Infectious mononucleosis

Infectious Mononucleosis

Qx Dx: ไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต

Qx Ix: EBV IgG(VCA),EBV IgM(VCA)

Qx Rx: supportive ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงให้ steroid ช่วยได้

IM: เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ EBV ที่เป็น primary infection ของ Epstein-Barr virus infection

EBV: เป็น gamma herpesvirus , double-stranded DNA

EBV: เป็นไวรัสที่ก่อโรคได้หลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกรณี Infectios Mononucleosis เท่านั้น

Primary EBV infection หรือ Infectious mononucleosis

ประวัติ

1920 รายงานครั้งแรก โดย Sprunt และ Evans

อธิบาย EBV infectious mononucleosis ว่าเป็น Mononuclear leukocytosis ที่ตอบสนองต่อ acute infection ที่เกิดจากEBV

การติดต่อ

การติดต่อที่สำคัญที่สุดคือ oral transmission โดยสัมผัสกับสารคัดหลั่งทางปาก โดยเฉพาะการจูบกัน อาจเรียกได้ว่าเป็น “Kissing disease”เด็กที่ได้รับเชื้อ ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ประมาณ 40% วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่

Pathophysiology

EBV ติดเชื้อที่ B cell ใน oropharyngeal epithelium เข้ากระแสเลือดไป reticular endothelial system ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง

อายุที่พบ พบในเด็กโตและวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ 10-30 ปี

อาการและอาการแสดง

มีไข้ ปวดศีรษะเจ็บคอ มีwhite patch ที่ทอลซิล และ oropharynx ต่อมน้ำเหลืองคอโตสองข้าง ตับม้ามโต ที่สำคัญ liver enzyme สูงขึ้นมากกว่า 80% ของผู้ป่วย

การตรวจร่างกายพบ

Splenomegaly, palatal petechial, posterior and anterior cervical LN โต(ที่อื่น axillar, inguinal)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

CBC: lymphocytosis(มักมี atypical lymphocyte สูงขึ้น เฉลี่ยพบได้ 3% หากมากกว่า 10% จะมีส่วนช่วยสนับสนุนโรคอย่างมาก)

การวินิจฉัย

จากอาการ : ไข้ เจ็บคอ + ม้ามโต +จุดเลือดออกบนเพดาน +ต่อมน้ำเหลืองคอรักแร้โต

CBC: พบ lymphocyte อย่างน้อย 50% และเป็น atypical lym. 10% ขึ้น

ex: เด็กชาย 6 ปี มาด้วย ไข้ ไอ อาเจียน หน้าคอบวม เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองคอโตมาก CBC hct 34.3 wbc14200 PMN21 L65 mono12

ส่ง EBV IgM,IgG positive

การตรวจทางน้ำเหลือง

EBV IgM(VCA) [viral capsid antigen] พบในช่วงที่มีอาการระยะแรก จะหายไป 4-8 สัปดาห์ ไว้ตรวจดูกรณี primary infection จะไม่พบในระยะเรื้อรัง

EBV igG(VCA) เริ่มพบไม่นานหลังจากเริ่มมีอาการ มักจะเริ่มพบตอนช่วง peak ของ IgM และจะตรวจพบตลอดไป

EBNA IgG[EBV nuclear antigen proteins] พบหลังจากติดเชื้อไปแล้วหลายๆ สัปดาห์

การแปลผล

Acute infection : EBV IgM + ,EBV IgG +- ,EBNA IgG -

Previous infection : EBV IgM - ,EBV IgG + ,EBNA IgG +

การรักษา

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการเพียงการรักษาประคับประคอง และรักษาตามอาการ

การให้ยา acyclovir และ steroid ไม่ทำให้ระยะเวลาเจ็บป่วยสั้นลงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา จะให้บางกรณีเท่านั้น

Acycloviaการนำมาใช้รักษาพบว่า ลด orapharyngeal viral shedding ได้ชั่วคราวในขณะที่ได้รับยา แต่หลังหยุดยาปริมาณไวรัสกลับมาเท่าเดิม ไม่ต่างจากกลุ่มที่ได้รับยา การให้ยาก็ไม่ทำให้ระยะเวลาเจ็บป่วยลดลงจึงไม่มีที่ใช้รักษา

Corticosteriodไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บคอหรือไข้ลดลงอย่างชัดเจน แต่อาจมีผลข้างเคียง จึงยังไม่มีการแนะนำการใช้

ยกเว้นในกรณีมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น upper airway obstruction, marked splenomegaly, thrombocytopenia with hemorrhage, AIHA, myocarditis/pericarditis, and CNS involvement

ขนาดยาที่ใช้

Prednisolone 1-2 mg/kg/day(max60mg/day) อย่างน้อย 1 สัปดาห์และลดจนหยุดใน 2 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อน

1.Splenic rupture เกิดจากม้ามโต ร่วมกับ เกิด subcapsular splenic hemorrhage เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด มักเกิดในสัปดาห์ที่ 2 ของโรค พบได้น้อย

2.Upper airway obstruction จากทอลซิล และ lymphoid tissue ที่บวมมาก

3.Autoimmune hemolytic anemia(Coomb’s test positive) ทำให้เกิดภาวะซีดรุนแรง บางรายเกิด aplastic anemia, thrombocytopenia และ severe neutropenia ได้ ซึ่งต้องแยกจากภาวะ IAHS จากไวรัส ควรต้องตรวจ bone marrow

4.Reye syndrome ร่วมกับการเกิด hepatic failure มี liver enzyme ขึ้นสูงแต่มักไม่มีภาวะ jaundice

5.CNS involvement ได้แก่ meningoencephalitis, ataxia, seizure, Gullain-Barre syndrome(GBS)

6.Cardiac involvement ได้แก่ myocarditis, pericarditis, pericardial effusion

7.Interstitial pneumonia with respiratory distress

DDX.

1.streptococcal pharyngitis

2.CMV infection

3.Toxoplamosis

4.HIV infection

Ref.

http://emedicine.medscape.com/article/222040-clinical#showall

http://www.aafp.org/afp/2004/1001/p1279.html

http://www.pidst.net/file_journal/pidst_20120801153933_filejou.pdf

http://www.med.cmu.ac.th/dept/pediatrics/06-interest-cases/ic-79/Ped401-Exanthemotous%20Fever-thanyawee.pdf ไข้ออกผิ่น

http://medinfo.psu.ac.th/smj2/smj24_4/pdf24_4/10-347.pdf

http://www.pidst.net/knowledge-doctor.php

http://www.slideshare.net/drterd/epstein-barr-virus

http://www.pckpb.ac.th/forum/viewtopic.php?f=121&t=8087

http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4705/html/ebv1.html

http://emedicine.medscape.com/article/222040-overview