Influenza vaccine

Influenza virus vaccine

Qx Rx:ex: Vaxigrip®, Influvac®

Sig 0.5 ml(ครึ่งแอมป์) deep sc or im ปีละครั้ง

ยกเว้นเด็ก< 9 ปี ฉีด 2 ครั้งห่าง 1 เดือน

เด็ก 6 เดือน- 3 ปี ใช้ 0.25 ml

คนท้อง, HIV, asthma , COPD ก็ฉีดได้ เพราะเป็นวัคซีนเชื้อตาย

ส่วนเป็นแบบพ่นจมูกในต่างประเทศ ใช้เชื้อเป็นต้องระวัง

เชื้อมีทั้งหมด 3 ชนิดคือ A,B,C

A ก่อโรคในคนและสัตว์

B และ C ก่อโรคในคน เท่านั้น

โครงสร้างไวรัส ที่ envelope มี glycoprotein ที่สามารถเปลี่ยนแปลงหน่วยพีนธุ์กรรมได้เอง

จึงทำให้เกิดได้หลายสายพันธุ์ เช่น H1N1,H2H2,H5N1 เป็นต้น

H= Hemagglutinin ทำปฏิกิริยาให้ RBC จับกลุ่มได้

N= Neuraminidase เป็นโปรตีน enzyme ย่อยเยื่อหุ้มเซลล์ ของ host ได้

ที่ระบาดในไทย

Influenza มี 2 ตัว H1N1, H3N2

และ Influenza B : 2 สายพันธุ์ สลับกัน Vitoria กับ Yamasaki

ในไทย ระบาดมากสุด คือ H3N2 ทุกปี เลย

ในฮ่องกงก็ด้วยและระบาดง่ายมากเนื่องจากที่นั่นคนอยู่กันหนาแน่นมาก

ง่ายต่อการระบาด

มักระบาดในช่วงฤดูฝน ต่างจากเมืองหนาว

การฉีดวัคซีน จึงควรฉีด ช่วง เมษายน-พฤษภาคม คือ ก่อนเปิดเทอมใหญ่

Influenza B ทำให้ระบาดในระดับภูมิภาค จะมีการ drift มากกว่า สายพันธุ์ A

ดังนั้นวัคซีนจึงต้องมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปี

แต่จะเป็นการเปลี่ยนเฉพาะสายพันธฺุ์ B

ส่วน A นั้นใช้สายพันธุ์เดิมตลอด 6 ปีที่มีการฉีดในไทย

{2559}

วัคซีนป้องกัน

แบ่ง 2 กลุ่ม ในไทยมีเฉพาะ TIV ชื่อวัคซีนด้านล่างเฉพาะที่มีจำหน่ายในไทย

1.Live-attenated influenza vaccine(LAIV) เชื้อเป็น เชื้ออ่อนพ่นทางจมูก มีจำหน่ายใน USA ส่วนไทยยังไม่มี สำหรับผู้มีอายุ ตั้งแต่ 2 ปี ถึง 49 ปี ไม่ควรใช้ในกลุ่มเสี่ยงเนื่องจากเชื้อยังมีชีวิต

2.Trivalent inactivated influenza vaccine (TIV)เชื้อตาย แบ่ง 2 แบบ

-Split vaccine ประกอบด้วย surface และ internal Ag

: Vaxigrip®, Fluzone®, Fluarix®, Begrivac®

-Subunit vaccine ประกอบด้วย surface Ag อย่างเดียว

: Agrippal S1® และ Influvac®

:แบบ Adjuvant เพิ่ม MF 59 เป็นส่วนประกอบ : Fluad® สำหรับผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี โดยเฉพาะ แต่ปวด

:แบบ Adjuvent ชนิด Virosome : Inflexal V® ใช้เทคนิคใหม่ในการทำวัคซีน

การเก็บวัคซีน TIV 2-8 c ห้ามแช่แข็ง

จำนวนสายพันธุ์ที่ใช้ผลิดวัคซีน

ใช้ 3 สายพันธุ์ A 2 ตัว(H1N1,H3N2) และ B 1 ตัว

ไม่ว่าแบบ 3 หรือ 4 สายพันธู์ H3N2 ก็เป็นตัวเดียวกัน

ปกติวัคซีน มีแบบ 4 สายพันธุ์ กับ 3 สายพันธุ์

โดยแยกเป็นซีกโลกเหนือกับใต้

โดยสายพันธุ์ในวัคซีนจะเปลี่ยนแปลงทุกปีตามการระบาด โดยการตรวจเชื้อจะพบว่า

ของไทยจะตรงกับซีกโลกใต้มากกว่า คือ นิวซีแลนด์ หรือ ออสเตรเลีย

ปีนี้ใช้สายพันธุ๋ Newzealand 2558

ปีหน้าจะใช้ สายพันธ์ุ Hongkong 2559

ขนาดวิธีใช้

TIV : ใช้ในเด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆได้ หรือ ให้ห่างจากวัคซีนก็อื่นได้โดยไม่จำกัดเวลา

