HMPV

Human Metapneumovirus

เชื้อไวรัส Human Metapneumovirus(hMPV) (ฮิวแมนเมตานิวโมไวรัส)
เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจในเด็ก
โดยมีอาการตั้งแต่อาการหวัดเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ,หลอดลมอักเสบ ชนิดที่เรียกว่า Bronchiolitis

เชื้อไวรัสกลุ่มนี้เป็นไวรัสที่เพิ่งค้นพบในปี คศ.2001(พศ.2544)
โดย van den Hoogen เป็นผู้รายงานว่าพบเชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยด้วย

อยู่ใน Paramyxovirus family เช่นเดียวกับ RSV

สามารถตรวจได้ไม่ยาก hMPV โดยใช้ molecular diagnostic testing

ก่อให้เกิดอาการโรคทางเดินหายใจในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ได้ถึงร้อยละ 25-50 

ในช่วงของฤดูการระบาดในแถบยุโรปของเชื้อไวรัสนี้คือช่วงฤดูหนาว ส่วนในแถบเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ก็จะเป็นช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

การศึกษาระบาดวิทยา

พบว่าเชื้อไวรัสนี้มีการแพร่ระบาดได้ง่ายไปทุกส่วนของโลก และส่วนใหญ่จะเกิดการติดเชื้อนี้ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต และพบว่าภายในช่วงอายุ 5-6 ปี เด็กแทบทุกคน(ร้อยละ 96-100)จะเคยได้รับเชื้อไวรัสนี้และมีภูมิต้านทานขึ้นในกระแสเลือด ซึ่งลักษณะการแพร่ระบาดและ
อาการ,อาการแสดงต่างๆนั้นใกล้เคียงกับการติดเชื้อRespiratory Syncytial Virus (RSV)

และแม้ว่าเชื้อ Human Metapneumovirus(hMPV) นี้จะพบว่าส่วนใหญ่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในเด็กเล็ก

แต่ก็พบว่าในผู้ใหญ่

โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด, โรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง, โรคมะเร็งฯลฯ ก็มีปัญหาการติดเชื้อนี้และเกิดอาการทางเดินหายใจที่รุนแรงได้เช่นกัน

การติดเชื้อร่วมกันกับไวรัสเชื้ออื่นๆนั้นพบบ่อย(Co-infection)

*** สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือพบว่าการติดเชื้อ Human Metapneumovirus(hMPV) นี้มักพบร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจมากกว่าหนึ่งชนิดในการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆ***
เช่นในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิด Bronchiolitis อาจพบว่ามีการติดเชื้อได้ 2 หรือมากกว่า 2 ชนิด ถึงประมาณร้อยละ10-20 ทำให้อาการของเด็กที่ป่วยมีความรุนแรงขึ้นและใช้เวลานานขึ้นกว่าจะหายเป็นปกติ

วัคซีน

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human Metapneumovirus(hMPV)

การรักษา

เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ป่วย และปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสนี้ ส่วนใหญ่แล้วอาการมักจะเป็นในระดับน้อยถึงปานกลาง ทำการพ่นยา,ทานยารักษาตามอาการก็มักจะเริ่มดีขึ้นเองใน 5-7 วัน โดยแพทย์ผู้ดูแลอาจไม่จำเป็นต้องให้เข้ารักษาตัวใน รพ.

ส่วนในรายที่เป็นมากมีปัญหาปอดบวมหรือหอบรุนแรง ทำให้เกิดการหายใจล้มเหลว ฯลฯ ก็ควรอยู่ดูแลในโรงพยาบาล เพื่อการพ่นยา เคาะปอด ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจนช่วยในรายที่จำเป็นก็อาจต้องเข้ารักษาในหอดูแลผู้ป่วยวิกฤต(ไอซียู) จนกว่าอาการต่างๆนี้จะทุเลาลงและเมื่อออกจาก ไอซียูแล้วยังต้องพักรักษาตัวต่อจนกว่าหายเป็นปกติ

การป้องกัน

การแยกผู้ป่วย และการหลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสโรค เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในคนหมู่มาก การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือ จะช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้ในระดับหนึ่ง

ที่มา

http://www.clinicdek.com/?p=3521