Staphylococcus food poisoning

STAPHYLOCOCCAL : FOOD INTOXICATION

Qx Dx:

1.คลื่นไส้มาก อาเจียน ปวดท้องเกร็ง ตะคริว ท้องเสีย ไม่ไข้

ตัวเย็น อ่อนเพลียมาก

อาจมีความดันโลหิตต่ำ มักเป็น 2-4 ชั่วโมงหลังกินอาหาร

2.เกิดจากพิษของเชื้อ

QxRx: รักษาตามอาการ

สาเหตุ

เกืดจาก enterotoxin ของเชื้อ Staphyllococcus aureus

โดยการกิน S.aureus หลายชนิดที่สร้างสารพิษ (enterotoxin) เข้าไป

คุณสมบัติ

Enterotoxin จากเชื้อนี้ มีอยู่ 8 ชนิดA B C1 C2 C3 D E H

จะคงทนต่ออุณหภูมิที่จุดเดือด 30 นาทีก็ยังไม่ถูกทำลาย

Toxin ไม่ทำให้อาหารมีสี กลิ่น รสผิดปกติไป ทำให้เราไม่รู้ว่าเชื้อปนเปื้อน

เชื้อ มักจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในอาหารและสร้าง toxin ขึ้น

แหล่งพบเชื้อ

ในอาหารที่ปรุงแล้ว ผ่านสัมผัสด้วยมือของผู้ทำอาหาร

ทิ้งไว้ในห้องหลายชั่วโมง ไม่ได้อุ่น หรือ ไม่ได้แช่เย็น

ทำให้เชื้อเจริญเติบโต

เช่น ขนมจีน แอแคร์ เนื้อ เป็นต้น

การติดต่อ

กินอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป

เชื้อในอาหาร :

มาจาก มือนิ้วมือที่เป็นแผล จากตา ฝีหนอง หรือสิวอักเสบ จากผิวหนัง ของผู้ทำอาหาร

หรือ การปนเปื้อนจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำนมวัว เป็นต้น

ลักษณะโรค

เกิดจากพิษ (ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ)

อาการเฉียบพลัน

มีการคลื่นไส้อย่างมาก อาเจียน ท้องเดิน ปวดเกร็งลำไส้ และอ่อนเพลียมาก

ทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ และอาจมีความดันโลหิตต่ำลงด้วย

ระยะเวลาที่เกิดหลังกินอาหาร

หลังกินอาหาร ประมาณ 30 นาที ถึง 8 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ 2-4 ชั่วโมง

อาการและอาการแสดง

คลื่นไส้ ปวดเกร็งลำไส้ อาเจียน ท้องเดิน อ่อนเพลีย โดยทั่วไปอาการมักเกิด 1-2 วัน

ความรุนแรง

ไม่ค่อยพบการเสียชีวิต

อาการมักเป็นนาน 1-2 วัน

แต่ อาจรุนแรงมาก-จนต้อง admit และ อาจได้รับการผ่าตัด เนื่องจากมีอาการของเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้

การวินิจฉัยโรค

1.อาการพร้อมกันหลายคน กินอาหารร่วมกัน

2.การเพาะแยกเชื้อ จาก เศษอาเจียน อุจจาระ หรือ อาหารที่สงสัย

ได้เชื้อ Staphylococci ที่สร้าง enterotoxin > 10 ตัว/กรัม

3.ในอาหารที่สุก เชื้อตายอาจไม่พบเชื้อได้ แต่ toxin จะทนร้อน

ต้องตรวจ enterotoxin หรือ thermonuclease ในอาหารแทน

หรือ การทำ Phage typing (หาอนุภาคของเชื้อ)

ทางระบาดวิทยา

การสืบสวน ทำในกรณี

ที่มีผู้ป่วยจำนวนหลายคน มีอาการเฉียบพลันเหมือนกัน กินอาหารร่วมกัน

การวินิจฉัยแยกโรค

-อาหารเป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรียตัวอื่น

-พิษจากสารเคมี

การป้องกัน

1.ไม่ควรให้ผู้ที่ติดเชื้อ ทำอาหาร

2.อาหารหากยังไม่กินควรเก็บในตู้เย็น

ระบาดวิทยาของโรค

พบได้บ่อย และ พบได้ทั่วไป

การรักษา รักษาตามอาการ

Ref.

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=210