Scarlet fever

Scarlet fever ไข้อีดำอีแดง

Qx dx: ไข้ เจ็บคอ ผื่นแดง มือลอก [ผื่นในกลุ่ม diffuse erythema with desquamation]

Qx Rx: oral PenV, amoxy, cephalexim หรือ erythromycin

Scarlet fever ไข้อีดำอีแดง

คือ ไข้ออกผื่นที่เกิดจากเชื้อ streptococcus

ลักษณะสำคัญ คิอ fever, exudative pharyngitis, scarlatiniform rash

[scarlatiniform rash

คือ small red papule หรือ pinpoint papule จำนวนมากกระจายตามผิวหนัง

ลูบคล้ายกระดาษทราย sandpaper rash (กระดาษทรายเบอร์ 4)

-แต่หากพบ scarlatiniform rash ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็น scarlet fever

เนื่องจากพบในโรคอื่นได้ เช่น Kawasaki disease, viral infection หรือ แพ้ยา ดังนั้นต้องอาศัยประวัติอื่นร่วมด้วย]

สาเหตุเกิด

-เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ B-hemolytic Streptococcus group A (gm positive cocci)

-เป็นตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดทอลซิลอักเสบ พบเป็นเชื้อประจำถิ่นในปาก คอ ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์

พบได้ ในน้ำ ฝุ่น น้ำนม อยู่ในที่แห้งได้ ในฝุ่นละอองได้เป็นเวลานาน

สาเหตุทำให้เกิดไข้ออกผื่น

-เนื่องจากเชื้อสารพิษ erythrogenic toxin ออกมามาก

-มักเกิดจากการติดเชื้อ streptococcal ที่คอเป็นหลัก

แต่การติดเชื้อที่อื่น แผลติดเชื้อผิวหนัง(erydipelas, pyoderma, cellulitis) แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ก็เกิดได้

ระยะฟักตัว 1-4 วัน

ระยะติดต่อ ตลอดระยะเวลาที่ป่วย

การติดต่อ ฝอยละออกน้ำมูก น้ำลาย สัมผัสโดยตรง

อายุที่พบ พบมากในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 10 ปี พบมาก 4-8 ปี ต่ำกว่า 2 ปีพบน้อยมากยังมีภูมิคุ้มกันจากมารดา

ความสำคัญ

หากรักษาไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ Rhematic fever และ poststreptococcal Glomerulonephritis ได้

การดำเนินโรค

วันแรก ไข้สูงทันที เจ็บคอ อาเจียน ปวดเมื่อย

วันที่ 2(12-24hr) หลังมีไข้

-มี ผื่นแดงเรือๆ ที่หน้า ยกเว้นที่รอบปาก (erythema circumoral pallor) แยกกับ flush face ซึ่งจะแดงทั้งหน้า

-ตรวจช่องปาก ในช่องปากแดงจัด อาจพบจุดเลือดออกที่เพดานปาก

-ลิ้นแดงคล้ายสตอเบอร์รี่ อาจพบฝ้าปกคลุม

-ต่อมาผื่นจะกระจายไปที่ ลำตัว แขนขา อย่างรวดเร็ว อาการต่างๆจะเริ่มหายประมาณ 4-5 วัน ยกเว้นอาการทางผิวหนังจะคงอยู่หลายสัปดาห์

วันที่ 6 ผื่นจะเริ่มจาง

-ผิวหนัง ลิ้น มือ เริ่มลอก พบหน้าลอกมือเท้าลอก อาจเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์

-เป็นระยะ healing period

อาการแสดงสำคัญ

1.ไข้สูง เจ็บคอ

2.ทอลซิลบวมแดงหรือมีจุดหนอง

3.Strawberry tongueลิ้นแดงมาก ลิ้นเป็นฝ้าขาวหนาขึ้นและตุ่มเล็กมีสีชมพู (classic คือ white strawberry tongue : white membrane with edematous red papillae protrude) แต่ไม่จำเป็นต้องพบแบบนี้ อาจพบแดงจัดทั้งลิ้นและมีตุ่มแดงเล็กๆได้(prominent paplllae)

4.diffuse erythema with desquamation ผื่นแดงผิวหนังมีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวสากคล้ายกระดาษทราย(sandpaper rash) พบที่แก้ม ลำคอ อก ข้อศอก รักแร้ ขาหนีบ ผื่นเริ่มพบที่หน้าอกลำตัวด้านบนก่อน อาจพบ Pastia’s lines เป็นเส้นสีแดงที่ข้อพับด้านใน ใต้วงแขน(เกิดจากเส้นเลือดฝอยเปาะแตก เป็น petichia ต่อกันเป็นเส้นๆ ที่ข้อพับ ขาหนีบ รักแร้)พบ 1-2 วันแล้วหายไปพร้อมกับผื่น

4.อาจพบ ต่อมน้ำเหลืองโต คลื่นไส้อาเจียน

5.กรณีที่เป็นมาก จะพบจุดขาวๆเล็กๆ (small vesicle) เรียกว่า meliary sudamina ที่หน้าท้อง มือ เท้า

การวินิจฉัย

จากประวัติตรวจร่างกายและ การเพาะเชื้อจากคอด้านใน

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. CBC:

WBC 1200-16000/microL, 95%PMN สัปดาห์ที่สอง Eo สูงอาจถึง 20%

อื่นๆ UA, LFT อาจพบหากมี complication ร่วม

2. Throat culture

-สำหรับยืนยัน ว่ามีการติดเชี้อ 90% sen.ต่อโรคนี้ 10% อาจพบได้เป็นพาหะปกติ

-การเก็บตัวอย่าง ให้ป้ายที่ posterior pharynx, tonsils ที่มีหนอง ระวังไม่โดนริมฝีปากหรือลิ้นหรือกระพุ่มแก้ม

