Newborn care

Newborn care

I. Routine care

1. Eye prophylaxis ด้วย AgNO3

2. Konakion (vitamin K1) 1 mg IM

3. maintain thermoneutral environment

4. ดูด gastric content ออกให้หมด และบันทึกจำนวนที่ได้ หากมากกว่า 20 cc. พึงระวังว่าอาจมี gut obstruction ได้

5. BCG และ Hepatitis B.vaccine เข็มที่ 1

II. Physical examination

1. vital signs : PR, RR, Temp และ BP

2. measurement : HC, CC, L, BW และวัด HC, CC, L สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. gestational age assessment : Ballard’s หรือ Dubowitz’s method

4. ตรวจร่างกายทุกระบบอย่างละเอียด เมื่อแรกรับ และทุกวันอย่างน้อยวันละครั้ง

5. บันทึก congenital malformation ที่พบทุกอย่าง

6. การตรวจทั้งหมด ควรจะบันทึกลงใน chart ทุกครั้ง

III. Laboratory test

- routine lab ทำ Hematocrit, Dextrostix หรือ Reflolux, เจาะเลือดส่งทำ neonatal screening test (TSH, PKU, G6PD ฯลฯ)

IV. Feeding

1. NPO ระหว่าง observe อาการทารกประมาณ 4-5 ชั่วโมง ในทารกครบกำหนดแต่ถ้าทารกตัวใหญ่อาจให้นมเร็วขึ้น

2. Test feeding ด้วย sterile water 1-2 มื้อ ทุก 3-4 ชั่วโมง

น้ำหนักทารก

1000-1500gm

1500-2000gm

> 2000 gm

ปริมาณ/มื้อ

3-8 cc

8-15 cc

15-20 cc

- แล้วให้เริ่มนม เท่ากับปริมาณน้ำมื้อแรก

- วันต่อไป เพิ่มจำนวน 2 - 5 มล. ต่อมื้อ ในเด็กต่ำกว่า 1000 กรัม

5 - 10 มล. ต่อมื้อ ในเด็กต่ำกว่า 2000 กรัม

- จนได้พลังงาน 110-120 kcal/kg/day แต่ให้เพิ่มไม่เกิน 20-24 มล./กก./วัน

- อย่างไรก็ตามถ้าทารกอยู่ในตึกสูติกรรมควรแนะนำการให้กินนมแม่ ทารกที่ย้ายมา รพ.เด็ก ถ้ามารดามีน้ำนมให้นำมาให้ทารกได้

- ในทารกต่ำว่า 34 wk GA หรือน้ำหนักต่ำกว่า 1500 กรัม ให้พิจารณา gastric tube feeding

- ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1800 กรัม แนะนำให้ใช้นมสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด (1 OZ = 24 แคลอรี่)

- ควรพิจารณาให้ IV fluid ในกรณีดังต่อไปนี้

1. ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1500 กรัม อายุวันแรก ๆ

2. Infant of diabetic mother

3. ทารกที่มีการเจ็บป่วย เช่น severe birth asphyxia, respiratory distress, ช็อก, apnea เป็นต้น ในกรณีเหล่านี้ควร NPO และให้ IV fluid ตามน้ำหนักตัวและ Gestational age

- off IV fluid เมื่อให้ oral feeding ได้ถึง 80 kcal/kg/day

- ใน high risk infant ที่อาจเกิดภาวะ hypoglycemia เช่น IDM, LGA น.น. > 4000 กรัม, SGA, preterm เป็นต้น ให้ทำ Hct และ dextrostix ในระยะ 2 - 4 ชม. หลังคลอดและติด

ตามทำเป็น ระยะ ๆ และให้เริ่มนมเร็วได้เลย การให้ PN (Parenteral nutrition) ให้พิจารณา

ให้ protein ในวันที่ 2-3 และเพิ่มเรื่อย ๆ จนถึงปริมาณที่ควรได้รับ และให้ feed ในวันที่ 3