การฉีดครั้งแรก

อายุน้อยกว่า 9 ปี ฉีด 2 Dose ห่างกัน 1 เดือน

อายุ 9 ปีขึ้นไป ฉีด Dose เดียวเท่านั้น

ฉีดซ้ำทุก 1 ปี โดยฉีด IM หรือ deep subcutaneous

ควรฉีดตลอดไป ไม่มีข้อห้าม ปีละครั้ง

แต่ แนะนำว่า ฉีดในกรณีที่มีความเสี่ยงจะดีสุด

คนธรรมดาฉีดหรือไม่ก็ได้

กรณี การฉีดคนธรรมดา เพิ่อป้องกันการแพร่เชื้อ หรือ ป้องกันการขาดงานเมื่อเจ็บป่วย

ขนาดที่ฉีด

อายุมากกว่า 3 ปี ใช้ 0.5 ml(เด็กและผู้ใหญ่เท่ากัน)

ยกเว้น เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ 0.25 ml

ประสิทธิภาพ

ป้องกันสายพันธุ์ที่มีในวัคซีน 70-90 % ผู้ที่รับวัคซีนแล้วก็เกิดอาจหวัดได้

แต่อาการจะน้อยลง และหากเป็นมักเป็นการติดเชื้อ สายพันธุ์ B มากกว่า

สายพันธุ์ A ป้องกันได้ผลดีกว่า ภูมิขึ้นดีกว่า

สายพันธุ์ B ฉีดแล้วป้องกันได้ผลน้อยกว่า ภูมิขึ้นน้อยกว่า

สายพันธุ์ A มักไม่ค่อยเปลี่ยนมาก ใช้สายพันธุ์เดิมตลอด ดังนั้นหากฉีดทุกก็เท่ากับได้การกระตุ้นใหม่ทุกปี

แต่สายพันธุ์ B เปลี่ยนทุกปี ตามการระบาด

ข้อบ่งชี้

1.กลุ่มเสี่ยงทั้งหลาย กระทรวงให้มาฟรี 2.4 ล้านโดส

2.บุคลากรทางการแพทย์{ฉีดเพื่อป้องกันการแพร่ไปสู่ผู้อื่น}

3.ผู้อยู่ในบ้านเดียวกับกลุ่มเสี่ยง

อื่นๆ ในโรงเรียน สถาบันการศึกษา สถานเลี้ยงเด็กต่างๆ เนื่องจากเด็กแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่

อาการไม่พึงประสงค์

ปวดเฉพาะที่ฉีด ปวดเมื่อย หรือมีไข้เล็กน้อย 1-2 วัน

ข้อห้ามและควรระวัง

1.แพ้ไข่ไก่ เนื่องจากวัคซีนเชื้อเพาะในไข่ไก่

2.ผู้เจ็บป่วยเฉีพบพลัน หรือ เป็นโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรง

3.ผู้ได้รับยาเคมีบำบัด หรือผู้ที่มี WBC น้อยกว่า 1000/mm2

4.ผู้ป่วย GBS ภายใน 6 สัปดาห์

25 7 560

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วทำไม ยังเป็นไข้หวัดใหญ่

ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในปีนี้ โดยรวมสามารถป้องกันได้เพียง 42 เปอร์เซ็นต์ เป็นข้อมูลของสำนักงานควบคุมป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา

เมื่อจำแนกตามสายพันธุ์แล้ว พบว่าไข้หวัดใหญ่ เอ สายพันธุ์ H3N2 มีประสิทธิภาพต่ำสุด ป้องกันโรคได้เพียง 34 เปอร์เซ็นต์

ไข้หวัดใหญ่ เอ สายพันธุ์ H1N1 2009 มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ได้ 54 เปอร์เซ็นต์

ไข้หวัดใหญ่ บี สามารถป้องกันโรคได้ร้อยละ 55-60

แต่ในปีนี้ประเทศไทย การระบาดของไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็น ไข้หวัดใหญ่ เอ H3N2 เสียด้วย ดังนั้น ประสิทธิภาพของ ว้คซีนจึงไม่ดีเท่าที่ควร

ประสิทธิภาพที่ต่ำ ก็คงไม่ต้องโทษ แพทย์ หรือโรงพยาบาล ของประเทศไทย นะครับ ถ้าฉีดแล้วยังเป็นไข้หวัดใหญ่

ถ้าโทษต้องโทษ องค์การอนามัยโลก และ บริษัทวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่คาดคะเนสายพันธุ์ไวรัส ไม่ตรงกับการระบาดของโรค หรือโทษไวรัส ที่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เร็วไปหน่อย

Ref.

FB:อ.ยง ภู่วรวรรณ

Ref.

http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/content.php?items=20

http://www.rachvipamri.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538883307&Ntype=2

http://www.medtechzone.com/knowledge/influenza.php

http://www.inf.ku.ac.th/article/diag/520501/ah1n1.html

http://doctor.or.th/article/detail/6656

http://www.pidst.net/userfiles/13_%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88.pdf