Avian influenza A

Avian Influenza A (H7N9)

ไข้หวัดนก H7N9 เป็นสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่อุบัติใหม่ ที่ระบาดในประเทศจีน

ความสำคัญ มีอัตราการตายสูง

การระบาด

ผู้ป่วยรายแรก 16 ก.พ. 2556 ที่เมืองเซี่ยงใฮ้

การติดต่อ จากสัตว์สู่คน(ส่วนใหญ่) และจากคนสู่คน

ลักษณะไวรัส

เกิดจากการ reassortant ของไวรัส 3 ชนิด H7N3 subtype ZJ12, H7N9 subtype KO14,H9N2

ลักษณะทางคลินิก

ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ เฉลี่ย 61 ปี และ 61% มีโรคประจำตัว

อาการที่พบบ่อย ไข้ ไอ รองลงมาคือ เหนื่อย เพลีย ไอเป็นเลือด คลิ่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว

CBC WBC ต่ำ หรือปกติ Lym ต่ำ และ platelet ต่ำได้

ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยเกือบทุกรายคือ pneumonia (CXR แบบ bilateral ground glass opacities และ consolidation) และ เกิด ARDS สูงถึง 71% อื่นๆ shock, acute kidney injury , rhabdomyolysis, encephalopathy etc. อัตราตาย 27 %

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

สิ่งส่งตรวจ nasopharyngeal swab, nasal aspirate/wash

ไม่ควรใช้แบบสำลีให้ใช้แบบ polyester หรือ Dacron

การตรวจ Influenza real-time RT-CPR

ผลตรวจเบื้องต้นเป็น Influenza A unsubtypable

คือ เป็น influenza A ที่ negative ต่อ seasonal influenza A H3,H1,pandemic 2009(pdmH1),nucleoprotein gene(pdmInfA) ให้ส่งตรวจยืนยันสายพันธุ์ H7N9 ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การวินิจฉัย : Case definitions

Confirmed case: ยืนยัน โดยการส่งตรวจห้อง lab ที่รับรองโดย CDC/CSTE

Probable case: มีอาการ มีประวัติสัมผัสเข้าได้กับ exposure criteria และผลตรวจเป็น Influenza A unsubtypable

Exposure criteria:

1.เดินทางไปในพื้นที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ avian influenza A ใน 10 วันก่อนมีอาการ

2.ประวัติสัมผัสกับ confirmed case อย่างใกล้ชิดใน 10 วัน ก่อนมีอาการ

การรักษา

ใช้ยากลุ่ม neuraminidase inhibitors ได้แก่ oseltamivir หรือ zanamivir

ข้อบ่งชี้

1.ผู้ป่วยในให้ยาต้านทุกราย ทั้ง confirmed cases, probable cases หรือผู้ที่สงสัยและรอผลตรวจอยู่

ในรายรุนแรงให้ oseltamivir ไม่ควรให้ zanamivir เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่ได้ผลในรายที่รุนแรง

2.ผู้ป่วยนอก ให้ใน confirmed cases, probable cases หรือผู้ที่สงสัยและรอผลตรวจอยู่

เว้น ผู้ที่รอผลตรวจจากการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง ยังไม่ต้องให้ยารักษา

การให้ยาป้องกันหลังสัมผัส

1.คนในครอบครัวที่สัมผัสใกล้ชิดกับ confirmed cases และ probable cases

2.บุคลากรทางการแพทย์ ที่สัมผัสใกล้ชิดกับ confirmed cases และ probable cases

ไม่แนะนำให้ยาป้องกัน

คนในที่ทำงาน ในสังคมทั่วไป มีระยะเวลาสัมผัส กับ confirmed cases และ probable cases น้อย

Ref.

http://www.pidst.net/userfiles/update(2).pdf