Hand Foot and Mouth Disease

Hand foot And mouth disease

โรคมือเท้าปาก

Qx dx: ไข้ ตุ่มน้ำหรือแผลที่ปาก มือ เท้า

***พบที่-มือ เท้า ปาก และก้น (อีสุกอีใส-จะกระจายทั้งตัว)

Qx rx: รักษาตามอาการ ยกเว้นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงให้นอนร.พ.

Hand -foot- mouth disease

**ดูรูปผ่าน** **google**

-เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันทำให้ เกิดตุ่มน้ำใสที่มือเท้าปาก ก้นและอวัยวะเพศ

-เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ตัวที่อันตรายสุดคือ EV 71 ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้

-เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการ ที่เกิดจากเชื้อ enterovirus(EV)

โรคในวัว-โค จะเป็น Foot-Mouth disease เพราะวัวไม่มีมือ
การเรียกชื่อโรค เป็นคลินิกคอลไดแอกโนซิส
กรณี EV71 ผื่นน้อยแต่มีความเสี่ยงอาการหนักกว่า ผื่นน้อยแต่ต้องระวัง
กรณี CoxA6 ผื่นมากแต่มีความเสียงอาการน้อยกว่า ผื่นมากแต่ไม่น่ากลัว ดูผื่น

ประวัติ

2500 เกิดการระบาดของอาการไข้ ตุ่มน้ำไสในช่องปากมือเท้าในเด็ก พบสาเหตุจาก Coxsackies viras(Cox) A16
2502 เกิดการระบาดที่อังกฤษ เรียกว่า Hand-Foot-Mouth Disease
2555 ระบาดในเขมร เด็กเสียชีวิตจำนวนมาก การเดินทางข้ามประเทศต้องมีการตรวจมือเท้าปากกัน เกิดจาก EV71

https://www.thairath.co.th/news/foreign/274662

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เกิดจากกลุ่ม enterovirus ในวงศ์ picornavirus เชื้อที่พบบ่อยสุดคือ Cox A16 รองลงมาคือ EV71

ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เชื้ออื่นที่พบประปราย Cox A4-7,Ag,A10,B2,B5 และ Echovirus

ความรุนแรง

เชื้อ Enterovirus 71 เป็นตัวที่รุนแรงและมักพบภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าตัวอื่น พบถึง 57% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เช่น aseptic meningitis, encephalitis, polio-like syndrome, encephalomyelitis, cerebellitis, pulmonary edema และ เสียชีวิตหรือพิการได้

กรณีเสียชีวิตจะรวดเร็วมาก เช่น เป็นไข้ 1-2 ก็สามารถเสียชีวิตได้ และ พบได้ในเด็กที่แข็งแรงดี

ในขณะที่ Cox A16 พบภาวะแทรกซ้อนเพียง 4% เท่านั้น

ระบาดวิทยา

ช่วงเวลา ไทยพบตลอดทั้งปี แต่พบมากช่วงฤดูฝน และช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น

เชื้อที่พบในไทย Cox A16, EV71(15-30%), Echovirus และ enterovirus อื่นๆ

พบมาก 2 ตัว Cox A16, EV71

2555-2559 พบ EV 71 เป็นสาเหตุหลัก

2559 พบ Cox A 16 เป็นสาเหตุหลัก

2560 พบสองตัวพอกัน ส่วนตัวอื่นที่พบ CoxA10,CoxA6 เล็กน้อย

2565 ปีที่3โควิด2022 มีระบาดหลังเปิดเทอมช่วงสค-กย เชื้อ CoxA6 เป็นผื่นมากแต่อาการน้อย

การติดต่อ

การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ ตุ่มน้ำใส และอุจจาระผู้ป่วย

ระยะติดต่อ

สัปดาห์แรกที่มีอาการ จนรอยโรคหายไป แต่ในอุจจาระพบต่อ 2-3 สัปดาห์

เนื่องจากเชื้อโตและแบ่งตัวที่ payer patch ของลำไส้ได้

ระยะฟักตัว 3-6 วัน จะเริ่มมีไข้ ตุ่มน้ำใส

พยาธิวิทยา

เข้าทางปากทางเดินหายใจ à เชื้อเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำเหลืองของทางเดินหายใจส่วนบนและระบบทางเดินอาหารà เริ่มเข้ากระแสเลือด กระจายไปเยื่อบุปาก มือเท้า เป็นตุ่มใส àเชื้อเข้ากระแสเลือดมากขึ้น ไปที่ระบบประสาทส่วนกลางàประมาณ 7 วันภูมิต้านทางมากขึ้นไวรัสเริ่มลด อาการดีขึ้น

อาการและอาการแสดง

โดยทั่วไปจะมีอาการไม่มาก แค่มีไข้ต่ำๆ กับ ตุ่มที่มือเท้าปาก

ลักษณะอาการ เริ่มมีไข้ต่ำๆ 38-39c ครั่นเนื่อครั่นตัว 1-2 วัน เริ่มเจ็บปาก

มีตุ่มที่ปากมือเท้าได้

ลักษณะรอยโรค

ที่ปาก: รอยโรค 5-10 แห่ง (พบ100%) พบทั่วในช่องปาก เพดาน ลิ้น กระพุ้งแก้ม

เริ่มรอยแดง 2-8mm เปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำเล็กขอบแดง อาจตรวจไม่พบตุ่มน้ำเนื่องจากแตกเร็ว แต่เห็นเป็นแผลตื้นๆ ส่วนใหญ่ไม่เจ็บปากมาก หายได้เองโดยไม่ต้องรักษาใน 5-10 วัน

