Cat scratch disease

Cat-scratch disease โรคแมวข่วน

Qx dx: ประวัติแมวกัดข่วน ต่อมน้ำเหลืองโต

Qx rx: Azithromycinกิน 5 วัน

Sig.วันแรก 500 mg then 250mg * 4 day = ผู้ใหญ่

Sig. 10 mg/kg/day ในวันแรก then 5 mg/kg/day * 4 day = เด็กๆ

สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียgm. negative rod ชื่อBartonella henselaeเคลื่อนที่ได้ด้วยflagellae

เป็นเชื้อฉวยโอกาส (opportunisticpathogens) สามารถติดเชื้อในคนได้

ระบาดวิทยา

พาหะเป็นพวกแมลงเช่นหมัดแมวริ้นฝอยทราย (sand flies) และยุง

การติดต่อ เกิดจากพาหะมีเชื้อ นำไปติดต่อแมว แต่ไม่ติดต่อจากแมวกัดหรือข่วนกันเอง โดยแมวที่มีเชื้อจะไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่สู่คนได้โดย

1.ผ่านทางน้ำลายแมว โดยการกัด ข่วน เลีย

2.ผ่านทางน้ำลายแมว ที่เลียติดอยู่บนขนมือไปสัมผัสกับอวัยวะเช่นตาก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้

3.สามารถติดต่อจากหมัดแมวโดยตรงได้

ระยะฟักตัว 3-10 วัน หลังถูกกัด ข่วน เลีย

อาการ

พบบ่อยในเด็ก ควรนึกถึงโรคนี้ในกรณีที่มีต่อมน้ำเหลืองโตเจ็บข้างเดียว

โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติสัมผัสคุกคลีกับแมว

Typical Cat-scratch disease (88%-89%)

3-10 วัน(max 3 wk) หลังถูกข่วนจะพบ primary cutaneous papule หรือpustule ตุ่มผื่นแดงหรือเป็นแผลเป็นหนอง

1-2 สัปดาห์(max 7 wk) ต่อมา พบ Regional lymphadenopathy(85-90%) ด้านเดียวกับที่ถูกข่วน อักเสบโตกดเจ็บเป็นก้อน (granulomatous lymphadenitis)บวมปวดอาจมีหนองได้

ต่อมน้ำเหลืองอาจโตอยู่หลายเดือนได้ ตำแหน่งที่โต upper extremities46%, neck 26%, groin 18%, other 10% (pre-post auricular area, clavicular, chest)

อาการอื่นๆ

70 % ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหารได้

10 % ไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดข้อ เจ็บคอ 5% อาจมีผื่นระยะสั้นๆ

บางรายงานพบ ตับม้ามโต อาจมีหรือไม่มีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

เด็กบางรายอาจมาด้วย prolong fever ก็ได้

โรคสามารถหายได้เอง 4-8 สัปดาห์

โรคแทรกซ้อนพบน้อย

มักเป็นในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

โดยจะมีการติดเชื้อกระจายไปที่ ระบบประสาท ตา ตับม้าม ได้

-ระบบประสาทเช่น encephalopathy, meningoencephalitis

-Neuroretinitis , optic neuritis มาด้วยอาการ มองไม่เห็นข้างเดียว หรือ พบเป็น star-shaped macular exudates ได้

-Parinaud Oculoglandular Syndrome คือพบ granulomatous conjunctivitis + ipsilateral preauricular denopathy เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อตาแดงโดยตรงหรือโดยอ้อม

-Bacillary angiomatosis และ peliosis มีอาการไข้สูงเรื้อรังอาจเกิดร่วมกับรอยโรคของกระดูก ตับและม้าม โดยเฉพาะในผู้ป่วย HIV ซึ่งโรคนี้อาจเกิดจากเชื้อ Bartonella henselae หรือBartonella quintana ก็ได้

-อาจทำให้เกิดติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่ตา มีตุ่มนูนที่ผิวหนัง ติดเชื้อแทรกซ้อนที่หัวใจ(endocarditis) ได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

อาจพบ mild leukocytosis และ neutrophils สูงในช่วงสั้นๆ และบางครั้งพบeosinophils และESR สูงได้

การวินิจฉัยโรค

ควรต้องมีประวัติ สัมผัสกับแมว กัด ข่วน เลีย อาการเข้าได้ และ พบ Ab ต่อ B.henselae

