Kawasaki disease

Kawasaki disease{acute febrile mucocutaneous lymphnode syndrome}

Qx Dx:

1.ไข้สูง>5วัน : acute febrile

2. อาการ 4ใน5 : ตา ปาก- มือ ผื่น- ต่อมน้ำเหลือง

-2muco > ตาแดง ปากแดงลิ้นสตอร.

-2cutaneous > มือเท้าบวม ผื่นผิวหนัง

-1lymphnode >ต่อมน้ำเหลืองโต

Qx Rx:

start

IVIG 2 gm/kg iv 10-12 hr ควรให้ภายในวันที่ 10

ASA ขนาดสูง 80-100mg/kg/day จนไข้ลดอย่างน้อย 3-4 วัน

Kawasaki disease

{acute febrile mucocutaneous lymphnode syndrome}

เป็นโรคในเด็กที่เกี่ยวกับ acute sytemic vasculitis

ชื่ออื่น Mucocutaneous lymphnode syndrome ,Infantile polyarteritis nodosa

1976 พบครั้งแรกโดย Tomisaku Kawasaki

คาวาซากิหลักการพื้นฐานเบื้องต้น

- ไม่มีการผลตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งที่จะยืนยันได้ว่าเป็นโรคนี้ ต้องอาศัยความรู้ทางด้านคลินิกเป็นสำคัญในการวินิจฉัย

- คาวาซากิในเด็กเล็ก(infant)หรือเด็กโต(school age)พบว่าการวินิจฉัยอาจไม่ชัดเจนเนื่องจาก อาการอาจมีไม่ครบตาม criteria หรือเป็น atypical Kawasaki ดังนั้นต้องระวังดีๆ

- การรักษาต้องให้ intravenous immunoglobulin ภายใน 10 วันหลังเริ่มมีอาการ ร่วมกับการให้ aspirin และการทำ echocardiography เพื่อดูภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ

ความสำคัญ

หากไม่รักษา 20-25% จะมี coronary aneurysm

สาเหตุ ไม่ทราบแน่ชัด

แต่น่าจะเกิดจากการตอบสนองจากการติดเชื้อ เนื่องจาก

-มีการแพร่กระจายตามภูมิภาคที่มีโรคติดเชื้อ

-อาการที่มีไข้ มีผื่นออก ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโตคล้ายกับการติดเชื้อ

-อาการหายได้เองในที่สุด

-ไม่พบในเด็กน้อยกว่า 3 เดือนเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันจากแม่ ไม่พบโรคนี้ในผู้ใหญ่เนื่องจากเป็นเด็กแล้วมีภูมิแล้ว

อุบัติการณ์

อายุ 1-8 ปี 50% พบในเด็กต่ำกว่า 2 ปี และ 80% พบในเด็กต่ำกว่า 5 ปี อายุเฉลี่ย 2-3 ปี

พบมากทางเอเชีย มากกว่าฝรั่ง

เพศชายมากกว่าหญิง

ลูกที่พ่อแม่เคยเป็นมีโอกาสเป็นสองเท่าของเด็กปกติ

พยาธิสภาพ

มีการอักเสบของ หลอดเลือดแดงขนาดกลาง ทำให้สูญเสียโครงสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด เกิดโป่งพองและเกิดการอุดตั่นของลิ้มเลือดที่แข็งตัว

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่หัวใจ

เพศชาย อายุน้อย PMNสูง Platleteต่ำ liverenzymeสูง Naต่ำ Albuminต่ำ CRPสูง เด็กเอเชีย มีไข้อยู่นาน

การดำเนินโรค มี 3 ระยะ

1.Acute febrile phase ไข้เฉียบพลัน ไข้สูงร่วมกับอาการต่างๆ 1-2 สัปดาห์

2.Subacute phase กึ่งเฉียบพลัน ผื่นลอก เกร็ดเลือดสูง อาจมี coronary aneurysms อาจเสียชีวิตได้ กินเวลา 2 สัปดาห์

