Measles

Measles (Rubeola)โรคหัด

Qx DX: Classic triad : 3Cs :

Cough Coryza(runny nose) Conjunctivitis และ Koplik spots(พบ1-2วันก่อนผื่น)

ไอ น้ำมูก ตาแดง

ไข้ออกผื่นในเด็กเล็ก ปัญหาคือโรคติดต่อง่ายมาก และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส measles เรียกว่า rubeolar virus ในจีนัส Morbillivirus

แฟมีลี่ Paramyxovirus เป็น RNA virus จะพบได้ในจมูก และลำคอของผู้ป่วย

ระบาดวิทยา

ระยะเวลาที่พบบ่อย พบมากเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ช่วงหนาวต่อร้อน

การติดต่อง่ายมากหากรับเชื้อคนที่ไม่มีภูมิมักจะเป็นทุกราย หากเป็นแล้วมีภูมิตลอดชีวิต

ก่อนมีการใช้วัคซีน 90% คนทั่วไปที่ไม่เกิน 20 ปี เคยติดเชื้อมาแล้ว

อายุ

วัยก่อนเรียนและวัยเรียน

เริ่มเป็นอายุ 6-9 เดือน หลังจากที่ภูมิจากแม่เริ่มหมดลง มักไม่พบต่ำกว่า 8 เดือน วัคซีนจึงให้ที่ 9 เดือน

อายุที่พบบ่อย 1-6 ปี ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันจะป่วยได้ทุกอายุเนื่องจากติดต่อง่ายมาก เด็กโตจะพบน้อยลง

การติดต่อAir borne ทางการหายใจ จากละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย

การแพร่เชื้อ

1-2 วันก่อนมีอาการ จนหลั่งผื่นขึ้นแล้ว 4 วัน

ระยะฟักตัว

หลังสัมผัสโรค 8-12 วัน เฉลี่ยจากวันทีสัมผัสจนผื่นขึ้น 14 วัน การให้ IG ไม่ช่วยป้องกัน แต่ทำให้ระยะฟักตัวนานขึ้น

อาการและอาการแสดง

เริ่มต้น ไข้ น้ำมูก ตาแดง ตาแฉะน้ำตาไหลไม่สู้แสง ไอแห้งๆตลอดเวลา กินยาลดไข้ไม่ลง ร้องกวน ซึม เบื่ออาหาร อาจถ่ายเหลว

อาการต่างๆจะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูง ปากจมูกแดง ไอมากน้ำมูกมากขึ้น จะสูงเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นวันที่ 4 ของไข้

พบ Koplik’s spot จุดขาวเล็กๆ ขอบแดง ในกระพุ้งแก้ม พบ 1-2 วันก่อนผื่นขึ้น

ลักษณะสำคัญของโรค

1.Generalized maculopapular rash มากกว่าเท่ากับ 3 วัน

2.T> 38.3 c

3.cough, coryza หรือ conjunctivitis

ลักษณะผื่น

นูนแดง maculopapular rash ติดกันเป็นปื้นๆ

เริ่มขึ้นที่ไรผม หลังหู ซอกคอ ก่อนไปที่ ใบหน้า แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา กระจายทั่วตัวใช้เวลา 2-3 วัน แล้วไข้จะเริ่มลดลง

ระยะแรกผื่นสีแดงจุดเล็กๆ ต่อมาจะเข้มขึ้น ขยายโตขึ้น สีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ผื่นจะคงอยู่ 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมดกินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งพบผิวหนังเป็นขุ่ยลอก

การวินิจฉัย

โดยอาการทางคลินิก ผื่นวันที่ 4 การกระจายตัวของผื่น จากใบหน้า ไปแขนขา พบ Koplik’s spot

Measles Case definition

Clinical criteria มี 3 ข้อ

1.Fever

2.Maculo-papular rash

3.มีอย่างน้อย 1อย่าง : cough, coryza, conojunctivitis

Lab. criteria อย่างน้อย 1 ข้อ

1.IgM for measles ในเลือดหรือน้ำในช่องปาก

2.Isolation measles virus ในสิ่งส่งตรวจ

3.Detection measles virus nucleic acid ในสิ่งส่งตรวจ

การตรวจยืนยัน

1.Abtibody ต่อ measles ตรวจ2 ช่วง ระยะมีผื่น และ 2-4 สัปดาห์ถัดไป ด้วยวิธี Hemagglutination inhibition test หรือ ด้วยวิธี ELISA หา specific IgM ตรวจ 4-30 วันหลังผื่น

2.RT-PCR การแยกเชื้อจาก Nasopharynx secretion, จากตา หรือ ปัสสาวะ ในระยะที่มีไข้ ทำได้ยากไม่นิยม

การให้วัคซีน

การให้ในเด็กอายุ 15 เดือน จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ 95-98% การได้รับซ้ำจะสร้างภูมิได้ 99%

MMR คางทูม หัด หัดเยอรมัน เชื้ออ่อนฤทธิ์ลง เป็นผงแห้งเก็บที่ 2-8 c ได้ 1 ปี ผสมเก็บได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง

ปัจจุบันให้ 2 ครั้ง

ครั้งแรก อายุ 9 เดือน ฉีดครั้งเดียวภูมิอยู่ตลอดชีวิต การฉีดก่อนจะมีปัญหาเนื่องจากเด็กมีภูมิจากแม่จะรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กเอง

