ ปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อน มักเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

1. ข้ออักเสบ ในเด็กพบได้ร้อยละ 20 พบในผู้หญิงมากกว่า มักจะเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ หรือข้อเข่า มักเกิดในวันที่ 2 หรือ 3 ของโรค ซึ่งตรงกับระยะที่ผื่นจางลง อาการมักหายไปได้เองภายใน 7 – 10 วัน

2. เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)พบได้ 3 ใน 10000 ราย โดยส่วนใหญ่หายได้เอง พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ พบได้นานหลายสัปดาห์จนหลายเดือน

3. สมองอักเสบ (acute encephalitis) พบได้ 2 ใน 10000 ราย โดยมีอาการภายใน 4 วันหลังจากผื่นออก พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 20-50%

4.ตับอักเสบ,หัวใจเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีรายงานแต่พบได้น้อยไม่รุนแรง

การรักษา รักษาประคับประคองตามอาการ

การป้องกัน

ฉีดวัคซีน MMR ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด live attenuated vaccine

1.สำหรับเด็กอายุ 9 เดือนตามโปรแกรม หรือ ให้ในเด็กอายุ > 1 ปี

2.ในกรณีหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน สามารถให้วัคซีนได้แต่ไม่ควรตั้งครรภ์ภายใน 28 วัน หลังฉีดวัคซีน

3.หญิงตั้งครรภ์สัมผัสเชื้อ ตรวจหา IgG, IgM หากมีภูมิไม่น่าติด แนะนำตรวจซ้ำ ห่างจากครั้งแรก 2 และ 6 สัปดาห์ ผลลบสองครั้งไม่ติดเชื้อ การให้ IG รักษาในหญิงตั้งครรภ์ ไม่สามารถป้องกัน viremia ได้ เพียงแต่ลดอาการ อาจให้ในกรณีที่มีข้อจำกัดการทำแท้งเท่านั้น

Ref.

1.http://www.doctor.or.th/article/detail/5359

2.http://www.pidst.net/userfiles/28_%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99.pdf

3. http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/29

4. http://emedicine.medscape.com/article/968523-overview#showall

5.http://www.sbo.moph.go.th/moph/develop/rabad/vichakan_dis/rubella.html

6.http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99/

7.http://www.pth.go.th/a/Health9.pdf

8.http://www.uptodate.com/contents/overview-of-torch-infections

9.http://www.aafp.org/afp/2006/0301/p907.html