3.Convalescent phase พักฟื้น อาการต่างๆกลับสู่ปกติ 6-8 สัปดาห์หลังเริ่มเป็น

อาการ

Criteria diagnosis

A. ไข้สูง>38.3c อย่างน้อย 5 วัน

B.ร่วมกับ 4/5 ดังนี้ : ตาแดง ปากแดง มือเท้าบวม มีผื่น ต่อมน้ำเหลืองโต

ดูรูป click

รายละเอียด Criteria เพิ่มเติม

A. ไข้สูง>38.3c อย่างน้อย 5 วัน

-ไข้ไม่ลดแม้ให้ยาปฏิชีวนะ หากไม่รักษาอาจสูง 1-2 หรือ 3-4 สัปดาห์]

-ไข้จะเป็นเฉลี่ยประมาณ 10 วันถ้าไม่รักษาหากรักษาไข้จะลงใน 2 วัน หลังการรักษา

-การวินิจฉัยหากมีไข้ 4 วัน แต่มี4/5 cirteria ก็วินิจฉัยได้เลย

B. ร่วมกับมีอาการ 4 ใน 5 ดังนี้

1.Conjunctivitis พบ 95%

-ตาแดงแบบ Non-purulent conjunctivitis เป็นทั้ง 2 ข้าง

-ตาแดงแต่จะ spare รอบๆ limbus เอาไว้

-เริ่มเป็นไม่นานหลังจากมีไข้ ไม่เจ็บ ไม่กลัวแสง

-หากตรวจด้วย slit lamp อาจพบ anterior uveitis ร่วมด้วย

2.Mucous membrane change พบ 98%

-erythema, cracking, peeling, bleeding of lips ปากแดง ริมฝีปากแดง แตก ลอก อาจมีเลือดออก

-diffuse erythema of oral mucosa เยื่อบุช่องปากในคอแดง ไม่พบ ulceration หรือ exudative lesion

-ลิ้นเป็น strawberry tongue(แยกไม่ได้จาก scarlet fever)

3.Rash พบ 94% เป็น polymorphous rash

-มักพบภายใน 5 วันหลังมีไข้ ลักษณะผื่น มีได้หลายแบบ อาจเป็น maculopapular rash,

ผิวหนังแดง เป็นผื่นที่ลำตัว ลักษณะ maculopapular rash, scarletiniform หรือ erythema multiforme

4.Peripheral chandge: Swelling of hand/feet พบ 86%

-ช่วงแรก หลังมือหรือ หลังเท้าบวมหรือทั้งสองอาจมีอาการปวดได้ ช่วงสัปดาห์ที่ (1-2)

-ช่วงต่อมา พบปลายมือปลายเท้าลอก(periungual desquamation) (สัปดาห์ที่ 2-3)

-Beau’s line ที่เล็บ 1-2 เดือนต่อมา

5.Cervical lymphadenopathy พบ 76%

-ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต > 1.5cm อย่างน้อย 1 ต่อม ไม่เจ็บหรือเจ็บน้อย ผิวหนังด้านบนปกติ

-ใน infant ต่อมน้ำเหลืองพบโตเพียง 48% เท่านั้น เด็กโตก็พบน้อย

ระวังหากพบภาวะนี้อาจไม่ใช้ Kawasaki disease

-exudative conjunctivitis, exudative pharyngitis

-discrete intraoral lesion

-bullous หรือ vesicular rash

-generalized adenopathy

อาการอื่นๆที่พบได้

CVS:เป็นระบบที่พบมากที่สุดในโรคนี้

-myocarditis พบมากในระยะที่มีไข้เฉียบพลัน

-tachydardia โดยไม่สัมพันธ์กับไข้(ไข้ขึ้น 1 องศา HRขึ้น 10-20 ครั้ง)

-valvular disease 25% พบ mitral valve regurgitation เล็กน้อยจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

-pericardial effusion 20-40%

-abnormal coronary artery: aneurysm พบสัปดาห์ที่2-3 หากโตกว่า 8 mm จะเสี่ยงต่อการแตกหรือุดตัน, MI

-CHF, pericarditis, pericardial effusion, endocarditis

-medium artery aneurysm ที่ไปเลี้ยงส่วนอื่นๆของร่างกาย ที่รักแร้ ข้อพับเข่า เป็นต้น