ครั้งที่สอง ตอนประถม 1 หรือ อายุ 6 ปี

ผลแทรกซ้อนวัคซีน

อาการหวัด ผื่น ไอ จุด Koplit’s spot 5-12 วันหลังได้วัคซีน เป็นนาน 1-2 วันได้ แต่อาการไม่รุนแรง

ห้ามใช้วัคซีนเชื้อเป็น

1.หญิงตั้งครรภ์

2.ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถูกกดภูมิ ได้ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด

3.เป็นไข้ ไม่สบาย ควรรอให้หายป่วยก่อน

4.ไม่ควรได้ เลือด immunoglobulin 14 ก่อน และหลัง 3 เดือน

การให้วัคซีน-immunoglob.หลังสัมผัส

1.ให้ใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัส ป้องกันโรคได้

2.สัมผัส 3-6 วันหลังสัมผัส ให้ IG สำหรับ

-ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ให้ immunoglobulin 0.5mg/kg im ใน 6 วันหลังสัมผัส max 15 ml

-อายุน้อยกว่า 1 ปี ให้ immunoglobulin 0.25mg/kg im ต้นแขน ใน 6 วันหลังสัมผัส max 15 ml

-หญิงตั้งครรภ์ เด็กทุพโภชนาการ

ข้อห้ามการฉีดวัคซีน

-หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิควรให้หลักจากคลอดแล้ว อย่างน้อย 3 เดือน หลังให้ HNIG

-เลี่ยงการตั้งครรภ์หลังจากให้วัคซีนอย่างน้อย 1 เดือน

-ห้ามให้ขณะตั้งครรภ์

-ป่วยปานกลาง-รุนแรง

-กรณีให้เลิือดหรือIg ควรเว้นระยะการให้วัคซีน 3-10 เดือน เป็นอยางน้อย

-immunosuppresion: ได้ prednisolone มากกว่า 2 mg/kg/dayหรือ20mg/dayหรือนานกว่า 14 วัน

-severe HIV infection (CD4<201cells/mm2)

-anaphylactic reaction ต่อ neomycin และ gelatin

การรักษา

1.รักษาตามอาการ

2.ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะยกเว้น หูหรือปอดอักเสบ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

3.อาหารอ่อนให้ครบถ้วย เสริมด้วยวิตามินเอ แนะนำให้ทุกรายในพื้นที่ที่มีการขาดวิตามินเอสูง จะช่วยลดอัตราตายของโรคหัดได้

การแยกผู้ป่วย ที่สงสัยจนถึง 4 วันหลังผื่นขึ้น

โรคแทรกซ้อน พบบ่อยและรุนแรงในผู้มีสภาวะทุพโภชนาการ ในเด็กเล็ก

1.ทางเดินหายใจ : otitis media, Croup, pneumonia

2.ทางเดินอาหาร : diarrhea เสียโปรตีน เจ็บปาก ขาดน้ำ

3.ระบบประสาท : encephalitis พบ 1:1000 ราย อาจมีความพิการเหลืออยู่ได้

SSPE subacute sclerosing panencephalitis เกิดได้น้อยมาก 1:100000 ราย

4.ในเด็กขาดวิตามินเอ อาการรุนแรงตาบอดได้

อัตราตาย 5-10 % ในเด็กที่ทุพโภชนาการ ทำให้เกิด acute akashiorkor ได้

โรคหัดระหว่างการตั้งครรภ์ : เสี่ยงต่อ การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด น้ำหนักตัวน้อย

กุญแจสำคัญ

1.เพิ่มความเสียงของ maternal mortality

2.ความเสี่ยงสูงต่อ fetal loss และ prematurity

3.ในระยะท้ายการตั้งครรภ์ ทำให้เกิด perinatal infection ใน infant ได้

อาจสัมพันธ์กับอัตราตายที่สูงและเกิด subacute sclerosing panencephalitis

4.ยังไม่มี รายงานที่ยืนยันถึงการเกิด ความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก

แนวทางการใช้ HNIG numan normal Immunoglobulin

แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเกิด measle

แม้ว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงการลดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์

แต่ก็น่าจะส่งผลในการลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

กลุ่มเสียง ที่ควรจะได้รับ

1.immunocompromise host (รวมถึง หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน)

2.เด็กอายุ 5-12 เดิอน (ก่อน 5 เดือนมีภูมิจากแม่ )

3.ทารกที่มารดาที่เป็นหัด เด็กก็น่าจะยังไม่มีภูมิ

ลักษณะหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง

1.ไม่มีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน

2.ไม่ได้รับวัคซีน 2 ครั้ง

3.serology ตรวจไม่พบภูมิต่อ measle

Ref.

http://203.157.15.4/wesr/file/y48/F48013.pdf

http://61.19.32.19/epid/data/measle.pdf

http://www.pth.go.th/a/Health8.pdf

http://thaigcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/aric_cool1.pdf

http://www.cdc.gov/vaccines/pubs/surv-manual/chpt07-measles.pdf

http://nih.dmsc.moph.go.th/fsheet/showimgpic.php?id=44

http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=360

https://www.hpsc.ie/A-Z/LifeStages/Pregnancy/File,4261,en.pdf

http://www.pidst.net/1stblood/ManualUpload/Vaccines%20Handbook/14.pdf

http://pidst.or.th/userfiles/27_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94.pdf