ที่ผิวหนัง: เกิดพร้อมที่ปากหรือหลังเล็กน้อย พบ 2-3จุด ถึง 100 จุด ที่มือมากกว่าเท้า ที่อื่นก้น แขน ขา อวัยวะสืบพันธุ์พบได้เช่นกัน

เริ่มรอยแดงๆ 2-10 mm บางรอยนูนตรงกลางสีเทา

บางรอยตุ่มน้ำใสขอบแดง กระจายตามแนวของผิวหนัง 2-3 วันตกสะเก็ด

หาย 7-10 วัน ไม่มีแผลเป็น

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

1.อายุน้อย จะมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง

2.ไข้สูงมากกว่า 39 เกิน 3 วัน

3.อาเจียนมาก กินไม่ได้

ภาวะแทรกซ้อน

ไข้สูง ซึม หอบ อาเจียนต้องระวัง


1.ระบบประสาท สมองอักเสบ

มักมีอาการ 2 วันหลังไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง เดินเซ มือสั่น ชัก แขนขาอ่อนแรง ความรู้สึกตัวเปลี่ยน

CSF: lymphocyte>5, น้ำตาล โปรตีนปกติ

อาการที่พบแบ่ง 4 กลุ่ม

-brainstem encep.,

-meningoencep.

-Aseptic meningitis,

-poliomyelitis like paralysis

รักษาได้แค่เพียงประคับประคอง

2.ระบบปอด-หัวใจ ปอดบวมน้ำ หัวใจวาย

หลังเป็นไข้ 3-6 วัน หัวใจเต้นเร็ว มักมีอาการทางระบบประสาทและมีการหายใจล้มเหลวตามมาเร็ว

CXR พบ cardiomegaly และ pulmonary edema

จากการศึกษาพบว่าน่าจะเกิดจาก neurogenic pulmonary edema

รักษาได้แค่เพียงประคับประคอง

การวินิจฉัย

อาศัยอาการและอาการแสดงเป็นสำคัญ

สำหรับกรณีต้องการทราบเชื้อ ส่งตรวจ 22 Panel ได้

ส่งตรวจแยกเชื้อไวรัส

-จากอุจจาระใส่กล่องตรวจ(ใน14วัน) หรือ

-จากลำคอใส่ใน viral transport media หรือ

-ทาง serology(3-5วันหลังป่วยและห่างจากครั้งแรก14วัน)

ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตสงสัย ไวรัส ควรตรวจตัวนี้ทุกราย


ตรวจร่างกายดูผื่นแยกโรค

มือเท้าปาก พบที่ปากมือเท้ามากอาจลามที่แขนขาก้นได้ ผื่นหลาย stage

ฝีดาษลิง พบ tense vecicle

ไข้อีสุกใส พบกระจายที่หน้าลำตัวมาก ที่มือไม่พบ ผื่นหลาย stage


DDX.

1.ในระยะแรกอาการไม่ชัด : แยกจาก rybella , drug allergy

2.รอยโรคทีปาก : แยกจาก apthous ulcer, herpes gingivostomatitis, Herpangina (รอยโรคที่ เพดาน ลิ้นไก่ หน้าทอลซิล ไม่พบที่ลิ้นหรือกระพุ้มแก้ม)

3.ตุ่มน้ำใส ปากแขนขา : แยกจาก chicken pox, enterovirus ตัวอื่น, erythema multiforme

การรักษา

รักษาแบบประคับประคอง

ส่วนการให้ acyclovir ยังไม่มีอาการศึกษาในผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

แต่ในรายธรรมดาเบื้องต้นพบว่าได้ผลดี

สิ่งที่ต้องแนะนำคือ ซึม ไข้สูง2วันไม่ดีขึ้น แขนขากระตุก เดินเซ ต้องรีบมารพ.

เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การป้องกัน

ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกิน และ หลังถ่ายอุจจาระ

(EV71 เป็น encapsulted capsule การใช้ alcohol gel ล้างมือช่วยได้น้อยต้อง SOap and Water)

ไม่ใช้จาน ชาม ช้อน ของเล่นร่วมกัน

ทำความสะอาดของเล่น สิ่งแวดล้อมด้วยสบู่

แยกเด็กป่วย

อาจต้องปิดรร.เมื่อมีเด็กป่วยเพิ่ม

ฆ่าเชิื้อด้วยน้ำยา คอลร็อกซ์ หรือน้ำยาฟอกขาว 0.5-1๔

เนื่องจากแอลกอฮอร์ทำลายไม่ได้

การให้วัตซีน

เมืองไทยมี enteroVac ตัวเดียวเป็นวัคซีนเชื้อตาย

อายุตั้งแต่ 6 เดือน - 6ปี

ภูมิจากแม่จะลดลงหายไปเกือบหมดที่ 6 เดือน จึงเริ่มฉีดวัคซีนได้

เด็กอายุ 6 ปี จะมีภูมิต่อเชื้อแล้วประมาณ 80% จึงไม่แนะนำให้ฉีดในวัยนี้

แต่ช่วงโควิดระบาดปิดเรียน 2-3 ปี อาจเกิดระบาดในเด็ก 6-8ปี ได้

วัยนี้ไม่ค่อยได้ติดเชื้อ

Ref.

http://sketchymedicine.com/2012/07/hand-foot-and-mouth-syndrome-coxsackie-virus/

1.http://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/?name=knowledge&file=readknowledge&id=108

2.http://www.med.cmu.ac.th/dept/pediatrics/06-interest-cases/ic-71/TP-HFMD.pdf

3.การส่งตรวจตัวอย่าง enterovirus 71

4.แนวทางดูแล HFMD สำหรับแพทย์ กรมการแพทย์
5.http://www.thaipediatrics.org/attchfile/HFMD.pdf