ถ้า bowel sound ได้ยิน

VI. Calcium gluconate

- การให้ Calcium IV ควรพิจารณาให้ในทารกต่ำกว่า 1500 กรัม, asphyxia, RD, sepsis, diarrhea, hypoglycemia ซึ่งรับ oral feeding ยังไม่เต็มที่และยังจำเป็นต้องให้ IV fluid อยู่

- วิธีการให้ : สำหรับ maintenance ให้ 10% calcium gluconate 200 mg/kg/day ผสมใน fluid ที่ไม่มี NaHCO3 หรือแบ่งให้ 4 ครั้งต่อวัน เจือจางเท่าตัว เข้าเส้นช้า ๆ (10% calcium gluconate 1 cc = 0.5 mmol = 100 mg)

VII. การดูแลอื่น ๆ

1. ทารกที่อยู่ในโรงพยาบาล ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางอาการ การวินิจฉัยและการรักษาควรบันทึกลงใน chart นั้น

2. ทารกที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 2000 กรัม ควรให้ MTV drop 0.3 cc /day ภายในอายุ 3-5 วัน ถ้าไม่มีปัญหา (กรณีที่ได้ TPN ซึ่งมี vitamin แล้วก็ยังไม่ต้องให้)

3. consult จักษุแพทย์ เพื่อตรวจ fundi ในทารกน้ำหนักตัวน้อยทุกราย ที่เคยได้ O2 หรือ ทำ exchange transfusion เมื่อ condition ดีโดยเร็วที่สุด เมื่ออายุครรภ์ครบ 34 สัปดาห์ หรือ4-6 สัปดาห์หลังเกิด

4. Consult ENT เพื่อตรวจ screening hearing test ก่อนกลับบ้านทุกราย

5. Discharge เมื่อทารกน้ำหนักเกิน 1800 กรัมและกินดี, ไม่ต้องการ incubator เพื่อ maintain temperature และเมื่อปัญหาต่างๆไม่มีแล้ว ก่อนกลับควรเช็ค CBC/Hct เพื่อดูภาวะ anemia ในทารกน้ำหนักตัวน้อยทุกราย พร้อมทั้งให้ตรวจร่างกายละเอียด วัด BW, HC, CC, L และบันทึกลงในรายงาน

6. ทารกที่แม่ทิ้งอยู่โรงพยาบาลนาน พิจารณาให้ immunization ตามเกณฑ์อายุ ยกเว้นใน ward premature

Thermoregulation

เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกที่มีปัญหา Thermoneutral environment จะทำให้ทารกใช้พลังงานและ oxygen ได้อย่างประหยัดที่สุด อันเป็นผลให้ปัญหาต่าง ๆ เช่น respiratory distress และโรคแทรกซ้อนในภายหลังลดน้อยลง

ข้อควรปฏิบัติมีดังต่อไปนี้

- เช็ดตัวทารกให้แห้ง ทันทีภายหลังคลอด (ยกเว้นทารกที่มี meconium stained ที่ไม่ค่อยหายใจ)

- วางเด็กใต้ Radiant warmer หรือ Incubator ที่เปิดเครื่องเตรียมไว้แล้ว

- ไม่อาบน้ำจนกว่าจะผ่านพ้น transitional period ไป

- ในระยะ 1-2 ชม. หลังคลอดนี้ การสังเกตอาการต่าง ๆ ของทารกจะช่วยทำให้สามารถวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เพิ่งเริ่มเป็น หรือเป็นแต่น้อยได้ เช่น mild respiratory distress ทำให้เริ่มการรักษาได้เร็วขึ้น

- ในกรณีทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1500-1800 กรัม หรือทารกที่มีปัญหา hypothermia ให้ใส่ incubator ไว้

Modified From Hry,E., Brit. Med. Bull 31-69, 1975

http://www.pediatrics-qsnich.com/modules.php?name=Cont2&pa=showpage&pid=82