-distal peripheral artery occlusionทำให้ปลายนิ้วขาดเลือดไปเลี้ยง

Respiratory:

-pneumonia, pulmonary edema

Muscoloskeleton:

-ปวดกระดูก กล้ามเนื้อ

-Arthritis(small and large joint) 10-20% มักพบสัปดาห์ที่ 2-3 มักเกิดกับข้อเล็กกับใหญ่ มีอาการปวดไม่บวมแดง

GI:โดยอาการทางระบบทางเดินอาหารพบได้ประมาณ 65%

-ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง

-ตับทำงานผิดปกติ

-Hydrops Gall bladder hydrop 10%

Neuro:

-หงุดหงิด กระสับกระส่าย, สูญเสียการได้ยิน

-Aseptic meningitis 25%

Urinary tract:

-Urethritis with sterile pyuria (70%)

อื่นๆ ม่านตาอักเสบ ผิวลอกโดยเฉพาะที่ขาหนีบ การบวมนูนของบริเวณที่เคยฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ไม่มีการตรวจที่เฉพาะเจาะจง

ทุกรายควรตรวจ

-ASOT/Anti DNAaseB

-Echocardiography 0 หาก negative ที่ 6-8 สัปดาห์

-Platelet count

อื่นๆ

CBC: Leukocytosis WBC > 15k (left shift) พบ 50%

Thrombocytosis 500k-1M/mL;

peaks in 2nd week; หลัง 7 วันมักสูง > 450k

ESR/CRP: acutely elevated ลงมาปกติที่ 6-8 weeks; ESR can be falsely elevated after IVIG

LFT: Transaminitis พบ ~40%; AST/ALT in low 100s; no synthetic dysfunction

Hyperbilirubinemia พบ ~10%; indirect hyperbilirubinemia

Hypoalbuminemia พบบ่อย; มักพบสัมพันธ์กับการเป็นนานๆ

UA:Sterile pyuria พบ 33% (likely urethritis, as bladder taps do not show pyuria)

การวินิจฉัย

Classic Kawasaki disease: ดู criteria ไข้สูง +4/5

การตรวจ echocardiography

ควรทำเมื่อ เริ่มการวินิจฉัยเป็นพื้นฐาน-0-ทำซ้ำ 2-3 สัปดาห์-และเมื่อ 6-8 สัปดาห์

DDX

1.Viral infection เช่น Adenovirus, Enterovirus, Measles, Epstein-Barr virus

ซึ่งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมักจะมีอาการไข้ ออกผื่น และต่อมน้ำเหลืองโตได้

โรคหัดจะมีไข้สูงมาก ไอมาก ตาแดงแบบตาแฉะ มีน้ำมูก ประมาณ 3 วันจะมีผื่นขึ้น โดยผื่นจะขึ้นบริเวณไรผม หน้า ด้านข้างคอ แล้วค่อยๆไล่ลงมาที่ลำตัวแล้วลงไปที่ขาจนถึงตาตุ่ม ใช้เวลา 2-3 วัน ไข้จะลง ยกเว้นมีอาการแทรกซ้อนไข้จะไม่ลง เมื่อผื่นจะหายไป (ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังผื่นขึ้น) ผิวหนังจะเป็นขุยแล้วหลุดลอกออก แพทย์รุ่นก่อนๆคุ้นเคยกับโรคหัดเพราะพบบ่อย หากได้ยินเสียงผู้ป่วยไอและมีไข้สูง ตาแดง แพทย์จะขอให้เด็กอ้าปากดูข้างกระพุ้งแก้มหากเห็นจุดขาวบนพื้นกระพุ้งแก้มที่แดง

2.Bacterial infection เช่น Scarlet fever, Leptospirosis, การติดเชื้อแบคทีเรียที่ต่อมน้ำเหลือง

