Rubella Vaccine in Adult

อุบัติการณ์ของโรคหัดมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเด็กเล็กภายหลังมีการใช้วัคซีนในเด็ก

อย่างแพร่หลาย สำหรับหัดเยอรมันและคางทูมอุบัติการณ์ของโรคมีแนวโน้มลดลงในประเทศไทย

เช่นกัน

แม้ว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีนหัดจะอยู่นาน

แต่ปรากฏว่ามีรายงานผู้ใหญ่ที่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนมาก่อนในวัยเด็กป่วยเป็นโรคหัด

สำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคหัด

ได้แก่

1.-ไม่เคยฉีดวัคซีน

2.-ไม่เคยเป็นโรคหัดมาในอดีต

3.-ตรวจไม่พบภูมิต้านทานต่อโรคหัด

ควรได้รับวัคซีนหัด

แนะนำให้ฉีดวัคซีนหัด-คางทูม –หัดเยอรมัน

(MMR) 1 เข็ม และ กระตุ้นอีก1

เข็มห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์

ในกรณี

1.ผู้ที่เรียนระดับอุดมศึกษาสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคหัด หรือ

2.ในขณะนั้นกำลังมีโรคหัดระบาด

3.นักเรียนที่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ

4.บุคลากรทางการแพทย์

5.ผู้ที่เคยรับวัคซีนป้องกันโรคหัดมาเพียง 1 เข็มในวัยเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีน

โดยแนะนำ

MMR ฉีด 1 เข็ม และ อาจกระตุ้นอีก 1 เข็ม

ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์

เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงเพียงพอ

ในการป้องกันโรคโดยทั่วไปการตรวจภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนครบไม่มีความจำเป็น

ที่มา

คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

(Recommended Adult and Elderly Immunization Schedule)

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561

linkด้านล่าง