Adenovirus infection

Adenovirus infection

Qx Dx: viral conjunctivitis, URI, gastroenteritis, mesenteric lymphadenitis

ส่ง PCR for adenovirus

Adenovirus

- เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหลายแบบ คือ pharyngitis, conjunctivitis, pneumonia และ diarrhea

-ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น severe pneumonia, hemorrhagic cystitis ถึงแก่ชีวิตได้

-เด็กที่นอนโรงพยาบาล pneumonia 10%, enteritis 15% เกิดจาก adeno virus

ประวัติ

1953 Rown et al. พบครั้งแรกจากต่อม adenoid

เชื้อ

Double stranded, nonenveloped DNA ใน genus Mastadenovirus , family Adenoviridae

เนื่องจากเป็น nonenveloped จึงทำลายยาก

ระบาดวิทยา

การติดต่อ

-ที่ทางเดินหายใจ จากหายใจเอาละอองน้ำมูกเสมหะ

-ที่ตาและทางเดินอาการมักเกิดจาก การสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่ง สิ่งของ น้ำ รับประทานอาหารที่มีเชื้ออยู่

-มือและอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ การล้างมือม alcohol, chlorhexidine ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ต้องใช้ 1% sodium hypochlorite 10 min จึงต้องใส่ถุงมือด้วยขณะรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เพิ่อป้องกันการติดต่อ

-ไม่สัมพันธ์กับฤดูกาล ในไทยปอดอักเสบจากเชื้อนี้พบมากช่วง มิ.ย.-ก.ย.

-ตาแดงระบาดเป็นครั้งคราว

อายุที่พบ พบได้ทุกอายุ

อายุที่พบบ่อย 6 เดือน – 5 ปี เด็กส่วนมากมักได้รับเชื้อตั้งแต่ก่อนอายุ 2 ปี 50% ไม่มีอาการผิดปกติ

Serotype กับ ภาวะการเกิดโรค

Epidermic keratoconjunctivitis : Ad8, Ad37

URI: Ad1, Ad2, Ad3, Ad5 และ Ad7

LRI: Ad3, Ad4, Ad7 และ Ad21 ที่เกิดจาก Ad3 และ Ad7 จะรุนแรงกว่า serotype อื่น

Diarrhea : Ad3, Ad7, Ad32, Ad40 และ Ad41

Disseminated disease: Ad3, Ad7 และ Ad32

ระยะติดต่อ

ทางเดินหายใจ 2 วันก่อนมีอาการ ถึง 8 วันหลังเริ่มมีอาการ

ทางเดินอาหาร พบในอุจจาระได้นานหลังการติดเชื้อ และยังมืเชื้อเหลือโดยไม่ทำให้เกิดอาการได้เป็นปี และอาจมี reactivate ได้

อาการทางคลินิก

ขึ้นอยู่กับ serotype ของเชื้อ อายุผู้ป่วย ตำแหน่งที่ติด และภูมิต้านทาน

การติดเชื้อทางเดินหายใจ [การติดเชื้อที่นี่ทั้งหมด 2-5% เกิดจาก adenovirus]

อาการ common cold, pharyngitis, exudative tonsillitis, cervical lymphadenitis, bronchitis, bronchiolitis, pneumonia

การติดเชื้อที่ตา

Pharyngoconjunctival fever [Ad2, Ad3, Ad4, Ad7 และ Ad14]

อาการ ไข้ ตาแดงแบบ follicular conjunctivitis

Epidermic keratoconjunctivitis[Ad3, Ad8, Ad19 และ Ad37]

อาการ มักเป็นในผู้ใหญ่ ติดเชื้อรุนแรง เริ่มจากระคายเคืองตา กลัวแสง มองไม่ชัด เยื่อบุตาบวมหนังตาบวม (ดูคล้าย periorbital bacterial cellulitis)และมีเลือดออกในเยื่อบุตา(subconjunctival hemorrhage) บางรายมี preauricular lymphadenopathy

การติดเชื้อทางเดินอาหาร

Gastroenteritis[Ad3, Ad5, Ad7, Ad31, Ad40 และ Ad41] ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ทำให้ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว

Mesenteric lymphadenitis[Ad1, Ad2, Ad3, Ad5 และ Ad7] ทำให้ปวดท้อง ไส้ติ่งอักเสบ สำไส้กลืนกัน

Hepatitis[Ad1, Ad2, Ad3, Ad5 และ Ad7] อาจรุนแรงมากในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ[Ad11,Ad7,Ad21]

Acute hemorrhagic cystitis พบได้น้อย มักเป็นในผู้มีโรคประจำตัวและภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการ ไข้ ปัสสาวะขัด ปวดท้องน้อย กลั้นไม่ได้

อื่น nephritis, orchitis, hemolytic uremic syndrome

การติดเชื้อที่หัวใจ[Ad7,Ad21]

Myocarditis, pericarditis มักสัมพันธ์กับการติดเชื้อรุนแรงที่ปอด

การติดเชื้อระบบประสาท [Ad7] พบน้อยมาก meningitis, encephalitis, transverse myelitis

การติดเชื้อในผู้มีภูมิบกพร่อง [Ad1,2,4,5,6,7,11,29,31,32,34,35] โดยเฉพาะผู้ได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ

การวินิจฉัย

ที่นิยมส่งคือ*PCR for adenovirus*

1.การเพาะแยกเชื้อ โพรงจมูก คอ ปัสสาวะ อุจจาระ หรือจากตำแหน่งที่สงสัยการติดเชื้อ CSF, pericaridial, pleral etc. พบลักษณะ cluster of graped ใน cell culture เห็นใน 3-5 วัน หลังเพาะเชื้อ

2.หา antigen จากทางเดินหายใจส่ง direct fluorescence assay และการทำ PCR

3.serology แต่ให้ความไวค่อนข้างต่ำ

การรักษา

มักหายได้เอง

ส่วนน้อยในผู้มีภูมิบกพร่องอาจให้ยาต้านไวรัสร่วมกับลดยากดภูมิ

ยาต้านเชื้อได้แก่ trifluridine, ribavirin, cidofovir พอช่วยได้

IVIG กรณีที่เป็น myocarditis, pneumonia, disseminated viral infection

วัคซีน

มีการทำสำหรับ Ad4 และ Ad7 เป็นแบบเม็ด ให้กินในหน่วนทหารในต่างประเทศ ในไทยยังไม่มี

Ref

1.Adenovirus infection and vaccine สมาคมติดเชื้อเด็ก

2.เจ็บคอจากไวรัส

3.คออักเสบจากไวรัส

4.ตาแดงไวร้ส