Congenital rubella

Congenital Rubella Syndrome

Qx Rx:

หญิงตั้งครรภ์สัมผัสโรค ตรวจ Rubella IgM,IgG ซ้ำที่ 2,6 wk

เด็กทารกมีอาการ/แม่ติดเชื้อ ดูตาม criteria ด้านล่าง

สาเหตุ

เกิดจาก generalized virus-induced progressive necrotizing vasculitis ทำให้เกิด parenchymal hypoplasia ของอวัยวะต่างๆในร่างกาย

อัตราเสี่ยง ขึ้นกับระยะเวลาการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก ความผิดปกติแต่กำเนิด 65-85%

เดือนแรก โอกาสเป็น 50%

เดือนที่สอง โอกาสเป็น 25%

เดือนที่สาม โอกาสเป็น 10%

3 เดือนแรก หัวใจพิการ หูหนวก 30-35%

หากมากกว่า 4 เดือนพบน้อยมากไม่เกิน 10 %

ความพิการที่พบส่วนใหญ่ หูหนวก ต้อกระจกหรือต้อหิน หัวใจพิการ พัฒนาการล่าช้า

มีความเสี่ยงเบาหวานในเด็ก 50 เท่า

อาการ ที่พบได้ ตามระยะเวลาที่ตรวจพบ

ทารกแรกเกิด

ศีรษะเล็ก 27% ,น้ำหนักน้อยกว่า 2500gm 23%, ตับม้ามโต19%, จ้ำเลือด17%, เยื่อหุ้มและสมองอักเสบ10%, ความผิดปกติของกระดูก7%

ช่วงต้นของทารก

การได้ยินผิดปกติ60% โรคหัวใจแต่กำเนิด45% จอประสาทตาผิดปกติ5%

ระยะหลัง

หูหนวก พัฒนาการล่าช้า เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ สมองอักเสบทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

Criteria การวินิจฉัย Congenital rubella syndrome

ก.อาการในทารก ดังนี้

Category A: ต้อกระจกหรือต้อหิน หัวใจพิการแต่กำเนิด(มักเป็นPDA หรือ PPAS) การได้ยินผิดปกติ และ pigmentary retinopathy

Category B: จ้ำเลือดตามร่างกาย ตับม้ามโต ตัวเหลือง ศีรษะเล็ก พัฒนาการช้า เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ กระดูกพบradiolucent bone

ร่วมกับ

ข.การตรวจทางห้องปฎิบัติการพบอย่างไดอย่างหนึ่ง

1.viral culture positive

2.rubella IgM บวก

3.rubella IgG บวกและเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

4.PCR บวก

เกณฑ์การวินิจฉัย

1.suspected น่าสงสัย อาการเข้าได้ แต่ไม่ครบเกณฑ์ข้อ 2 หรือ 3

2.Probable น่าจะใช่ อาการเข้าได้ ไม่มีผลตรวจแลป และไม่มีสาเหตุอื่นมาอธิบาย

มีอาการอย่างน้อย 2 ข้อใน Cath A, หรือ 1 ข้อใน Cath A และ B

3.Comfirmed อาการเข้าได้ และผลแลปยืนยัน

4.Infection only ไม่มีอาการแต่ผลแลปบวก

หมายเหตุหากอาการทารกเข้าได้แต่ผลแลปเป็นลบ ให้ตรวจซ้ำที่อายุ 1 เดือน เนื่องจาก 20% ให้ผลลบต่อ IgM ที่ก่อน 1 เดือน

DDX.

แยกจาก TORCH, parvovirus, scarlet fever etc.

การรักษา และ การจัดการ

1.หญิงตั้งครรภ์สัมผัสกับผู้ป่วยหัดเยอรมัน

ตรวจเลือดหา hemagglutination inhibition titer (HI) ถ้าพบ

- rubella IgG positive หมายถึงมีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่เสี่ยงต่อการเกิด congenital rubella

- rubella IgG negativeหมายถึงไม่มีภูมิ ตรวจเลือดซ้ำ 2 และ 6 สัปดาห์ถัดมา หาก IgG เพิ่ม ≥4 เท่า แสดงว่ามารดาติดเชื้อ ควรประเมินความเสี่ยงและการตัดสินใจครอบครัว ในการพิจารณาสิ้นสุดการตั้งครรภ์

2.ทารกที่เป็น congenital rubella syndrome จะตรวจพบเชื้อใน nasopharyngeal secretion และ ในปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี จึงสามารถแพร่เชื้อได้

วัคซีน

เพื่อลดการเกิดโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด

เป็นวัคซีนเชื้อเป็น สายพันธุ์ RA 27/3 จะดีกว่า HPV 77 DE5 และ Cendehill

โดยเป็นวัคซีนรวมใน MMR เท่านั้นไม่มีแยก ฉีด 2 ครั้ง 9-12 เดือน และ 4-6 ปี

หญิงควรฉีดก่อนตั้งครรภ์ 1 dose หากไม่เคยได้รับหรือเคยได้ครั้งเดียวและพบว่าหากฉีดใน 3 เดือนแรก จะไม่ทำให้เกิด congenital rubella syndrome คุมกำเนิด 28 วันหลังการฉีดก็พอ

Ref.

1.http://www.doctor.or.th/article/detail/5359

2.http://www.pidst.net/userfiles/28_%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99.pdf

3. http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/29

4. http://emedicine.medscape.com/article/968523-overview#showall