Bacterial culture : เพาะเชื้อได้ยากมาก จึงไม่แนะนำ

Serologic testing (IFA และEIA) :เป็นวิธีที่ดีสุดในการใช้ร่วมสำหรับการวินิจฉัย

แต่ควรระวังอาจได้ผลบวมปลอม

IgG ต่อเชื้อ Bartonella henselae 1:64-1:256 หากน้อยกว่านี้ถือว่าพบได้ปกติ เนื่องจากตรวจพบได้ในบุคคลทั่วไป อาจต้องตรวจ 10-14 หลังมีอาการ หากมากกว่า 1:256 จะยืนยันได้มากทีเดียว

IgM หากพบบอกว่าเป็นการติดเชื้อในระยะ acute แต่เนื่องจากพบได้ในระยะสั้นๆจึงตรวจพบได้ยากกว่า

LN biopsy : พบเป็น lymphoid hyperplasia หรือ stellate granulomas lymphadenitis แต่ไม่ได้ช่วยวินิจฉัยมากเท่าไหร่ จึงไม่แนะนำให้ทำ

Bacillary angiomatosis : จากการทำ biopsy พบเป็น lobular proliferation of small blood vessels occurs with the presence of bacilli in adjacent connective tissue and blood vessels

Criteria diagnosis 3 ใน 4ข้อ

1.สัมผัสแมว กัด ข่วน มีรอยโรคที่ผิวหนัง ตา เยื่อเมือก

2.cat scratch disease skin test positive หรือ serologic test : B.henselae Ab positive

3.other serologic test อื่นๆ negative , PPD test negative, c/s negative

4.histopathology : ที่ผิวหนังที่เป็น ต่อมน้ำเหลือง หรือ ocular granuloma

LN biopsyพบได้หลายรูปแบบ คือ arteriolar proliferation และ widening ของผนังหลอดเลือด arteriolar, reticulum cell hyperplasia, multiple microabscesses, frank abscess formation และ round or stellate granuloma

การรักษา

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันปกติ ส่วนใหญ่แล้วหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษา

สำหรับ mild – moderate “typical” CSD lymphadenitis

Azithromycinกิน 5 วัน

Sig.วันแรก 500 mg then 250mg * 4 day

หรือ

Sig. 10 mg/day ในวันแรก then 5 mg/day * 4 day

-ยาปฏิชีวนะอื่นเช่นErythromycin,Rifampicin, Ciprofloxacin) หรือ Gentamicin

-สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานตํ่าต้องรักษาเป็นเวลา1-3 เดือน

-ในรายที่ต่อมนํ้าเหลืองอักเสบเป็นหนองอาจทำ I&D สามารถลดอาการปวดลงได้

การรักษา Bacillary angiomatosis และ peliosisซึ่งมีโอกาสเป็นซ้ำสูงต้องให้

Oral erythromycin หรือ doxycycline เป็นเวลานาน 3-4 เดือน

Neuroretinitis : Oral erythromycin หรือ doxycycline ร่วมกับ rifampicin 4-6 เดือน

การป้องกันโรค :

1.กำจัดหมัดเห็บจากตัวแมวก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้มาก

2.เมื่อถูกแมวกัดหรือข่วนให้ล้างแผลด้วยนํ้าสะอาดและทายาทาแผลที่ใช้กันทั่วไป

แพทย์ควรให้คิดถึงโรคหากผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้

1. แผลกัดหรือข่วนไม่หายในเวลาอันควร

2. รอบๆรอยกัด/ข่วน แดงขึ้นและกว้างขึ้นเกิน2 วัน

3. เป็นไข้อยู่หลายวันหลังถูกแมวกัดหรือข่วน

4. ต่อมนํ้าเหลืองบวมและปวดนานกว่า2-3 สัปดาห์

5. ปวดกระดูกหรือปวดข้อปวดท้อง (โดยไม่มีไข้หรืออาเจียนหรือท้องร่วง) หรืออ่อนเพลียผิดสังเกตนานกว่า2 สัปดาห์

DDX.เป็นโรคหนึ่งในการวินิจฉัยแยกโรคจาก อาการต่อมน้ำเหลืองโตข้างเดียว

1.Typical/atypical mycobacterial infection

2.CMV, EBV(infectious mono.), toxoplasmosis

3.Gr A strep adenitis, Stap aureus

4.Lymphoma, leukemia, other malignancy

6.HIV

7.other Tularemia, Plague, Brucellosis, Syphilis, sporotrichosis, histoplasmosis, Pasteurellosis etc…

Ref.

http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=475

http://www.aafp.org/afp/2011/0115/p152.html

http://www.aafp.org/afp/2004/0615/p2911.html