- ไข้อีดำอีแดง เกิดจากพิษ (Erythrogenic toxin) ของ Streptococcus) อาการไข้สูงหรือต่ำก็ได้ มีเจ็บคอ ลิ้นแดง บริเวณใกล้ ลิ้นมักเห็นตุ่มนูนแดงทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายผิวสตรอเบอร์รี ผิวหนังจะขึ้นผื่นแดง เมื่อลูบจะรู้สึกว่าสากซึ่งมีการอธิบายว่าเหมือนลูบหนังห่าน (Goose skin) ผื่นจะหายประมาณวันที่ 6-7 เป็นขุ่ยสีน้ำตาล เวลาลอก มีปลายมือ ปลายเท้าลอก

-โรคฉี่หนู พบบ่อยในแถบร้อนชื้น เชื้อกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในตัวของสัตว์กัดแทะ เช่นหนู และยังพบในวัว ควาย หมู เชื้อจะขับออกมากับปัสสาวะของสัตว์ดังกล่าว คนจะสัมผัสกับเชื้อนี้โดยการไปย่ำน้ำหรือไปทำนาทำไร่ เมื่อได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ อาจมีอาการเพียงเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด หรือมีอาการมากโดยมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อปวดขา ดาแดง และอาจมีผิวหนังขึ้นผื่นได้

3.Rheumatologic disease) ได้แก่ Systemic-onset juvenile idiopathic arthritis ซึ่งจะมีอาการปวดข้อร่วมกับอาการอักเสบไม่ติดเชื้อในอวัยวะระบบต่างๆของร่างกายด้วย

4.โรคอื่นๆ เช่น

-ภาวะช็อกจากพิษ (Toxic shock syndrome) ซึ่งมักเกิดจากพิษของเชื้อStaphylococcus แล้วมีอาการที่ผิวหนัง เหมือนถูกน้ำร้อนลวก (Staphylococcal scalded skin syndrome-4S)

-Drug hypersensitivity reactions เช่น Stevens-Johnson syndrome

การรักษา

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษา มีโอกาสเกิด coronary adtery aneurysm ได้ 20 %

เมื่อรักษาจะลดโอกาสเป็นเหลือแค่ 2-4%

การรักษา มียา 2 ตัว

IVIG 2 gm/kg iv 10-12 hr ควรให้ภายในวันที่ 10 จะลดอัตราการเกิด coronary artery aneurysm เหลือร้อยละ 2-4% จาก 15-25% ยิ่งให้เร็วยิ่งดี

http://www.rch.org.au/bloodtrans/about_blood_products/Intravenous_Immunoglobulin_Guideline/

ระยะแรกให้ ASA ขนาดสูง 80-100mg/kg/day จนไข้ลดอย่างน้อย 3-4 วัน

จึงลดขนาดเป็น 3-5 mg/kg/day(antithrombotic activity)ต่อ 6-8 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่มี coronary aneurysm

การให้วัคซีนในผู้ป่วยKawasaki ที่ได้รับ IVIG

1.การให้วัคซีนชนิดมีชีวิต (live attenuated vaccine) เช่น วัคซีนโรคหัด (measles vaccine, MMR vaccine) และ วัคซีนโรคสุกใส (varicella vaccine) ควรใหอยางนอย 11 เดือนหลังจากไดรับIVIG เนื่องจากการให IVIG ในขนาดสูงจะมีผลรบกวนการเกิดภูมิคุมกันของรางกาย

2. ในผูปวย Kawasaki ทีรับยา aspirin ระยะยาว เชนรายที่เกิดภาวะ coronary aneurysm พิจารณาให influenza

vaccine เนื่องจากมีความเสี่ยงตอการเกิดภาวะ Reye’s syndrome

Ref.

http://www.pediatr-neonatol.com/article/S1875-9572(11)00167-7/fulltext

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B4

http://emedicine.medscape.com/article/965367-overview

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4/

http://www.aafp.org/afp/2006/1001/p1141.html

http://www.aafp.org/afp/1999/0601/p3093.html

http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/13/428/th

http://www.med.cmu.ac.th/dept/pediatrics/06-interest-cases/ic-79/Ped401-Exanthemotous%20Fever-thanyawee.pdf

http://www.si.mahidol.ac.th/eng/publication1/2004/Vol87_No8_887.pdf

http://www.acep.org/uploadedFiles/ACEP/MeetingSites/PEM/Educational_Programs/5_Cruz_Update%20to%20Kawasaki.pdf