3. Rapid streptococcal tests (RAT kits) 95%spec, 70-90%sens

4. Anti-deoxyribonuclease B(ADB) และ antistreotolysin-O titers(ASO)

-ใช้ยืนยันได้ ที่ใช้บ่อยคือ ASO test ดู titer ของ antibody บอกได้ว่าเพิ่งจะติดเชื้อมาหรือเปล่า

-อาจใช้ตรวจหาสาเหตุ ในกรณีเด็กที่เป็น acute renal failure หรือ acute glomerulonephritis

ภาวะแทรกซ้อน

ปัจจุบันพบน้อยลงมาก

-Nonsuppurative sequelae(late complication)

ได้แก่ Rheumatic fever, acute glomerulonephritis

-Purulent complication

ได้แก่ Pneumonia , otitis media, sinusitis ควรดูด้วยว่ามีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้หรือไม่

อื่นๆ meningitis, hepatitis, septicemia, osteomyelitis

-อาการที่เกิดจาก toxin-mediated sequelae แต่พบได้น้อยมากๆ

ได้แก่ myocarditis และ toxic shocklike syndrome

อาการอื่นๆ หลังหายสัปดาห์-เดือน

-อาจพบ เล็บมีลักษณะ เป็นร่องตามขวาง(transverse groove) และมีผมร่าวง(telogen effuvium)

DDX:

1.เชื้อที่ทำให้เกิดคออักเสบและเกิดผื่นคล้ายกัน Staphylococcus aureus,Haemophilus influenzae,Arcanobacterium haemolyticum, และ Clostridium species

2.fifth disease ผื่นคล้ายกัน แต่เด็กสบายดี ไม่มีไข้

3.Rubella และ rubeola ผื่นคล้ายแต่ดูอาการร่วมอื่น ตาแดง น้ำมูกข้น ไอ ผื่นหลังหู หนังศีรษะ หน้าหัวเป็นหลัก

4.viral exanthema อื่นๆ EVB(infectious mono. ทอลซิลบวมมีหนอง ต่อมน้ำเหลืองคอโตมาก), enterovirus, hepatitis B, HIV, rat bite fever(Streptobacillus moniliformis)

5.bacteria อื่นๆ toxic shock syndrome, secondary syphilis

6.Non-infectious disease เช่น Kawasaki disease, acute lupus erythematous, morbiliform drug eruption,และ juvenile rheumatoid arthritis.

การรักษา

Goal 3 times(goal goal goal :x)

1.ป้องกันไม่ให้เกิด acute rheumatic fever

2.ลดการติดต่อ ป้องกันเชื้อกระจาก

3.ป้องกันการเกิด poststreptococcal glomerulonephritis และ suppurative sequelae

4.ลดระยะเวลาเจ็บป่วย

ยาปฏิชีวนะต่อเชื้อโดยตรง ให้อย่างน้อย 10 วัน

Drug of choice-penicillin แต่ต้องระวังเชื้อที่ดื้อยา

Standard 10 วัน oral PenV หรือ benzathine PenG im once สามารถป้องกันการเกิดปัญหา ARF หากให้ยาภายใน 7 วันหลังเริ่มเจ็บคอ

Penicillin VK for strep pha:

sig. 500 mg oral q 12 hr * 10 วัน หรือ 250mg q 6 hr* 10 วัน

เด็กน้อยกว่า 12 ปี

Sig. 50-75mg/kg/day oral q 6-12 hr

เด็กมากกว่า 12 ปี

250-500 mg oral q 8-12 hr

หรือให้ amoxicillin 50mg/kg/day แบ่ง bid oral *10 วัน

Effective alternative drug-first generation cephalosporin: cephalexin

แพ้ pen. ให้ erythromycin(10วัน)

อื่นๆ

รักษาทั่วไป ยาลดไข้ พักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวเวลาไข้สูง อาหารเหลว

ห้ามให้ aspirin เนื่องจากทำให้เกิด Reye’s syndrome

สมัยก่อนมียาปฏิชีวนะโอกาสเสียชีวิต 15-20% ปัจจุบันไม่ถึง 1%

กรณีคออักเสบบ่อยอาจต้อง ตัดทอลซิลออก

การป้องกัน

1.แยกผู้ป่วย แยกสิ่งของใช้ เด็กไม่ไปเรียนจนกว่าจะได้ ยาปฏิชีวนะแล้ว 24 ชั่วโมง

2.เลี่ยงการสัมผัส น้ำลาย สารคัดหลั่งผู้ป่วย

3.ผู้ป่วย ผ้าเช็ดหน้าปิดปากไอจาม

4.ล้างมือบ่อยๆ

การทำลายเชื้อ

1.ทำความสะอาดห้องตามปกติ

2.สารคัดหลั่งเช็ดออก แล้วเช็ดด้วย 0.5% sodium hypochlorite ราดทิ้ง 30 นาทีก่อนเช็ดทำความสะอาด

เช็ดตามด้วยน้ำและผงซักฟอก

3.กรณีเร่งด่วน เช็ดคราบออก แลวใช 0.5% sodium hypochlorite หรือ 70% Alcohol เช็ดตาม

กอนทําความสะอาดตามปกติ

Ref.

http://www.vajira.ac.th/ic/wp-content/uploads/2010/01/IC-SD-013-_Scarlet-fever_.pdf

http://www.cdc.gov/Features/ScarletFever/

http://emedicine.medscape.com/article/1053253-overview

http://pediatrics.uchicago.edu/chiefs/documents/exanthems.pdf

http://www.pediatrics.wisc.edu/education/derm/tutc/scarlatiniform.html

http://reference.medscape.com/drug/pen-vee-k-penicillin-v-penicillin-vk-342483