Haemophilus influenza B

HIB : Haemophilus influenzae type B,HIP

โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคได้หลายแบบ

แต่ที่สำคัญคือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กับ ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ

-เป็นโรคติดเชื้อสำคัญในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

-อุบัติการณ์โรคไม่มากนัก(น้อย)แต่ความรุนแรงมีสูง

-โรคที่เกิดจากเชื้อ HIP ได้แก่ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ, โรคติดเชื้อในกระแสเลือด , โรคปอดอักเสบ, โรคข้ออักเสบ, โรคหูชั้นกลางอักเสบ

-โรคสำคัญที่เชื้อนี้เป็นสาเหตุหลักคือ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ

การติดต่อ เชื้ออยู่ในระบบทางเดินหายใจ แพร่กระจายทางละอองฝอยในอากาศ หรือสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งโดยตรง

เชื้อ

เป็นแบคทีเรียแท่งสั้น gram negative coccobacilli

แบ่งได้ 2 ชนิด

1.มีแคบซูลหุ้ม มี 6 serotype อาศัยความแตกต่างของแคบซูล ที่สำคัญคือ serotype B เนื่องจากมักก่อโรครุนแรง

2.ไม่มีแคปซูลหุ้ม มักทำให้ติดเชื้อที่เยื่อบุ เช่น sinusitis, otitis media, bronchitis, pneumonia

ระบาดวิทยา

พบบ่อยในเด็ก 6-18 เดือน โดยเฉพาะในโรคที่รุนแรงคือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในไทยพบน้อยกว่าทางตะวันตก

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ

1.อายุ

2.ภูมิคุ้มกันบกพร่อง: aspleenic syndrome. HIV, hypogammaglobulinemia, thalassemia

3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: COPD, smoking, pregnancy, cancer, old age

4.ชุมชนแออัด สถานเลี้ยงเด็ก

พยาธิกำเนิด

เชื้อจับ nonciliated columnar epithelium ของ nasopharynx เข้ากระแสเลือด แล้วไปแสดงอาการที่อวัยวะต่างๆ ที่พบบ่อย เยื่อหุ้มสมอง ฝาปิดกล่องเสียง ปอดอักเสบ

อาการทางคลินิก

1.เป็นสาเหตุสาเหตุหลักของ epiglossitis, pericarditis, meningitis

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไข้ ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึม สับสน คอแข็ง

ในเด็กเกิดจากเชื้อนี้ 35-44% ในไทยมีจำนวนไม่มาก 3.8 ต่อ100,000 รายที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ต่อปี แต่ทาง USA พบ 41:100,000รายต่อปี แต่หลังมีวัคซีนลดลงจนเกือบไม่พบ

ปัญหาคือ โรคนี้แม้รักษาถูกต้องแล้วแต่ ยังมีอัตราการเสียชีวิตสูง ประมาณ 20-60% และมีภาวะแทรกซ้อนได้มาก เช่น พัฒนาการช้า, cerebral palsy, การได้ยินลดลง, ชัก

ในเด็กเล็กพบ bacterial meningitis น้อย เชื้อที่พบได้เช่น HIB,N.meningitidis, Strep.pneumo. เป็นต้น ในกลุ่มแบคทีเรียพบ HIB มากสุดแต่ก็ยังน้อย

ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ พบเชื้อนี้เป็นสาเหตุถึง 75-90% ไข้สูง กลืนลำบาก ทางเดินหายใจอุดกั้น รักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

2.ชนิดไม่มีแคปซูล เป็นสาเหตุของ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ซึ่ง HIP ก็ทำให้เกิดได้

3.ส่วนปอดอักเสบแยกยากจากเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น

การวินิจฉัย

1.gram stain จากสิ่งส่งตรวจ : CSF, pleural fluid, pus พบ gram negativepleomorphic coccobacilli

2.culture จาก: blood. pleural fluid, pus

3.ตรวจ Antigen: latex particle agglutination test, countercurrent immunoelectrophoresis

และการส่งตรวจ PCR

การรักษา

ยากลุ่ม beta-lactam : amoxicillin, 2nd -3rd gen. cephalosporin

ยาอื่น : fluoroquinolone,macrolides, tetracycline, aminoglucosides

วัคซีน

ในไทยมีหลายยี่ห้อมาก ทั้งแยกเดี่ยวและรวม

เป็นวัคซีนชนิด conjugate โดยนำ PRP(polyribosylribitol phosphate)ของเชื้อ มาจับกับโปรตีนพาหะ Toxoid ของเชื้อบาดทะยัก(T) หรือคอตีบ(D) หรือ outer membrane protein(OMB)ของเชื้อ Neisseria meningitides

มี 3 ชนิด

1.PRP-T: Hiberix®,ActHIB®

2.PRP-OMB: Pedvax Hib ตัวนี้ไม่มีจำหน่ายในไทยแล้ว

3.HbOC: Hib oligosaccharide conjugate vaccine จับกับ toxiod-CRM197 ของเชื้อคอตีบ: VaxemHib®

GSK ใช้ T เป็นพาหะ PRP-T

-Hiberix®

-Infanrix-IPV/HIP® : (HIP,DTaP,IPV)

-Infanrix-Hexa®: (HIP,DTaP,IPV,HBV)

Sanofi p. GSK ใช้ T เป็นพาหะ PRP-T

Act-HIB,TETRActi-Hib(HIP,DTwP),Pediacel(HIP,DTaP,IPV), Pentaxim(HIP,DTaP,IPV)

Noratis ใช้ CRM197 เป็นพาหะ HbOC : VaxemHib, Quinvaxem(HIP,DTwP,HBV)

การฉีด PRP-T หรือ HbOC im 0.5 ml

อายุที่เริ่มฉีด 2-6 เดือน ฉีด 3 เข็มพร้อม DTP,OPV ได้เลย 0,2,4 เดือน กระตุ้น 12-18 เดือน

อายุ 7-11 เดือน ฉีด 2 เข็ม 0,2

12-24 เดือน : ฉีด dose เดียวพอ

มากกว่า 24 เดือนเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง : 0, 2 เดือน

*เด็กที่เคยติดเชื้อชนิดรุนแรงแล้ว ธรรมชาติจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ดีต้องฉีดวัคซีน หลังเป็นโรค 1 เดือน

*เด็กไทยตอบสนองต่อวัคซีนดี ภูมิขึ้นดีมาก ดังนั้นไม่ต้องฉีดกระตุ้นที่ 12-18 เดือนก็ได้ ลดการเกิด HIP ได้มากกว่า 95%

*โรคพบในเด็กเล็กการฉีดจึงต้องรีบ

*ผู้ตัดม้ามควรฉีดก่อนตัด อย่างน้อย 7-10 วัน

การให้พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น ให้พร้อมกันได้ แต่ควรแยกเข็มแยกตำแหน่งฉีด ยกเว้นของบริษัทเดียวกันผสมกับDPT ได้

ผลข้างเคียง พบ 25% ปวดบวมแดงร้อนเฉพาะที่ ส่วนน้อย ไข้สูง ผื่น

ข้อบ่งชี้

1.เด็กปกติที่อายุน้อยกว่า 2 ปี

2.เด็กเสี่ยง สถานเลี้ยงเด็ก ชุมชนแออัด

3.เด็กเสี่ยงภูมิไม่ดี

*อุบัติการณ์ต่ำแต่เกิดการเกิดโรครุนแรง*จึงนิยมฉีดถ้าทำได้

Ref.

http://www.pidst.net/วัคซีนป้องกันโรค HIB

อุบัตการณ์เชื้อHIBในmeningitisและpneumoniaในเด็ก